Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55700
Title: | นวัตกรรมการสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกเรื่องสันติภาพสำหรับเยาวชนไทย |
Other Titles: | ART TEACHING INNOVATION TO ENHANCE PEACE CONSCIOUSNESS FOR THAI YOUTH |
Authors: | นลินทิพย์ คร้ามอยู่ |
Advisors: | โสมฉาย บุญญานันต์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Soamshine.B@Chula.ac.th,soamshine@gmail.com,soamshine.b@chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกเรื่องสันติภาพสำหรับเยาวชนไทย 2) ศึกษาผลการเกิดจิตสำนึกเรื่องสันติภาพของเยาวชนไทยก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมการสอนศิลปะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เยาวชนที่มีอายุ 16-17 ปี จำนวน 30 คน จากสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ดจำนวน 15 คน และสถานแรกรับเด็กหญิงบ้านธัญญพรจำนวน 15 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาในการทดลอง 13 คาบเรียน (คาบเรียนละ 50 นาที) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) นวัตกรรมการสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกเรื่องสันติภาพสำหรับเยาวชนไทย 2) แบบสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล 3) แบบวัดจิตสำนึกเรื่องสันติภาพ (ก่อนเรียน – หลังเรียน) และ 4) แบบสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ดูแลเยาวชน และ เยาวชนผู้เรียน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมการสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกเรื่องสันติภาพสำหรับเยาวชนไทย คือ แนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกเรื่องสันติภาพ ที่มีองค์ประกอบจำนวน 7 ข้อ ได้แก่ 1.การศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติงานด้วยตนเอง 2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม 3.การคิดวิเคราะห์เชื่อมโยง 4.การใช้เหตุผลเพื่อแก้ปัญหา 5.การแสดงความคิดเห็น 6.การรับฟังความคิดเห็น 7.การตระหนักในความเท่าเทียมและเคารพในสิทธิของกันและกัน ผู้วิจัยได้นวัตกรรมไปพัฒนาเป็นแผนการสอนศิลปะจำนวน 10 แผน ซึ่งประกอบไปด้วยหัวข้อการเรียนรู้เรื่องสันติภาพ ดังนี้ 1.ความหมายและสัญลักษณ์สันติภาพ 2.ความสำคัญของสันติภาพ 3.เหตุการณ์ความรุนแรงในปัจจุบัน 4.วิธีการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่าง 5.หลักธรรมที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน 6.วิถีชีวิตที่สงบสุข 7.สาเหตุ ผล และวิธีแก้ไขความรุนแรง 8.การแสดงออกถึงการมีสันติภาพและผลที่เกิดขึ้น 9.แนวทางการเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน 10.สันติภาพและการทำเพื่อส่วนรวม 2) เยาวชนที่ได้ผ่านนวัตกรรมการสอนศิลปะนี้มีผลการวัดจิตสำนึกเรื่องสันติภาพ หลังเรียน (ค่าเฉลี่ย = 3.92) สูงกว่าก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย = 3.47) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างทำกิจกรรมเยาวชนมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการมีจิตสำนึกเรื่องสันติภาพในระดับดี ผู้ดูแลเยาวชนและเยาวชนผู้เรียนมีความเห็นว่ากิจกรรมมีความเหมาะสม และเสนอแนะให้ปรับปรุงระยะเวลาในการจัดกิจกรรมให้มีความกระชับยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | The objectives of this research were to 1) develop art teaching innovation to enhance peace consciousness for Thai youth, 2) study the effects of Thai youth peace consciousness before and after learning from art teaching innovation. The sample group was specific selected, 30 people of 16-17 years old from Pakkred Home Boys and Thanyaporn Home Girls. The experiment’s duration were in 13 sessions (50 minutes per session). The research instruments were 1) art teaching innovation to enhance peace consciousness for Thai youth, 2) observation form for individual behavior, 3) peace consciousness test (pre-test and post-test), and 4) Interview form for the guardians and youth. Statistical data analysis by using mean, standard deviation, and t-test. The research findings were as follows: 1) Art teaching innovation to enhance peace consciousness for Thai youth are art instructional guidelines to enhance peace consciousness that consisted of 1.Self study and practice 2.Group working 3.Analytical and Associative Thinking 4.Rational Problem solving 5.Expressing personal opinion 6.Open-minded listening 7.Awareness of equality and respectation. The researcher used art instructional guidelines to developed art lesson plans which had peace learning topics include 1. Meaning and sign of peace 2. The importance of peace 3. Current issues of violence 4. The way of living together in diversity 5. Buddhist theory to enhance peace 6. Peaceful life 7. Cause, effect and violence resolution 8. The expression of peace and the result. 9. Learning to live together 10. Peace and public mind 2) The youth who participated art teaching innovation to enhance peace consciousness for Thai youth had a level of peace consciousness (mean = 3.92) higher than before learning (mean = 3.47) at the significant difference level of .05. During the activities, They showed the desirable behavior of peace in a good level. The guardians and youth’s perspective about the teaching innovation is in an appropriate level. The suggestion is to concise the activities’ duration. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55700 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1121 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1121 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5883349927.pdf | 11.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.