Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55566
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปารีณา ศรีวนิชย์-
dc.contributor.authorพรพรรณ อิสสอาด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:39:47Z-
dc.date.available2017-10-30T04:39:47Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55566-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractปัญหาการให้สินบนแก่พยานบุคคลและพยานบุคคลรับสินบนเป็นปัญหาอาชญากรรมซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรมและยังเป็นอาชญากรรมที่ยากต่อการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดเพราะผู้ให้และผู้รับอาจร่วมมือกันปกปิดการกระทำความผิด ทั้งนี้ การให้สินบนแก่พยานบุคคลยังเป็นการกระทำรูปแบบหนึ่งของความผิดอาญาฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรม (Obstruction of Justice) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ค.ศ. 2000 ซึ่งประเทศต่างๆ สามารถนำกฎหมายอาญาที่ได้บัญญัติฐานความผิดเกี่ยวกับการขัดขวางกระบวนการยุติธรรมมาปรับใช้ได้ เช่น ความผิดฐานยุ่งเหยิงกับพยานบุคคล ความผิดฐานให้สินบนแก่พยานบุคคล ความผิดฐานพยานบุคคลรับสินบน สำหรับประเทศไทยนั้นประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติความผิดฐานให้สินบนแก่พยานบุคคลและฐานพยานบุคคลรับสินบนไว้ การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปในเรื่องของตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนตามมาตรา 83 มาตรา 84 และมาตรา 86 มาปรับใช้แล้วแต่กรณีกับฐานความผิดที่เกี่ยวข้องซึ่งฝ่ายโจทก์จะต้องพิสูจน์องค์ประกอบของความผิดและองค์ประกอบในเรื่องของตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงมุ่งศึกษาความผิดฐานขัดขวางกระบวนการยุติธรรมในอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ค.ศ. 2000 และบทบัญญัติความผิดอาญาฐานให้สินบนแก่พยานบุคคลและฐานพยานบุคคลรับสินบนในกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยศึกษาเปรียบเทียบในประเด็นเกี่ยวกับการบัญญัติองค์ประกอบของความผิด ได้แก่ ผู้กระทำความผิด การกระทำความผิด รูปแบบของสินบน เจตนาพิเศษ และการกำหนดบทลงโทษ ทางอาญา ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่แนวทางการบัญญัติความผิดอาญาฐานให้สินบนแก่พยานบุคคลและฐานพยานบุคคลรับสินบนให้สอดคล้องกับระบบกฎหมายไทย จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยควรบัญญัติความผิดอาญาฐานให้สินบนแก่พยานบุคคลและฐานพยานบุคคลรับสินบนเป็นฐานความผิดเฉพาะไว้ในรูปแบบการแก้ไขเพิ่มเติมฐานความผิดในประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นบทกฎหมายทั่วไปเพื่อให้สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ รวมถึงป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการให้หรือรับสินบนของพยานบุคคลและคุ้มครองการดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรม-
dc.description.abstractalternativeBribery of witnesses is a crime that causes damages to the judicial proceeding. And it is also difficult to seek evidence of the offense because the giver and the receiver may collaborate to conceal the offense. The Bribery of witnesses is the commitment of the Obstruction of Justice in the United Nations Convention against Transnational Organized Crime 2000 (UNTOC) which the foreign countries can apply with criminal offenses in Obstruction of Justice, such as Tampering with a witness, Bribing a witness, and Bribe receiving by a witness. As for Thailand, the Penal Code does not criminalize of Bribing a witness and Bribe receiving by a witness. The punishment shall apply to the general provisions of principals and supporters, according to Section 83, Section 84 and Section 86 which the prosecution must prove the elements of a crime under the provisions of law as an offense. In this regard, the thesis was made with a purpose to study statute of the Obstruction of Justice in the United Nations Convention against Transnational Organized Crime 2000 and statutes in the domestic laws of the United States, Australia, Singapore, France and the People's Republic of China. This research is to compare the elements of a crime including offender, commitment, bribery, specific intent and criminal penalties in order to provide guidelines for enacting a new offense in Thai law. As the result, Thailand should criminalize of Bribing a witness and Bribe receiving by a witness in the Penal Code, which is a general law to punish the offender. This would benefit in prevention and suppression the Bribery of witnesses and protection of judicial proceeding.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.469-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการกำหนดความผิดอาญาฐานให้สินบนแก่พยานบุคคลและฐานพยานบุคคลรับสินบน-
dc.title.alternativeCRIMINALIZATION OF BRIBING A WITNESS AND BRIBE RECEIVING BY A WITNESS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorPareena.S@Chula.ac.th,pareena.lawchula@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.469-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5785994934.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.