Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55378
Title: แนวทางการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมืองในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: GUIDELINES ON THE OPERATION OF INSTRUCTIONAL MANAGEMENT OF ADDITIONAL CIVICS COURSE IN LOWER SECONDARY SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF BASIC EDUCATION COMMISSION
Authors: พิมพ์ตะวัน จันทัน
Advisors: วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Walai.P@chula.ac.th,p_walai@hotmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมืองในด้านการเตรียมความพร้อมของครู การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาจากการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมืองและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างคือ ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ครูผู้สอนรายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมืองระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1,731 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) ครูเตรียมความพร้อมด้วยการศึกษาจากคู่มือแนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมืองและหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหน้าที่พลเมือง ครูเลือกใช้สื่อที่มีอยู่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีการจัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง เน้นการทำงานกลุ่ม การสร้างความตระหนักและมีการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเสริมหลักสูตร ครูส่วนใหญ่เลือกใช้สื่อประเภทใบความรู้ วิดิทัศน์ หนังสือเรียน/หนังสือนอกเวลา ครูเป็นผู้ประเมินหลักและให้นักเรียนประเมินตนเองด้วย เน้นการประเมินพฤติกรรมของนักเรียนโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงาน ครูประสบปัญหาเรื่องการบริหารจัดการเวลาเรียนและการขาดความรู้เรื่องเนื้อหา สื่อมีเนื้อหาไม่ชัดเจนและการประเมินที่เน้นพฤติกรรม 2) ครูและผู้เรียนรับรู้ว่าผู้เรียนมีคุณลักษณะต่างๆ ทั้ง 23 คุณลักษณะตามจุดเน้น 5 ประการในระดับมาก 3) การแก้ไขปัญหาควรเน้นบูรณาการกับรายวิชาอื่นหรือบูรณาการกับรายวิชาสังคมศึกษาพื้นฐาน ควรมีหน่วยงานรับผิดชอบจัดอบรมครู จัดกิจกรรมที่เน้นการบำเพ็ญประโยชน์และเน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ สื่อในท้องถิ่นและประเมินตามสภาพจริง
Other Abstract: The objectives of the research were to study the state and problems of the operation of instructional management of additional civics courses in the lower secondary schools in the aspects of the preparation of teachers, instructional activity organization, instructional material/learning resources and evaluation; to study the desirable characteristics of students developed from the civics courses; and to purpose guidelines for problem solutions of instructional activity organization. The sample were consisted of teacher-head of social studies subject area, teachers responsible for the civics courses and lower secondary school students totally 1,731 which were selected by multistage random sampling. The questionnaire forms were the research instruments. The research results were as follow: 1) Teachers prepared their teaching by studying the civics course teaching manuals and books related to civics content; sorting material already had in school stocks. The civics courses were constructed as the additional courses and instructional activities focused on group-working and awareness development, fieldtrips were organized as part of extra curriculum activities. Work-sheets, videos, textbooks/extra readings were mostly used by teachers. Teachers were main evaluators and students were self-evaluators with an emphasis on students’ behavior by working behavior observation forms. The teachers had the problems on time management, insufficient knowledge on civics content, unclear information illustrating in materials and behavior evaluations. 2) Teachers and students perceived that the students had the 23 characteristics based on 5 focus points at the high levels. 3) The problem solutions for teaching civics courses were integrating of civics courses with others courses or with fundamental social studies courses; setting the division responsible for teacher training workshops, organizing community service activities; emphasizing on behavior modification; using learning resources online and local learning materials and authentic assessment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนสังคมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55378
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.276
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.276
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883365927.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.