Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55361
Title: การลดปริมาณของเสียในกระบวนการบรรจุครีมยืดผมแบบกระปุก
Other Titles: DEFECT REDUCTION IN PACKING PROCESS FOR PERM JAR
Authors: หทัยชนก พรหมศร
Advisors: จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Jeerapat.N@Chula.ac.th,Jeirapat.N@Chula.ac.th,Jeerapat.N@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเพื่อลดปริมาณของเสียในกระบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผมของโรงงานกรณีศึกษา ด้วยการคัดเลือกปัญหาจากวัสดุนำเข้าที่มีเปอร์เซ็นต์ MU (Material Usage) ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 97% จากเกณฑ์ที่ทีมผู้บริหารโรงงานกรณีศึกษากำหนดไว้ จากนั้นจึงใช้หลักการพาเรโตเพื่อจัดเรียงมูลค่าของเสียดังกล่าวทำให้ได้ของเสีย 3 ประเภท คือ 1) ของเสียที่เกิดจากสายการบรรจุมาจาก BulkPL2 นั่นคือเนื้อครีมในการผลิตผลิตภัณฑ์ครีมนวดผม 2) ของเสียที่เกิดจาก JarPL3 และ 3) Inner CapPL3 แต่หลังจากวิเคราะห์กระบวนการบรรจุพบว่าของเสีย JarPL3 และ Inner CapPL3 เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เดียวกันคือครีมยืดผมแบบกระปุก ดังนั้นจึงสรุปปัญหาเป็น 2 ปัญหาคือ 1) BulkPL2 การสูญเสียเนื้อครีมในการผลิตผลิตภัณฑ์ครีมนวดผม และ 2) ของเสีย JarPL3 และ Inner CapPL3 เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ครีมยืดผมแบบกระปุก ผลจากการทดลองทำให้ได้ค่าควบคุมมาตรฐานการบรรจุใหม่สำหรับ PL2 ดังนี้คือ 1) กำหนดให้ระดับของเนื้อครีมใน Hopper อยู่ที่ 60% 2) กำหนดให้อุณหภูมิเริ่มต้นการบรรจุต่ำกว่า 30˚C และ 3) เปลี่ยนมาใช้ค่าความหนาแน่นจริงของเนื้อครีมในแต่ละ batch ในการปรับค่าน้ำหนักแทนการใช้ค่าความหนาแน่นเฉลี่ย หลังจากการปรับปรุงโดยกำหนดค่าควบคุมมาตรฐานการบรรจุใหม่สามารถลดของเสียไปได้ 79.65% ของของเสียก่อนการปรับปรุง คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 95% MU เพิ่มจากก่อนปรับปรุง 1.5% MU การปรับปรุงของเสียที่เกิดจาก Jar และ Inner Cap โดยการตั้งค่ามาตรฐานใหม่ ดังนี้คือ 1) เพิ่มรอบการทำความสะอาดใหญ่เป็นสองสัปดาห์ต่อครั้ง 2) เพิ่มคนทำความสะอาดฝุ่นบน Inner Cap ด้วยการเป่าลมก่อนการบรรจุ 3) เปลี่ยนจากการใช้ถุงมือผ้าเป็นถุงมือยางและเปลี่ยนถุงมือคู่ใหม่ทุกวัน 4) เปลี่ยนจากการใช้กล่องเวียนมาใช้กล่องใหม่สำหรับการบรรจุบรรจุภัณฑ์ Inner Cap และ 5) ใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุแต่ละชั้น ก่อนแก้ปัญหาพบของเสียเฉลี่ย 5% ต่อเดือน ลดลงเหลือเฉลี่ย 2.4 % คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ 97.6% MU ซึ่งเกินค่าเป้าหมายที่โรงงานกรณีศึกษาตั้งไว้
Other Abstract: This research aims to reduce waste in filling hair treatment process in factory. Material usage below 97% will be studied according to guideline from management team. Pareto technique has been applied to classify the value of losses into three categories: 1) Loss from filling BulkPL2 which is cream for producing hair conditioner, 2) Loss from JarPL3 and 3) Inner CapPL3. After analyzing filling process, it found that JarPL3 and Inner CapPL3 are the ingredient of Hair straightening jar product. Consequently, it is concluded that there are 2 difficulties: 1) BulkPL2, bulk loss in hair conditioner production and 2) bulk loss in JarPL3 and Inner CapPL3 are the ingredient of Hair straightening jar product. The new standard in filling weight for PL2 from experimental results are as follows: 1) The level of cream in hopper is at 60% 2) Initial temperature for packing is below 30˚C and 3) Use the real density of each batch to adjust the weight instead of using average density. After applying this new standard in filling process, it can be seen that the loss reduces by 79.65% of loss before improving process which is accounted for 95% MU. The percentage of MU increases by 1.5% MU. The new fill weight standard will be examined to decrease the loss from jar and inner cap. The procedure of new fill weight standard is as follows: 1) Increase frequency of big cleaning to twice a week 2) Increase worker to blow a dust off at Inner Cap before filling 3) Using rubber glove instead of cotton glove and use a new rubber glove everyday 4) Using new box for collecting inner cap instead of using reuse box and 5) Using plastic bag for packing inner cap. After using these new methods in filling process, it can be seen that the loss reduces from 5% to 2.4% per month, which is accounted for 97.6% MU. This is higher than target 97% MU.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55361
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1069
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1069
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670984021.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.