Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55646
Title: สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 100 ปี ขึ้นไป กรณีศึกษาจังหวัด ขอนแก่น นครราชสีมาและชัยภูมิ
Other Titles: LIVING CONDITIONS OF CENTENARIANS;CASE STUDY FROM THREE PROVINCES.KHONKAN,NAKORNRAJSIMA AND CHAIYAPHUM
Authors: พสุพงศ์ พูนนาค
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Trirat.J@Chula.ac.th,trirat13@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 100 ปีขึ้น สืบเนื่องจากสถานการณ์สังคมสูงวัยไทยในอนาคตอันใกล้นี้ ในประเทศไทยมีแนวโน้มของการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 100 ปี จึงควรมีการเตรียมความพร้อมในแต่ละด้านเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีชีวิตอยู่โดยพึ่งพาตนเองได้มากที่สุด การศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ 100 ปีขึ้นไปในด้านสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมถึง ลักษณะ รูปแบบ และการปรับปรุงที่อยู่อาศัยที่พบในภูมิภาค 2) วิเคราะห์รูปแบบ สภาพ ลักษณะ และการปรับปรุงที่อยู่อาศัย 3) เสนอแนะแนวทางในการจัดการที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 100 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้การลงพื้นที่สำรวจศึกษาสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่มีอายุยืน สัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสังเกตกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ศึกษาทฤษฎีต่าง ๆ ที่ แนวคิด งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้วิเคราะห์ข้อเท็จจริงของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ส่วนใหญ่มีอารมณ์ดี ร่าเริง อาศัยอยู่กับลูกหลานลักษณะเป็นครอบครัว มีผู้ดูแลตลอดเวลา และเข้าใจถึงความต้องการที่ผู้สูงอายุพยายามจะสื่อสาร มีการจัดเตรียมพื้นที่ใช้สอยให้เหมาะสมในช่วงเวลาต่างๆ มีการเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุการจากเคลื่อนไหวหรือเตรียมพื้นที่ส่วนต่างๆของบ้าน ด้านกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุทั้งหมดนั้นสัดส่วนเวลาที่ใช้ จะพักผ่อนตอนกลางคืนมากที่สุด รองลงมาเป็นพักผ่อนภายในบ้านและหน้าบ้านมีหลังคาคลุมเป็นสัดส่วนใกล้เคียงกัน มีการจัดบริเวณสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยปลอดโปร่งไม่อับชื้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังปัจจุบันนี้มากกว่า 50 ปี ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี เรื่องการให้ผู้สูงอายุได้อาศัยในที่เดิม ( Aging in place ) สรุปผลการศึกษาพบว่า สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงเรื่องความสะอาด และเป็นระเบียบของบ้าน การจัดวางของ ให้เข้าถึงพื้นที่ใช้สอยประจำได้โดยง่าย สิ่งสำคัญคือการนำพาผู้สูงอายุไปยังพื้นที่ที่ต้องการโดยมีสิ่งนำทางเช่น ราวจับ และพื้นที่อาศัยที่สะอาด ระดับพื้นที่เสมอกัน จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างสังเกตได้ว่าผู้สูงอายุได้รับการดูแลในระดับหนึ่ง แต่ความเข้าใจในการปรับปรุงบ้านเพื่อตอบสนองต่อสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุยังไม่ดีเท่าที่ควร
Other Abstract: The study focused on the living conditions of centenarians as Thailand is increasingly an aging society. The number of Thai elderly over 100 years old is rising every year; as a result, preparations should be made so that the elderly can be as independent as possible. The objectives of this study were to: 1) explore the living conditions of centenarians in terms of environment, economy, society and culture including the type of and the improvement on housing; 2) analyze the type, condition and improvement, and 3) propose guidelines for providing housing for the elderly. The participants were 30 centenarians. The data were collected through field survey, a structured questionnaire and observation of the participants’ activity daily living (ADL). Related literature was reviewed for use as concepts to analyze the data. The findings revealed that most of the participants were pleasant and lived with other family members. They had someone to attend to their needs and an area was designated for each activity. There were some preventive measures against falls. As for daily activity living, they rested at night and during the day, they stayed in the house or covered porch. The housing environment was airy. Most of the participants had been living in their house for more than 50 years, in line with a theory of aging in place. It can be concluded that the suitable living conditions of the elderly rely on cleanliness, neatness, arrangement of furniture and accessibility to a functional area. More importantly, there should be something to help them go to the designated area easily such as a handrail. Also, a walking area should be a plane surface. According to the study, the centenarians were well taken care of, but understanding about the living improvements for the elderly is not well informed.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55646
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.170
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.170
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873577025.pdf19.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.