Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55394
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา-
dc.contributor.authorกันตณัฐ ปริมิตร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:36:17Z-
dc.date.available2017-10-30T04:36:17Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55394-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ของหน่วยสร้างภาคแสดงพรรณนาเหตุการณ์ตั้งวางและหยิบฉวยวัตถุในภาษาไทย และปัจจัยที่มีบทบาทต่อการเลือกใช้หน่วยสร้างภาคแสดงพรรณนาเหตุการณ์ตั้งวางและหยิบฉวยวัตถุในแต่ละโครงสร้าง จากมุมมองภาษาศาสตร์ปริชาน ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยชิ้นนี้เก็บจากผู้บอกภาษาโดยใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลภาษาภาคสนามในรูปแบบของชุดวีดิทัศน์สั้นจำนวน 44 วีดิทัศน์ ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างทางวากยสัมพันธ์ของหน่วยสร้างภาคแสดงพรรณนาเหตุการณ์ตั้งวางและหยิบฉวยวัตถุในภาษาไทยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามจำนวนคำกริยาที่ปรากฏในหน่วยสร้างภาคแสดง ได้แก่ หน่วยสร้างภาคแสดงเดี่ยวและหน่วยสร้างภาคแสดงซับซ้อน หน่วยสร้างภาคแสดงเดี่ยวมีคำกริยาแสดงการตั้งวางหรือกริยาแสดงการปรากฏเพียงหนึ่งคำ ในขณะที่หน่วยสร้างภาคแสดงซับซ้อนมีกริยาอื่นนอกเหนือจากคำกริยาแสดงการตั้งวางและหยิบฉวยวัตถุปรากฏเพิ่มเข้ามาในตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อแสดงแง่มุมทางความหมายที่โดนเด่นในเหตุการณ์ หน่วยสร้างภาคแสดงที่แตกต่างกันสะท้อนให้เห็นความแตกต่างในด้านกระบวนการสร้างมโนทัศน์ในการรับรู้เหตุการณ์ ความหลากหลายของหน่วยสร้างภาคแสดงพรรณนาเหตุการณ์ตั้งวางและหยิบฉวยวัตถุในภาษาไทยสามารถอธิบายได้ด้วยกระบวนการเลือกรับรู้ 4 ประเภท ได้แก่ ความจำเพาะเจาะจงของเหตุการณ์ การมุ่งสนใจไปเฉพาะส่วนของเหตุการณ์ ความโดดเด่นของบางองค์ประกอบเหตุการณ์ และการจัดมุมมองในการมองเหตุการณ์-
dc.description.abstractalternativeThe present research has a twofold aim of analyzing syntactico-sematic properties of predicate constructions describing ‘putting’ and ‘taking’ events in Thai as well as examining factors motivating the use of each predicate construction from a cognitive linguistic perspective. This study uses a stimuli set, which consists of 44 short videoclips to elicit descriptions of ‘putting’ and ‘taking’ events. The result reveals that the predicate constructions under investigation can be subcategorized into two main groups, simplex and complex constructions, according to the number of verbs appearing in the constructions. In simplex predicate constructions, there is only one ‘take’ or ‘put’ verb while in complex predicate constructions other verbs beside ‘take’ and ‘put’ verbs are added to describe various facets which are salient in the events. Different types of predicate constructions, thus, reflects different conceptualizations of the events. It is also found that the uses of various predicate constructions can be explained in terms of four construal phenomena, namely specificity, focusing, prominence and perspective.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.715-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleหน่วยสร้างภาคแสดงพรรณนาเหตุการณ์ตั้งวางและหยิบฉวยวัตถุในภาษาไทย-
dc.title.alternativePREDICATE CONSTRUCTIONS DESCRIBING PUTTING AND TAKING EVENTS IN THAI-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineภาษาศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorKingkarn.T@Chula.ac.th,thepkanjana@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.715-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5680103022.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.