Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55626
Title: | ค่าใช้จ่ายในการจัดการและบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรระดับราคากลาง |
Other Titles: | EXPENSE IN MANAGEMENT AND MAINTENANCE FOR PUBLIC FACILITIES OF HOUSING ESTATE JURISTIC PERSONS IN THE MEDIUM PRICE SEGMENT |
Authors: | ทิชา คงรักษา |
Advisors: | ยุวดี ศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Yuwadee.S@Chula.ac.th,Yuwadee.S@chula.ac.th |
Subjects: | บ้านจัดสรร -- การเงิน บ้านจัดสรร -- การจัดการ บ้านจัดสรร -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การจัดการสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะหมู่บ้านจัดสรรเป็นหนึ่งในหน้าที่หลักของการจัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดให้มีการดำเนินการดูแลและรักษาสภาพของสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะภายในหมู่บ้าน ซึ่งการดำเนินการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจำเป็นต้องมีต้นทุนค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นเพื่อใช้ในการดูแลรักษาการใช้ประโยชน์ของสาธารณูปโภคส่วนกลางและบริการสาธารณะ ดังนั้นการเข้าใจถึงที่มาและลักษณะของค่าใช้จ่ายจึงมีความจำเป็นอย่างมากต่อการจัดเตรียมงบประมาณอย่างเหมาะสมและเพียงพอ การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและรวบรวมค่าใช้จ่ายในการจัดการและบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างของสัดส่วนสาธารณูปโภคและสัดส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง จากการเก็บข้อมูลค่าใช้จ่ายในการจัดการสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะภายในโครงการหมู่บ้านจัดสรรจากเอกสารงบการเงินแสดงรายรับ-รายจ่าย ซึ่งเป็นการตรวจสอบบัญชีและรายงานโดยผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปีของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 โครงการ ได้แก่ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ฮาบิทาวน์ วัชรพล นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ทาวน์พลัส เกษตร-นวมินทร์ และนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ชัยพฤกษ์ วัชรพล ได้แจกแจงบัญชีรายการค่าใช้จ่ายออกเป็น 5 หมวด ประกอบด้วย ค่าบริหารและบริการที่มีสัญญา ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ค่าซ่อมแซมบำรุงรักษา และค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ จึงสรุปผลการศึกษาได้ว่า นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจะสามารถจัดเตรียมงบประมาณอย่างเหมาะสมและเพียงพอตามสัดส่วนค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ หมวดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าบริหารและบริการที่มีสัญญามีสัดส่วนค่าใช้จ่าย 76.67% - 87.51% หมวดค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคมีสัดส่วนค่าใช้จ่าย 6.12% - 12.24% หมวดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมีสัดส่วนค่าใช้จ่าย 2.64% - 5.50% และหมวดค่าซ่อมแซมบำรุงรักษามีสัดส่วนค่าใช้จ่าย 1.66% - 8.01% และเมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าบริหารและจัดการกับรูปแบบการบริหารของแต่ละนิติบุคคลฯ พบว่าหมู่บ้านที่มีการบริหารชุมชนโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งมีการจัดจ้างพนักงานในตำแหน่งผู้จัดการหมู่บ้านและพนักงานบัญชีในลักษณะบุคคลธรรมดาภายใต้การดูแลของคณะกรรมการหมู่บ้าน ผลที่ตามมาจึงทำให้สัดส่วนในค่าบริหารและจัดการอยู่ที่ 17.32%-18.19% ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่านิติบุคคลที่บริหารชุมชนโดยการจัดจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาบริหารจัดการ จากอัตราค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะในการบริหารงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ผลการศึกษาที่ได้สามารถบอกสัดส่วนของค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภคในการบริหารงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งทำให้คณะกรรมการ ผู้จัดการหมู่บ้าน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการบริหารชุมชนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรระดับราคากลางและเป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรรขนาดกลางสามารถเตรียมงบประมาณให้เหมาะสมในอนาคตสำหรับนำไปพัฒนาในการบริหารต้นทุนและค่าใช้จ่ายของโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
Other Abstract: | Managing the public facilities and services of housing estates is one of the primary responsibilities of juristic persons who manage housing estates since they are directly involved in taking care of and maintaining the public facilities and services. The management process requires necessary expenses for maintaining public facilities and services. Consequently, gaining insights into sources and types of expenses is essential for preparing appropriate and sufficient budgets. This research aims to analyze the expenses for the management and maintenance of public facilities that housing-estate juristic persons are responsible for in order to identify the differences in the proportions of public facilities of all types and the proportions of actual expenses for public facilities. Data on managing the public facilities and services of housing estates obtained from financial statements audited by annual auditors reporting to three housing-estate juristic persons – namely Habitown Watcharapol, Townplus Kaset Nawamindra, and Chaiyapruek Watcharapol – showed that expenses could be divided into five categories: administrative and contract service expense, public facilities expense, repair and maintenance expense, management expense, and asset depreciation expense and others. The results demonstrates that housing-estate budgets which are prepared appropriately and proportionately by juristic persons are typically broken down into the first four identified expense areas as follows: administrative and contract service expense accounting for 76.67% - 87.51% of the total expenses, public facilities expense constituting 6.12% - 12.24%, management expense making up 2.64% - 5.50%, and repair and maintenance expense comprising 1.66% - 8.01%. Furthermore, it was found that housing estates administered by housing committees who hired housing managers and accountants as ordinary persons under the supervision of housing committees incurred an administrative and contract service expense of 17.32% - 18.19%, which was lower than the expense incurred by juristic persons who hired private companies to administer housing estates. With regard to expenses for maintenance and management of public facilities and services under the administration of housing-estate juristic persons, the findings indicated the proportion of these expenses, which can be used by many groups of people – such as housing committees, housing managers, and people involved in the administration of communities by juristic persons of housings estates which are in the medium price segment, as well as medium-sized housing estates – to plan appropriate budgets for effective management of costs and expenses for housing estates in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55626 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.191 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.191 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5873339025.pdf | 12.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.