Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55260
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย | - |
dc.contributor.author | ณัฏฐพร รอดเจริญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:33:39Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:33:39Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55260 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษา : ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 – 4 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 422 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) และกระจายสัดส่วนการเก็บตามชั้นปี โดยแบ่งเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 110 คน นิสิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 114 คน นิสิตชั้นปีที่ 3 จำนวน 88 คน และนิสิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 110 คน ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2559 ผู้เข้าร่วมการศึกษาตอบแบบสอบถาม 6 ชุดด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามประเมินปัญหาความสัมพันธ์ 3) แบบวัดความเครียดสวนปรุง 4) แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการเรียน 5) แบบสอบถามการลดความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ และ 6) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม นำเสนอข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านปัจจัยต่างๆ และข้อมูลด้านความเครียดของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นค่าสัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดกับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเครียด โดยใช้การทดสอบไคสแควร์ หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์ความถดถอยลอจิสติก (logistic regression) เพื่อหาปัจจัยทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรงของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา : คะแนนความเครียดโดยเฉลี่ยของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่ากับ 49.83 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 15.637) จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน และจากจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ทั้งหมด พบว่า นิสิตส่วนใหญ่ (ร้อยละ 48.3) มีความเครียดระดับสูง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความเครียดของนิสิต ได้แก่ ชั้นปีที่เรียน การมีโรคประจำตัวทางกาย การมีโรคทางจิตเวช ความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัว ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน ทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนด้านเนื้อหา ด้านการสอน ด้านความพร้อมในการเรียน ด้านการประเมินผล และทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนโดยภาพรวม พฤติกรรมการลดความเครียดทางร่างกาย (p<0.01) ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย การสูบบุหรี่ การขัดแย้งหรือทะเลาะเบาะแว้งของคู่รัก พฤติกรรมการลดความเครียดโดยรวม และการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ (p<0.05) ปัจจัยทำนายความเครียดระดับสูงถึงรุนแรง ได้แก่ การมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการศึกษานิติศาสตร์ การมีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน การมีปัญหาความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัว (p<0.01) การมีโรคประจำตัวทางกาย และพฤติกรรมการลดความเครียดด้านร่างกายที่ไม่ดี (p<0.05) สรุปผลการศึกษา : นิสิตระดับปริญญาบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 48.3) มีความเครียดระดับสูง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความเครียดของนิสิต ได้แก่ ชั้นปีที่เรียน การมีโรคประจำตัวทางกาย การมีโรคทางจิตเวช ความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัว ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน ทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนด้านเนื้อหา ด้านการสอน ด้านความพร้อมในการเรียน ด้านการประเมินผล และทัศนคติเกี่ยวกับการเรียนโดยภาพรวม พฤติกรรมการลดความเครียดทางร่างกาย (p<0.01) ความเพียงพอของค่าใช้จ่าย การสูบบุหรี่ การขัดแย้งหรือทะเลาะเบาะแว้งของคู่รัก พฤติกรรมการลดความเครียดโดยรวม และการสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์ (p<0.05) ปัจจัยทำนายความเครียดระดับสูงถึงรุนแรง ได้แก่ การมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการศึกษานิติศาสตร์ การมีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน การมีปัญหาความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัว (p<0.01) การมีโรคประจำตัวทางกาย และพฤติกรรมการลดความเครียดด้านร่างกายที่ไม่ดี (p<0.05) | - |
dc.description.abstractalternative | Objectives : To study the stress and associated factors of students of undergraduate students of faculty of law at a university in Bangkok. Methods : Four hundred and twenty-two participants were recruited from Faculty of Law, Chulalongkorn University during October to November 2016. The participants completed six questionnaires :1) Sociodemographic Questionnaire 2) Relationship Problems Questionnaire 3) Suanprung Stress Test 20, SPST – 20) 4) Social Support Questionnaire 5) Stress Management Questionnaire 6) Social Support Questionnaire. The Students’ stress and stress level were presented by mean with standard deviation, proportion, and percentage. The relationship between the students’ stress level and associated factors were analyzed by using chi-square test. Logistic regression was used to identify the predictors of the high-to-severe level of stress of undergraduate students of faculty of law, Chulalongkorn University. A p-value of less than 0.05 was considered statistically significant. Results : The mean score of students’ stress was 49.83 (SD = 12.3, total score = 100). Most students (48.3 %) had the high level of stress. The associated factor of stress level included college years, having physical disorders, /or mental disorders, relationship and family functioning, classmate relationship problem, negative attitude on learning contents, teaching, learning readiness, evaluation, /or overall, physical stress - reducing behaviors (p<0.01), income adequacy, smoking, lovers relationship problem, overall stress – reducing behaviors and emotional social support (p<0.05). After performing logistic regression, the remaining predictor of high-to-severe level of stress were having negative attitude on overall legal study, relationship and family functioning problem and classmate relationship problem (p<0.01), physical disorders and negative physical stress – reducing behaviors (p<0.05). Conclusion: Most students (48.3 %) had the high level of stress. The factors associated with stress level were college years, having physical disorders, /or mental disorders, relationship and family functioning, classmate relationship problem, negative attitude on learning contents, teaching, learning readiness, evaluation, /or overall, physical stress - reducing behaviors (p<0.01), income adequacy, smoking, lovers relationship problem, overall stress – reducing behaviors and emotional social support (p<0.05). The remaining predictor of high-to-severe level of stress were having negative attitude on overall legal study, relationship and family functioning problem and classmate relationship problem (p<0.01), physical disorders and negative physical stress – reducing behaviors (p<0.05). | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1209 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ความเครียด (จิตวิทยา) | - |
dc.subject | ความเครียดในวัยรุ่น | - |
dc.subject | Stress (Psychology) | - |
dc.subject | Stress in adolescence | - |
dc.title | ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร | - |
dc.title.alternative | Stress and Associated Factors of Undergraduate Students of Faculty of Law at a University in Bangkok | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | สุขภาพจิต | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Peeraphon.L@Chula.ac.th,peeraphon_tu@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.1209 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5874251530.pdf | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.