Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55688
Title: การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเรื่อง ผ้าทอไทยทรงดำในบริบทร่วมสมัย ของจังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: DEVELOPMENT OF A LOCAL CURRICULUM OF ART LEARNING AREAIN LOWER SECONDARYSCHOOL ON THAI SONG DAM HAND WEAVING IN CONTEMPORARY CONTEXT IN SUPHANBURI PROVINCE
Authors: กิตติศักดิ์ คนแรงดี
Advisors: อินทิรา พรมพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Intira.P@Chula.ac.th,Intira.p@gmail.com,Intira.p@chula.ac.th
Subjects: ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน
การศึกษา -- หลักสูตร
หัตถกรรมสิ่งทอ
Art -- Study and teaching
Education -- Curricula
Textile crafts
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและองค์ความรู้พื้นฐานของหลักสูตรท้องถิ่น สาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ผ้าทอไทยทรงดำในบริบทร่วมสมัย 2) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง ผ้าทอไทยทรงดำในบริบทร่วมสมัย เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาในชุมชนชาวไทยทรงดำจังหวัดสุพรรณบุรีที่เหมาะสมกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 วิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาค้นคว้าข้อมูล 2) กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 3) การเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาสร้างหลักสูตร นำไปหลักสูตรไปประเมินและรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ และทดลองนำไปใช้ 4) วิเคราะห์ข้อมูล 5) สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนวิชาศิลปะ ปราชญ์ชาวบ้านด้านผ้าทอไทยทรงดำ ผู้ประกอบการด้านผ้าทอไทยทรงดำ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์หลักสูตร 2) แบบสอบถามสำหรับครูศิลปะ 3) แบบสัมภาษณ์สำหรับนักเรียน ปราชญ์ชาวบ้านด้านผ้าทอไทยทรงดำและผู้ประกอบการด้านผ้าทอไทยทรงดำ 4) แบบประเมินหลักสูตรสำหรับทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยล่ะ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสรุปผลในรูปแบบความเรียงและแผนผัง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของหลักสูตรท้องถิ่นที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องผ้าทอไทยทรงดำในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดนครปฐมในปัจจุบันยังไม่มีหลักสูตรที่เป็นเนื้อหาเรื่องผ้าทอไทยทรงดำโดยตรง พบเพียงการเป็นเนื้อหาย่อยส่วนหนึ่งของหลักสูตรเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นจัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม มักจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีระยะเวลาเรียนตั้งแต่ 20-40 ชั่วโมงต่อหลักสูตร 2) ด้านองค์ความรู้พื้นฐานเพื่อนำไปใช้พัฒนาหลักสูตร จากการสำรวจความคิดเห็นและสัมภาษณ์ สามารถสรุปปัญหาและความต้องการได้ว่า ต้องการให้หลักสูตรเรื่องผ้าทอไทยทรงดำในบริบทร่วมสมัย สอนให้นักเรียนได้รู้จัก ใช้งานเป็น สร้างสรรค์ผลงานได้ทั้งแบบดั้งเดิมและแบบร่วมสมัย 3) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากการศึกษาสภาพและองค์ความรู้พื้นฐานจากข้อมูลและความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างสามารถสังเคราะห์ออกมาเป็นแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรโดยแบ่งเป็น 3 รายวิชาต่อเนื่อง ซึ่งมีจุดเน้นในแต่ละชั้นปีที่ต่างกันในรูปแบบ 3ส คือ สั่งสม สืบสาน และสร้างสรรค์ตามลำดับ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมในทุกมิติ โดยนำมากำหนดเป็นวัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน การวัดประเมินผล และกำหนดให้จัดรูปแบบการเรียนให้มีที่ความเหมาะสมกับยุคสมัย ด้านทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยจัดทำออกมาเป็นเอกสารหลักสูตร ผลจากการประเมินและรับรองหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมระดับความเห็นด้วยในระดับมากที่สุด ผลการนำกิจกรรมจากหลักสูตรไปทดลองใช้จากการสัมภาษณ์นักเรียนมีความพึงพอใจกับการทำกิจกรรม เนื่องจากมีเนื้อหาที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับตนเองโดยตรง จึงอยากรู้เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันในวัฒนธรรมท้องถิ่นของตนเอง
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study state and basic knowledge of a local curriculum of art learning area on Thai Song Dum hand weaving in contemporary context and 2) to develop a local curriculum on Thai Song Dum hand weaving in contemporary context which was suitable for 21th century learners to be used in Thai Song Dum community schools, Suphanburi province. The research methods consisted of 5 steps including 1) studied and researched 2) specified sample groups 3) collected data to create a curriculum, evaluated and certified the curriculum by professionals and tested 4) analyzed the data and 5) summarized the results and suggestions. The population and sample groups were 1) art teachers 2) local Thai Song Dum fabrics experts 3) Thai Song Dum textile traders and 4) lower secondary school students. The research tools were 1) curriculum analysis forms 2) questionnaire forms for art teachers 3) interview forms for students, local experts and traders 4) curriculum evaluation forms for professionals. The data was analyzed by frequency, percentage, mean, and standard deviation. Conclusion was in essay and diagrams. The research found that 1) The state of the local curriculum which was related to Thai Song Dum hand weaving in Suphanburi and Nakhon Pathom provinces nowadays was a sub content in the curriculum. Most of it was a lower secondary school additional course included in social studies, religion and culture. The learning duration was 20-40 hours per curriculum. 2) The basic knowledge for curriculum development based on surveys and interviews concluded problems and needs that the curriculum should be taught the students to know, use and create products in both conservative and contemporary way. 3) Local curriculum development based on state and basic knowledge from data and sample groups’ opinions could be synthesized into the curriculum development concepts, divided into 3 continuous courses which had different focus points in each year in the 3C format: collect, continue and create, respectively in order to achieve learning culture of all dimensions by defining objectives, contents, activities, materials, evaluation and learning style which was proper to the 21th century learning skills by providing as curriculum document. The results of the curriculum evaluation and certification found that the curriculum was appropriate and applicable with the highest level of agreement aggregation. The result of curriculum activities based on the interview was that students were satisfied because the contents were directly related to them and they could bring practical knowledge into everyday life in their own local culture.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55688
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1126
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1126
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883309827.pdf11.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.