Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55650
Title: การใช้แสงที่มีสีในการออกแบบแสงสว่างในเขตเมืองเก่า: กรณีศึกษาเมืองเก่าน่าน จังหวัดน่าน
Other Titles: THE USE OF COLORED LIGHT IN LIGHTING DESIGN OF HISTORICAL AREA: A CASE STUDY OF NAN HISTORICAL CITY
Authors: สิทธิพัฒน์ มีทรัพย์
Advisors: วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vorapat.I@Chula.ac.th,Vorapat.I@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของการออกแบบระบบแสงสว่างภายนอกอาคารในเขตเมืองเก่า โดยเน้นที่ปัจจัยเรื่องการใช้สีของแสงสว่างและระดับความเร็วในการปรับเปลี่ยนสีของแสงสว่างประกอบบทเพลงและกิจกรรมการท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบระบบแสงสว่างที่เหมาะสมกับอาคารในเขตเมืองเก่า การวิจัยทำการจำลองรูปแบบการให้แสงสว่างด้วยแบบจำลองคอมพิวเตอร์ 3 มิติ และสอบถามความคิดเห็นจากผู้ร่วมวิจัยจำนวน 186 คน ผลการศึกษาพบว่าการใช้แสงสีขาว (6000 °K) หรือแสงสีขาวอมเหลือง (2000 °K) ได้รับค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจในระดับพอใจมาก มากกว่าการใช้แสงที่มีสีอื่นๆ (สีม่วง มีน้ำเงิน สีแดง และสีเขียว) หากแต่ในช่วงเทศกาลที่มีการจัดงานชั่วคราว แสงที่มีสีจะสามารถช่วยให้เกิดความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าการปรับเปลี่ยนสีของแสงสว่างประกอบบทเพลงและกิจกรรมการท่องเที่ยวพบว่า หากออกแบบบนอาคารประเภทวัดวาอารามหรืออาคารเก่าที่มีชีวิต ควรเลือกใช้ความเร็วในการเปลี่ยนสีของแสงที่ช้า (10 วินาทีต่อสีของแสงสว่าง) ทั้งในดนตรีประกอบแบบเร็ว และช้า ในขณะที่การออกแบบบนอาคารประเภทที่มีภูมิทัศน์แบบพิพิธภัณฑ์นั้นสามารถใช้ได้ทั้งความเร็วในการปรับเปลี่ยนที่ช้า (10 วินาทีต่อสีของแสงสว่าง) และเร็ว (3.5 วินาทีต่อสีของแสงสว่าง) ในการเลือกใช้รูปแบบระบบแสงสว่างควรผสมผสานรูปแบบการให้แสงสว่างแบบสาดทั้งอาคาร (flood Light) กับแสงสว่างแบบส่องเน้นองค์ประกอบ (accent light) และควรควบคุมการปรับเปลี่ยนสีของแสงสว่างให้ตรงจังหวะของเสียงดนตรี ท้ายที่สุดงานวิจัยนี้เสนอให้มีการศึกษาเพิ่มเติมในด้านการศึกษาจากสถานที่จริง และเพิ่มปัจจัยด้านความรู้สึกพึงพอใจ หรืออารมณ์ความรู้สึกอื่นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเพื่อให้การออกแบบระบบแสงสว่างภายนอกอาคารในเขตเมืองเก่าได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: The objective of this research was to investigate the satisfaction level toward exterior architectural lighting design in historical setting with emphasis on the use of colored light, light changing speed, music tempo and tourist activities. The ultimate goal was to suggest appropriate lighting design guideline for buildings in historic district. In this research, lighting design scenes were generated with 3-D realistic computer rendering program. A total of 186 research participants were surveyed. The results showed that when using white light (6000 °K) or warm white light (2000 °K) were used, average satisfaction scores were higher than other colored light. However, the results also showed that colored lights could be temporality used to attract visual attention during festive activities. The results also showed that for historical buildings which are currently in- use. The colored light should be changed at slow speed (10 second/ color shift) regardless of music tempo. For landscape museum historical buildings type, either slow or fast light changing speed (10 second/ color shift or 3.5 second/ color shift repetition) could be used. Flood light and accent light should be used and the light changing speed should match music tempo. Finally, this study suggests that further study should be conducted in an actual site. Other emotional responses should be evaluated in order to provide an appropriate exterior lighting design guideline for buildings in historic setting.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55650
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1151
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1151
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873592325.pdf6.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.