Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55696
Title: การพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการชั้นเรียนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษาครู
Other Titles: DEVELOPMENT OF DIFFERENTIATED CLASSROOM MANAGEMENT STRATEGY FOR PRE SERVICE TEACHERS
Authors: เชี่ยวเวทย์ เจริญพร
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wannee.K@Chula.ac.th,wannee.k@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจระดับความรู้ ความเข้าใจ และลักษณะเกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียนของนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และ 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการชั้นเรียนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่เหมาะสมสำหรับนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ นิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในปีการศึกษา 2559 จำนวน 565 คน และอาจารย์นิเทศสถานศึกษาจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจ และลักษณะการจัดการชั้นเรียนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลที่นิสิตนักศึกษาปฏิบัติจริงและควรปฏิบัติแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียน มีค่าความเที่ยงของระดับการปฏิบัติจริงและระดับที่ควรปฏิบัติ เท่ากับ 0.91 และ 0.77 ตามลำดับ ด้านการจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความเหมาะสม มีค่าความเที่ยงของระดับการปฏิบัติจริงและระดับที่ควรปฏิบัติ เท่ากับ 0.76 และ 0.58 ตามลำดับ ด้านการวัดการประเมินผล มีค่าความเที่ยงของระดับการปฏิบัติจริงและระดับที่ควรปฏิบัติ เท่ากับ 0.75 และ 0.73 ตามลำดับ (2) แบบบันทึกการสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับกลวิธีหรือกลยุทธ์ในการจัดการชั้นเรียนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล (3) แบบจัดเรียงความคิดเห็นและแบบสอบถามประกอบ (4) บัตรรายการแบบคิว (Q cards) และ (5) แบบประเมินกลยุทธ์การจัดการชั้นเรียนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างระดับการปฏิบัติจริงและระดับที่ควรปฏิบัติ โดยการรายงานค่า Priority Needs Index แบบปรับปรุง วิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นที่มีต่อกลยุทธ์ออกเป็นกลุ่ม โดยใช้หลักการวิเคราะห์องค์ประกอบ ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลจากการบันทึกการแสดงเหตุผลการจัดเรียงอันดับข้อความด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และประเมินกลยุทธ์ที่นำเสนอด้วยการรายงานค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการชั้นเรียนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยภาพรวมได้คะแนนเฉลี่ย 4.28 คะแนน จากคะแนนเต็ม 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 47.56 ซึ่งด้านที่มีความรู้ ความเข้าใจมากที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน มีคะแนนเฉลี่ย 1.69 คะแนน จากคะแนนเต็ม 3 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 56.33 รองลงมาคือ ด้านการจัดกลุ่มผู้เรียน มีคะแนนเฉลี่ย 1.04 คะแนน จากคะแนนเต็ม 2 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 52.00 และด้านที่มีความรู้ ความเข้าใจน้อยที่สุดคือ ด้านการวัดและการประเมินผลนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.55 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 38.75 ซึ่งเป็นด้านเดียวที่มีค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50.00 โดยประเด็นที่ขาดความรู้ ความเข้าใจมากที่สุด คือ การเลือกเครื่องมือที่ใช้ประเมินผู้เรียนสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งมีผู้ที่ตอบประเด็นนี้ถูกเพียงร้อยละ 29.47 2. กลยุทธ์การจัดการชั้นเรียนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมี 7 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลภูมิหลังของนักเรียนในด้านต่างๆ 2) การมีตัวอย่างที่ดี 3) การสร้างเงื่อนไขและการเสริมแรง 4) ความยืดหยุ่นในชั้นเรียน 5) เพื่อนช่วยเพื่อน 6) การจัดกลุ่มในชั้นเรียน และ 7) การจัดการพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
Other Abstract: This research aims to 1) Survey the knowledge understanding and classroom management styles of pre service teachers and 2) Develop the strategies of differentiated classroom management for pre service teachers. Two samples are 565 pre service teachers and 16 supervisors. The instruments are (1) A survey questionnaire about the knowledge understanding and classroom management style of pre service teachers. This instrument separate in 3 parts first, respectful tasks have actual reliability equal to 0.91 and target reliability equal to 0.77. Second, flexible grouping have 1actual reliability equal to 0.76 and target reliability equal to 0.58. Third, ongoing assessment have actual reliability equal to 0.75 and target reliability equal to 0.73. (2) An interview form about opinions of strategies of differentiated classroom management for pre service teachers (3) Statement-ranking forms and records of statement-ranking (4) Q cards and (5) Evaluate form for differentiated classroom management strategy for pre service teachers. In order to analyze what the pre service teachers do in class and what they should do. By using priority needs index report, content analysis, categorized by principal component analysis (PCA) and varimax rotation. In addition, qualitative data were analyzed by content analysis and pre – evaluation of strategies. 1. The result show that the mean of knowledge and understanding of pre service teachers was 4.28 of total 9 (47.56%).The mean of respectful tasks was 1.69 of total 3 (56.33%).The mean of flexible grouping was 1.04 of total 2 (52.00%) and The lowest mean of knowledge and understanding in measure and evaluation of students was 1.55 of total 4 (38.75%). Only knowledge and understanding in measure and evaluation of students was under 50.00%. Especially in term of measure and evaluation of students by pre service teachers is selection instruments for differentiated classroom management. There are only 29.47% who answered this question. 2. All 7 strategies in differentiated classroom management for pre service teachers include 1) To study the background knowledge of each students 2) To be good example for students 3) Creating the condition and having the reinforcement 4) Managing classroom in a flexible way 5) Peer-Assisted Learning 6) Grouping students in the classroom and 7) Dealing with the inappropriate behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55696
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.856
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.856
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883329327.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.