Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55495
Title: การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์พลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง
Other Titles: Life cycle assessment of high density polyethylene (HDPE) plastic product
Authors: ปัทมาพร ตรีเนตร
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th,Orathai.C@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์พลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง ด้วยการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์พลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ แกลลอนสำหรับบรรจุน้ำมันหล่อลื่น และถุงพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร โดยการเปรียบเทียบผลกระทบในกระบวนการจัดการผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน ด้วยการใช้โปรแกรม SimaPro version 8.2 และวิธี IMPACT 2002+ version 2.12 ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจำนวน 15 ด้าน ต่อหน่วยการทำงาน เช่น การเกิดสารอนินทรีย์ที่มีผลต่อการหายใจ การเกิดความเป็นพิษต่อดิน การเกิดภาวะโลกร้อน และการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เป็นต้น โดยมีขอบเขตการประเมินครอบคลุมตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบ การผลิตเม็ดพลาสติก การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ การขนส่ง การใช้งาน และการจัดการผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน โดยผลการประเมิน พบว่า กลุ่มผลกระทบที่มีความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมมากที่สุดของผลิตภัณฑ์พลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง คือ ผลกระทบด้านการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป โดยมีสาเหตุหลักเกิดจากการได้มาของวัตถุดิบ โดยเฉพาะก๊าซเอทิลีนซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเม็ดพลาสติก ขณะที่ผลการเปรียบเทียบวิธีการจัดการผลิตภัณฑ์พลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูงหลังการใช้งาน พบว่า การรีไซเคิลเป็นวิธีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการจัดการด้วยการฝังกลบและการเผา นอกจากนี้ยังพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากการผสมเม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูงกับเม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำเชิงเส้นตรงในสัดส่วนร้อยละ 50 จะมีผลกระทบมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปจากเม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูงอย่างเดียว และจากผลการประเมินวัฏจักรชีวิตนี้สามารถนำมาใช้เสนอแนวทางที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่แล้วหมดไปสำหรับเป็นวัตถุดิบและพลังงานในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก มาตรการอนุรักษ์พลังงาน การรีไซเคิลพลาสติก และการใช้เม็ดพลาสติกชีวภาพ
Other Abstract: This study was aimed to determine the environmental impacts for the whole life cycle of high density polyethylene (HDPE) between two products which are lubricant oil bottle and food plastic bag .The life cycle assessment methodology was used in this study by using the SimaPro program version 8.2 along with the IMPACT 2002+ version 2.12 method. The results would be expressed as a quantity of 15 midpoint environmental impact categories per the functional unit such as respiratory inorganics, terrestrial ecotoxicity, global warming and non-renewable energy etc. The scope of life cycle assessment covers the raw material acquisition, plastic pellet production, plastic formation process, transportation, plastic consumption and waste disposal. After the study, the results showed that the major impacts of HDPE plastic product for the whole life cycle was raw material acquisition due to the utilization of non-renewable energy, especially the ethylene gas which is the main ingredients for the HDPE production. While the results of disposal phase by recycle was examined to have a less degree on environmental impact than the landfilling and incineration. Furthermore, it was found that the product which made from HDPE pellet and LLDPE pellet composite in the ratio of 1:1 displayed a higher environmental impact than the product that made from the HDPE pellet only. Finally, the recommendation for environmental impact mitigation would be mainly focused on the reduction of non-renewable energy consumption and the non-renewable resources by using alternative energy, applying energy conservation measure, recycling plastic product and promoting the utilization of bioplastic product.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55495
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1018
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1018
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770440021.pdf7.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.