Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55561
Title: ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการก่ออาชญากรรมของเด็กและเยาวชนไทย
Other Titles: DETERMINANTS OF JUVENILE DELINQUENCY RATE IN THAILAND
Authors: ธีรวรรณ เอกรุณ
Advisors: พงศา พรชัยวิเศษกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Pongsa.P@Chula.ac.th,Pongsa.P@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การก่ออาชญากรรมเด็กและเยาวชนเป็นปัญหาสำคัญที่มิได้ส่งผลกระทบเพียงปัจเจกบุคคล (Individual) เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบถึงสังคมส่วนรวมด้วย (Externality) การตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวในมุมมองที่หลากหลายจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการก่ออาชญากรรมเด็กและเยาวชนในมุมมองด้านเศรษฐศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราอาชญากรรมเด็กและเยาวชนไทยกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน โดยใช้แนวคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อาชญากรรมด้วยแบบจำลองอุปทานของการก่ออาชญากรรม (The Supply of Offenses) ซึ่งได้กำหนดให้ตัวแปรตาม คือ อัตราอาชญากรรมเด็กและเยาวชน และปัจจัยที่กำหนดให้เป็นตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย ปัจจัยยับยั้งการก่ออาชญากรรม ได้แก่ โอกาสที่จะถูกจับได้ โอกาสที่จะถูกตัดสินว่ากระทำผิด และโอกาสที่จะถูกลงโทษจากการกระทำความผิด ซึ่งเป็นตัวแปรที่สะท้อนการควบคุมการบังคับใช้กฎหมาย อันเป็นต้นทุนสำคัญของการก่ออาชญากรรม นอกจากนี้ตัวแปรอิสระยังประกอบด้วย ผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน อัตราการหย่าร้างต่อการสมรส อัตราการว่างงาน สัดส่วนคนจน ความหนาแน่นของประชากร สัดส่วนประชากรเด็กและเยาวชนเพศชาย จำนวนโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนนักท่องเที่ยว โดยทำการศึกษาในระดับจังหวัดซึ่งครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดของประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2558 โดยการประมาณค่าแบบ Fixed Effects Regression และ Random Effects Regression จากการศึกษา พบว่า มาตรการทางกฎหมายไม่มีส่วนในการช่วยลดอัตราการก่ออาชญากรรมของเด็กและเยาวชนไทย ในขณะเดียวกันปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราการก่ออาชญากรรมเด็กและเยาวชนลดลง คือ การที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดี และความมั่นคงทางด้านรายได้ของครอบครัว โดยการที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ดีเป็นการเพิ่มต้นทุนในการก่ออาชญากรรมของเด็กและเยาวชน ส่วนปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราการก่ออาชญากรรมเด็กและเยาวชนไทยเพิ่มขึ้น คือ จำนวนนักท่องเที่ยวและความหนาแน่นของประชากร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะมีการก่ออาชญากรรม
Other Abstract: Juvenile delinquency is a serious problem affecting not only individual but also a society as the effect of externality. Thus, the awareness of juvenile delinquency in different perspectives is very essential. This study investigates juvenile delinquency in economic point of view. The objective of the study is to examine the relationship between juvenile delinquency rate and the determinants relating to juvenile delinquency. The economics of crime, by the supply of offense model, is applied. The supply of offense function models the juvenile delinquency rate as dependent variable, and crime deterrence factors including other factors as independent variables. Crime deterrence factors are the probability of arrest, the probability of conviction, the probability of imprisonment. These factors reflect law enforcement which is a significant cost of delinquency. Moreover, other independent variables consist of O-NET score, average household income, the divorce-marriage ratio, unemployment rate, head count index, population density, the proportion of male youth, a number of industrial factories, and a number of tourists. The study analyzes data at provincial level covering all 77 provinces in Thailand during 2011 - 2015. Fixed effects and random effects regression analyses are employed. The results indicate law measures are not likely to reduce juvenile delinquency rate. Meanwhile, a good academic achievement and family income security would lead to a decrease in juvenile delinquency rate. The achievement would increase costs of juvenile delinquency. On the other hand, the determinants leading to an increase of juvenile delinquency rate are a number of tourists and population density, because the provinces with more tourists or more population density are at risk for delinquency.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55561
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.110
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.110
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5785155729.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.