Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55390
Title: | ผลของกลุ่มสนับสนุนทางสังคมที่มีบุคลิกภาพต่างกันในการพัฒนาแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์แบบสะท้อนคิดตามทฤษฎีกิจกรรมที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | EFFECTS OF SOCIAL SUPPORT GROUP WITH DIFFERENT PERSONALITIES IN REFLECTIVE E-PORTFOLIO DEVELOPMENT BASED UPON ACTIVITY THEORY ON SELF-EFFICACY IN CAREER DEVELOPMENT OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS |
Authors: | สุธนิต เวชโช |
Advisors: | ใจทิพย์ ณ สงขลา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Jaitip.N@Chula.ac.th,jaitipn@gmail.com,jaitip.n@g.chula.edu |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพก่อนและหลังการพัฒนาแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์แบบสะท้อนคิดตามทฤษฎีกิจกรรมที่มีการใช้กลุ่มสนับสนุนทางสังคมกลุ่มใหญ่ 2) ศึกษาทักษะการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพก่อนและหลังการพัฒนาแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์แบบสะท้อนคิดตามทฤษฎีกิจกรรมที่มีการใช้กลุ่มสนับสนุนทางสังคมกลุ่มย่อย 3) เปรียบเทียบผลของการพัฒนาแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์แบบสะท้อนคิดตามทฤษฎีกิจกรรมในกลุ่มสนับสนุนทางสังคมกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ที่มีต่อทักษะการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพ 4) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานในกลุ่มสนับสนุนทางสังคมตามโครงสร้างทฤษฎีกิจกรรมของกลุ่มผู้เรียนที่มีรูปแบบบุคลิกภาพในการแสวงหาความช่วยเหลือที่แตกต่างกันในกิจกรรมการพัฒนาแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์แบบสะท้อนคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 80 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติ t- test และการอภิปรายเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพหลังการพัฒนาแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์แบบสะท้อนคิดตามทฤษฎีกิจกรรมที่มีการใช้กลุ่มสนับสนุนทางสังคมกลุ่มใหญ่ไม่แตกต่างจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพหลังการพัฒนาแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์แบบสะท้อนคิดตามทฤษฎีกิจกรรมที่มีการใช้กลุ่มสนับสนุนทางสังคมกลุ่มย่อยสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Sig = .00) โดยเฉลี่ย .59 3) ผลของการพัฒนาแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์แบบสะท้อนคิดตามทฤษฎีกิจกรรมในกลุ่มสนับสนุนทางสังคมต่อทักษะการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านการตัดสินใจเลือกอาชีพในกลุ่มย่อยสูงกว่ากลุ่มใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Sig = .02) โดยเฉลี่ย 0.24 4) การอภิปรายพฤติกรรมการทำงานในกลุ่มสนับสนุนทางสังคม ของกลุ่มผู้เรียนที่มีรูปแบบบุคลิกภาพในการแสวงหาความช่วยเหลือต่างกันในกิจกรรมการพัฒนาแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์แบบสะท้อนคิดตามทฤษฎีกิจกรรมปรากฏในสรุปผลการวิจัย |
Other Abstract: | This research aimed to 1) examine self-efficacy skill on career decision before and after developing the reflective e-portfolio based upon the activity theory using a large social support group. 2) examine self-efficacy skill on career decision before and after developing the reflective e-portfolio based upon the activity theory using a small social support group. 3) compare the self-efficacy skill on career decision between big and small social support group. 4) study the working behavior between students with different personalities in reflective e-Portfolio development activity. The sample group included 80 students in grade 11 (Matthayom 5) divided into a control and an experimental group equally by purposive sampling method. Data were statistically analyzed by mean, standard deviation, t-test and qualitative discussion. The results revealed that 1) the self-efficacy skill on career decision after developing the reflective e-portfolio based upon the activity theory using a large social support group was not significantly different at .05 level. 2) the self-efficacy skill on career decision after developing the reflective e-portfolio based upon the activity theory using a small social support group was significantly higher at .05 levels (p=.00) M= .59 3) the self-efficacy skill on career decision of a small social support group was significantly higher than a large group at .05 levels (p=.02) M= .24 4) the discussion of the working behavior in the social support groups of students with different personalities in help seeking in the reflective e-Portfolio development activity were discussed in this research. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55390 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.37 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.37 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5883387727.pdf | 5.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.