Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55460
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัชพล จิตติรัตน์ | - |
dc.contributor.author | พัชรินทร์ จัยสิทธิ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:37:20Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:37:20Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55460 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานขับขี่รถชนแล้วหลบหนีและไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของประเทศไทย รวมถึงศึกษาแนวคิด รูปแบบ และเนื้อหาของมาตรการในความผิดฐานดังกล่าวของต่างประเทศเพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและนำเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดมาตรการในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่ากฎหมายและมาตรการที่นำมาบังคับใช้ในปัจจุบันยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการลงโทษเพื่อป้องปรามยับยั้งการกระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะบทกฎหมายหลัก คือ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 ไม่สามารถปรับใช้กับความผิดฐานขับขี่รถชนแล้วหลบหนีได้ครอบคลุมกับทุกกรณีที่เกิดขึ้น โดยจะนำมาปรับใช้ได้ต่อเมื่ออุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะต้องเกิดขึ้นใน “ทาง” ตามนิยามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น อีกทั้งบทกำหนดโทษที่อยู่ในระดับต่ำเกินสมควรและไม่แบ่งแยกอัตราโทษตามระดับความร้ายแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยที่นำมาใช้ควบคู่กับการลงโทษทางอาญาก็ไม่อาจป้องปรามและลดมูลเหตุจูงใจที่ทำให้เกิดการหลบหนีไปได้ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ทำวิทยานิพนธ์จึงเสนอแนะให้ขยายนิยามของพื้นที่ที่เกิดการกระทำความผิดให้ครอบคลุมทุกสถานที่ที่เกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะ นอกจากนี้ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษในความผิดฐานดังกล่าวให้สูงขึ้น และแบ่งแยกอัตราโทษตามระดับความร้ายแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งนำมาตรการพิเศษของต่างประเทศ อันได้แก่ มาตรการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ มาตรการอบรมทดสอบผู้กระทำความผิด มาตรการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว มาตรการทางประกันภัย มาตรการคุมประพฤติ และมาตรการลดโทษแก่ผู้กระทำความผิดที่ไม่หลบหนีและให้การช่วยเหลือผู้เสียหาย มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย ซึ่งจะทำให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องปรามยับยั้งการขับขี่รถชนแล้วหลบหนีและไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น | - |
dc.description.abstractalternative | This thesis focuses on the legal measures on hit and run offenses in Thailand and their related problems. The concept, method and content of such offenses in foreign countries have been comparatively analyzed to provide appropriate suggestions on the determination of legal measures in Thailand. The results of the research show that the current legal provision and legal measures of hit and run offenses cannot deter the crimes. Especially, the main provision for hit and run offences, Section 78 of the Land Transport Act B.E. 2522 (1979) is unable to apply with all situations of hit and run offenses, as its application is limited to the accident from automobile occurred on the “road” as defined by law. In addition, the penalty for the offenses are insufficient for the damages occurred, Also the other legal measures in Thailand used in conjunction with the criminal punishment, is not effective enough to prevent, deter and reduce the crimes of hit and run. For the foregoing reasons, the author of this thesis suggested that the provision of law need to be revised. The place of occurrence in this offense should be expanded to cover all places related to the accident arising from automobile. Moreover, the penalty in such charges shall be increased and the penalty should be categorized according to the damage occurred, Additionally, the government should apply the special measure of foreign countries, such as the suspension or revocation of driver’s license, a training program, a denial of temporary release, an insurance scheme, a corrective measure to the offender and a reduction of sentence to the driver who did not run away and provide assistance to the injured, These measures shall be adapted in accordant with the nature of Thai society to ensure the more effective prevention and deterrence on hit and run offences would occur ultimately. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.448 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | มาตรการทางกฎหมายในความผิดฐานขับขี่รถชนแล้วหลบหนีและไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ | - |
dc.title.alternative | LEGAL MEASURES ON HIT AND RUN OFFENSES | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Natchapol.J@chula.ac.th,Natchapol.J@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.448 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5886001034.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.