Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55369
Title: การดึงน้ำออกจากเปลือกกล้วยด้วยปฏิกรณ์เมมเบรนไคโตซานเวเพอเพอร์มิเอเตอร์
Other Titles: DEWATERING OF BANANA PEEL BY CHITOSAN MEMBRANE VAPOR PERMEATOR
Authors: ดารารัตน์ ปากวิเศษ
Advisors: ขันทอง สุนทราภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Khantong.S@Chula.ac.th,Khantong.S@Chula.ac.th
Subjects: เครื่องปฏิกรณ์แบบเยื่อแผ่น
การแยกด้วยเมมเบรน
Membrane reactors
Membrane separation
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ใช้เครื่องปฏิกรณ์เมมเบรนไคโตซานที่ทำงานตามหลักกระบวนการเวเพอเพอร์มิเอชัน (Vapor permeation) ในการดึงน้ำออกจากเปลือกกล้วย โดยการป้อนอากาศพัดผ่านผิวหน้าของเปลือกกล้วย เพื่อให้เกิดการระเหยของไอน้ำจากเปลือกกล้วย แล้วแพร่ผ่านเมมเบรนไคโตซานด้วยแรงขับดันจากปั๊มสุญญากาศทางด้านเพอร์มิเอตของเมมเบรน ได้ศึกษาอัตราการดึงน้ำออกจากเปลือกกล้วย 2 ชนิด คือเปลือกกล้วยน้ำว้าและเปลือกกล้วยหอม ด้วยเมมเบรนไคโตซานที่มีการเชื่อมขวางเชิงพาณิชย์ 2 ชนิด คือแบบเนื้อแน่นและแบบคอมพอสิตบนผ้าสปันปอนด์ เมมเบรนทั้ง 2 ชนิด มีค่ามุมสัมผัสกับหยดน้ำเท่ากับ 89.3±1.1 และ 70.2±3.5 องศา ตามลำดับ ผลการศึกษาประสิทธิภาพการดึงน้ำออก พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการทำแห้งเปลือกกล้วยด้วยเครื่องปฏิกรณ์เวเพอเพอร์มิเอเตอร์ในงานวิจัยนี้คือ ใช้ระยะเวลาการทำแห้ง 2 ชั่วโมง ที่อัตราการไหลเวียนอากาศ 25 ลิตรต่อนาที ณ อุณหภูมิห้อง ทำให้เปลือกกล้วยน้ำว้าและเปลือกกล้วยหอมหลังการทำแห้งจากปฏิกรณ์ใช้เมมเบรนแบบคอมพอสิต มึค่าความชื้นลดลงจากประมาณร้อยละ 80 เหลืออยู่ร้อยละ 16.08±0.003 และ 20.06±0.00 ตามลำดับ ทำให้ได้ค่าความร้อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.4 และ 31.2 ตามลำดับ
Other Abstract: A reactor equipped with chitosan membrane and operating according to vapor permeation principle was used for dewatering the banana peels. The water vapor evaporated from banana peels by air flow was permeated through the membrane by the driving force from a vacuum pump at the permeate side. The dewatering of cultivate and Cavendish banana peels were studied. The commercial crosslinked dense and crosslinked composite-on-spunbond chitosan membranes were used. Their contact angles were 89.3±1.1 and 70.2±3.5 degree, respectively. The dewatering of banana peels at room temperature were finished within 2 hrs with 25 l/min circulating air. The moisture content of cultivate and Cavendish banana peels were reduced from 80% to 16.08±0.003 and 20.06±0.00%, respectively. Their heating values were increased by 34.4 and 31.2%, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเชื้อเพลิง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55369
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.18
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.18
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5671963023.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.