Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55486
Title: การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์พลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำและพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น กรณีศึกษาถุงพลาสติกสำหรับอาหาร
Other Titles: Life Cycle Assessment of Low Density Polyethylene (LDPE) and Linear Low Density Polyethylene (LLDPE) Plastic Product Case Study: Food Packaging
Authors: ชณิภรณ์ เรืองฤทธิ์
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th,Orathai.C@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์พลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) และพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น (LLDPE) ด้วยเทคนิคการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยมีกรณีศึกษาเป็นถุงพลาสติกสำหรับอาหาร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ถุงซิปล็อคสำหรับอาหาร และถุงบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแช่แข็ง หน่วยการทำงาน คือ 1 ถุง และทำการประเมินด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SimaPro Version 8.2 วิธี IMPACT 2002+ ขอบเขตการประเมินครอบคลุม Cradle to Grave ประกอบไปด้วย ตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก กระบวนขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ การใช้งาน และการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ โดยการกำจัดซากผลิตภัณฑ์เปรียบเทียบระหว่างการกำจัดด้วยการฝังกลบและการกำจัดด้วยการเผาทำลาย จากผลการประเมิน พบว่า ถุงซิปล็อคสำหรับอาหาร และถุงบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแช่แข็ง มีผลกระทบสูงสุด 5 อันดับที่เป็นผลกระทบเดียวกันทั้งการกำจัดด้วยการฝังกลบ และการกำจัดด้วยการเผาทำลาย ได้แก่ ผลกระทบด้านการใช้พลังงานใช้แล้วหมดไป ผลกระทบด้านการก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง ผลกระทบด้านระบบทางเดินหายใจที่มาจากสารอนินทรีย์ ผลกระทบด้านการทำให้โลกร้อน และผลกระทบด้านการก่อให้เกิดสารที่ไม่ก่อมะเร็ง ตามลำดับ โดยผลกระทบด้านการใช้พลังงานใช้แล้วหมดไปมาจากเม็ดพลาสติก LDPE และ LLDPE เป็นหลัก ซึ่งผลกระทบของเม็ดพลาสติกที่เกิดขึ้นรวมผลกระทบตั้งแต่ การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ การผลิตเอทิลีน และการผลิตเม็ดพลาสติก นอกจากนี้ผลจากการประเมินตลอดวัฏจักรชีวิตเปรียบเทียบระหว่างการกำจัดด้วยการฝังกลบและการกำจัดด้วยการเผาทำลาย พบว่า การกำจัดด้วยการเผาทำลายก่อให้เกิดผลกระทบด้านการทำให้โลกร้อนมากกว่าการกำจัดด้วยการฝังกลบ จึงสรุปได้ว่าการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีผลกระทบต่ำหรือการใช้วัตถุดิบที่มาจากทรัพยากรทดแทน และการเลือกวิธีการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม สามารถเป็นทางเลือกที่จะช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ถุงซิปล็อคสำหรับอาหารและถุงบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแช่แข็งได้ในอนาคต
Other Abstract: This research applied life cycle assessment methodology in evaluating environmental impact of zip-lock bag for food and frozen food packaging. The objective of this study was to identify the hotspot of environmental impact through life cycle of food packaging from LDPE and LLDPE resins. The system boundary was defined as cradle-to-grave which included the ethylene production, LDPE and LLDPE resins production, zip-lock bag and frozen food packaging production, and disposal. The disposal was compare between landfill and incineration. All materials and emissions were calculated based on 1 bag of zip-lock bag for food and frozen food packaging. IMPACT 2002+ method was used for assessing environmental impact on SimaPro V8.2 software. The result found that the The most of environmental impact was generated from LDPE and LLDPE resins (raw material) which was used as raw material for producing bag. After normalization, non-renewable energy showed the highest potential to concern. This impact related directly to the natural gas drilling, ethane production, ethylene production, resin productions, and energy in all process. In conclusion, it should be suggested that the selection of suitable option for disposal can play an important role to reduce the environmental impact. The research demonstrates the possible way and benefits in improving cleaner raw material and suitable way of product’s end-of-life for producing green portion bag in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55486
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1032
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1032
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770389721.pdf7.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.