Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55372
Title: ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: EFFECTS OF JURISPRUDENTIAL TEACHING MODEL ON MEDIA INFLUENCE LEARNING ACHIEVEMENT AND CRITICAL THINKING OF NINTH GRADE STUDENTS
Authors: พิทักษ์ชัย บรรณาลัย
Advisors: จินตนา สรายุทธพิทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jintana.S@Chula.ac.th,Jintana.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องอิทธิพลของสื่อโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านและของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องอิทธิพลของสื่อแบบปกติ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องอิทธิพลของสื่อโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องอิทธิพลของสื่อแบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านเรื่องอิทธิพลของสื่อ จำนวน 40 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องอิทธิพลของสื่อแบบปกติจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องอิทธิพลของสื่อโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้าน จำนวน 6 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ย ของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการทดลองของนักเรียน กลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียน กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were: 1) to compare the average score of the learning achievement and critical thinking before and after implementation of the experimental student group and the control group 2) to compare the average score of the learning achievement and critical thinking after implementation between the experimental group students and the control group students. The sample was 80 students from the ninth grade students of Phanompraiwittayakarn school, Roi-Et. forty students in the experimental group were assigned to study using jurisprudential teaching model on media influence leaning while the other forty students in the control group were assigned to study with the traditional learning. The data were analyzed using descriptive statistics, and t-tests.The research findings were as follows.1) The mean scores for learning achievement in the areas of knowledge, attitude, practice, and critical thinking for the experimental group students after learning were significantly higher than before learning at the .05 level. The mean scores for learning achievement in the areas of knowledge, attitude, practice, and critical thinking for the control group students after learning were not found to be significantly different from those obtained before learning at the .05 level.2) The mean scores for learning achievement in the areas of knowledge, attitude, practice, and critical thinking for the experimental group students after learning were significantly higher than those for the control group students at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55372
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1223
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1223
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883364227.pdf5.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.