Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55618
Title: | สภาวะน่าสบายของสถาปัตยกรรมประเภทคุ้ม : กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ |
Other Titles: | THERMAL COMFORT OF KHUM : A CASE STUDY OF MUANG DISTRICT, PHREA PROVINCE |
Authors: | ชลธิชา เป็งนวล |
Advisors: | เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Terdsak.T@Chula.ac.th,terdsak@gmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | “คุ้ม” เป็นเรือนพื้นถิ่นล้านนาประเภทหนึ่งที่พบในภาคเหนือ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตกซึ่งสอดคล้องทั้งในด้านสภาพภูมิอากาศและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ ซึ่งการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาวะน่าสบายที่พบภายในคุ้ม ตลอดจนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้านกายภาพและบริบทแวดล้อม ผ่านการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดความน่าสบายสามด้าน ได้แก่ อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ และความเร็วลม ดำเนินการเก็บข้อมูลจากคุ้มในเมืองเก่าแพร่ จำนวน 3 หลัง ได้แก่ คุ้มวงศ์บุรี บ้านวงศ์พระถาง และคุ้มวิชัยราชา ผลการศึกษา พบว่า ช่วงแรก ในเดือนกุมภาพันธ์ มีสภาวะน่าสบายเฉพาะช่วงเช้าอยู่ในคุ้มวงศ์บุรีและบ้านวงศ์พระถาง โดยมีอุณหภูมิอากาศเฉลี่ย 26.0 – 28.6 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 40.8 – 58.3 เปอร์เซนต์ ช่วงสอง ในเดือนเมษายน มีสภาวะน่าสบายตลอดวันอยู่ในคุ้มวงศ์บุรี โดยมีอุณหภูมิอากาศเฉลี่ย 26.7 – 28.9 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 58.2 – 73.0 เปอร์เซนต์ และความเร็วลม 0.2 – 0.5 เมตรต่อวินาที ข้อสังเกตุเพิ่มเติมภายในคุ้ม พบว่า มีบางพื้นที่มีความเร็วลมเฉลี่ยอยู่ในขอบเขตสภาวะน่าสบายตลอดทั้งวันเช่นเดียวกันกับคุ้มวงศ์บุรี ได้แก่ บ่อน้ำ ในบ้านวงศ์พระถาง และ ชาน ในคุ้มวิชัยราชา ซึ่งทั้งสองพื้นที่มีความเร็วลมเฉลี่ย 0.3 เมตรต่อวินาที นอกจากนี้ยังพบข้อสังเกตุอื่นๆที่พบภายในคุ้ม ในด้านลักษณะทางด้านกายภาพ ซึ่งคาดว่าช่วยส่งเสริมสภาวะน่าสบาย อาทิเช่น หลังคาที่มีความสูงชัน , ความสูงจากฝ้าถึงเพดาน , ช่องลมเหนือประตู-หน้าต่าง และพื้นที่ต่างระดับ เป็นต้น ทำให้ภายในอาคารมีอากาศถ่ายเทได้ดีขึ้น ตลอดจนด้านบริบทแวดล้อม คุ้มมักจะมีการวางอาคารที่สอดคล้องกับต้นไม้ โดยจะหันหน้าไปทางทิศใต้หรือทิศตะวันตก ช่วยบังแสงแดดที่เข้าสู่ตัวอาคารได้ สุดท้ายนี้การศึกษานี้ยังไม่ได้พิจารณาในรายละเอียดลึกของคุ้ม อาทิเช่น การวางผัง, วัสดุที่ใช้, ลักษณะช่องเปิด, โครงสร้างเรือน-หลังคา,การตกแต่งด้วยลายฉลุ, บริบทแวดล้อมโดยรอบ เป็นต้น ซึ่งทางผู้วิจัยหวังว่าการศึกษานี้จะเป็นแนวทางเพื่อต่อยอดเกี่ยวกับการศึกษาคุ้มให้แก่ผู้ที่สนใจศึกษาในครั้งต่อไปได้ |
Other Abstract: | "Khum" is a Vernacular architecture design influenced by Western architectural concepts that is found in the north of Thailand. Khum is designed based on local needs, and reflects local traditions. The purpose of this study was to analyze the thermal comfort inside Khum style houses and to examine the relationship between the physical characteristics of the houses and their surroundings. The influence of air temperature, relative humidity, and air movement were also measured to determine thermal comfort of the Khum design. The data was collected from three Khum style houses in the Prae province, including Khum Wongburi , Ban Wongphrathang and Khum Wichairacha. There were two stages of data collection. In the first stage, the data was collected in February, which indicated there was thermal comfort only in the morning in the Khum Wongburi and Ban Wongphrathang, but not Khum Wichairacha. As the data showed the average air temperature was between 26.0 0C to 28.6 0C and the relative humidity was between 40.8% to 58.3%. In the second stage, the data was collected in April, indicating thermal comfort throughout the day in the Khum Wongburi. As the data showed the average air temperature was between 26.7 0C to 28.9 0C, the relative humidity was between 58.2% to 73.0%, and the air movement was between 0.2 m/s to 0.5 m/s. There was an average air movement of 0.3 m/s indicating there was thermal comfort in some areas in the Khum, such as the Artesian well in the Ban Wongphrathang, and the terrace in Khum Wichairacha. Furthermore, in the Khums, there were physical characteristics which potentially enhanced thermal comfort such as a steep roof, the height of floor to ceiling, vents above the doors to the windows, and the different floor levels. These features provided a well-ventilated building. In terms of the surrounding factors, Khums were often designed based on the lay-out of trees to maximize the benefit of shade. South-facing or west-facing Khum was often designed in order to prevent direct sunlight into the building. However, this study excluded the data regarding the depth of the Khum such as its planning, layout, materials, voids, all structures, stencil and decorations, and the surrounding. This study will lead to further education for those who are interested in a greater understanding of the topic. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55618 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1154 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1154 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873307925.pdf | 22.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.