Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55717
Title: การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของสินค้าไทยในประเทศเวียดนาม
Other Titles: INTEGRATED MARKETING COMMUNICATIONS FOR THAI PRODUCTS IN VIETNAM
Authors: เจสสิก้า ชณัฐฎา สุดสุข
Advisors: วรวรรณ องค์ครุฑรักษา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Worawan.O@chula.ac.th,worawan.o@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยแบบนำร่องเรื่อง “การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของสินค้าไทยในประเทศเวียดนาม” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของนักลงทุนชาวไทยที่ทำการตลาดในประเทศเวียดนาม 2) ทัศนคติต่อสินค้าและบริการไทย และพฤติกรรมการซื้อสินค้าและใช้บริการไทยของผู้บริโภคในประเทศเวียดนามในมุมมองความคิดของนักลงทุนชาวไทย 3) รูปแบบการเปิดรับสื่อ ทัศนคติต่อสินค้าไทย และพฤติกรรมการซื้อสินค้าไทยของผู้บริโภคในประเทศเวียดนาม 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อ ทัศนคติต่อสินค้าไทย และพฤติกรรมการซื้อสินค้าไทยของผู้บริโภคในประเทศเวียดนาม และ 5) ความแปรปรวนของลักษณะทางประชากรที่แตกต่างกันในการเปิดรับสื่อ ทัศนคติต่อสินค้าไทย และพฤติกรรมการซื้อสินค้าไทยของผู้บริโภคในประเทศเวียดนาม จากผลการวิจัยพบว่า 1. ธุรกิจไทยใช้กลยุทธ์การสื่อสารประเภทการจัดการ การบริหารภาพลักษณ์และชื่อเสียง โดยการสร้างการรับรู้และภาพลักษณ์ประเทศแหล่งกำเนิดว่าสินค้าไทยมีคุณภาพ น่าเชื่อถือ ประกอบกับการใช้กลวิธี (กิจกรรม) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด การตลาดทางตรง การตลาดเชิงลูกค้าสัมพันธ์ การให้ข้อมูลทางเครือข่ายสังคมออนไลน์และอินเทอร์เน็ต เพื่อการประชาสัมพันธ์ในลักษณะการสื่อสารการตลาด กลวิธีการจัดพิมพ์เอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ (สื่อสิ่งพิมพ์ออกเป็นครั้งคราว เช่น แผ่นพับและเอกสารชุด) เผยแพร่ และการผลิตโฆษณาเพื่อเผยแพร่ในสื่อดั้งเดิม (หนังสือพิมพ์) และสื่อใหม่ (อินเทอร์เน็ต) เพื่อการโฆษณาในลักษณะการสื่อสารการตลาด 2. ผู้จัดการฝ่ายการตลาดมองว่าผู้บริโภคในประเทศเวียดนามมีทัศนคติเชิงบวกต่อสินค้าไทยและมีพฤติกรรมการเลือกซื้อ การซื้อซ้ำสินค้าไทยเพราะคุณภาพสัมพันธ์กับราคา ตั้งใจและตัดสินใจซื้อมากกว่าสินค้าเวียดนามและจีน 3. ผู้บริโภคในประเทศเวียดนามมีรูปแบบการเปิดรับสื่อผ่านแอพพลิเคชั่น Zalo เพื่อการสื่อสาร, Facebook, เว็บไซต์ และ YouTube ทัศนคติเป็นบวกต่อสินค้าไทย และพฤติกรรมการซื้อสินค้าไทยในระดับต่ำ 4. การเปิดรับสื่อส่งอิทธิพลด้านบวกต่อทัศนคติและพฤติกรรมการซื้อสินค้าไทย และการมีทัศนคติเป็นบวกต่อสินค้าไทยส่งอิทธิพลด้านบวกต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าไทยของผู้บริโภคในประเทศเวียดนาม 5. ผู้บริโภคในประเทศเวียดนามที่มีลักษณะทางประชากรแตกต่างกันมีการเปิดรับสื่อ ทัศนคติต่อสินค้าไทย และพฤติกรรมการซื้อสินค้าไทยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: This pilot study, “Integrated Marketing Communications for Thai Products in Việt Nam,” is a qualitative and quantitative research of which the purposes were to study 1) Integrated marketing communications strategies for Thai products in Việt Nam 2) Việt Namese consumers’ attitude towards Thai products and purchasing behavior through Thai marketing managers' observations 3) The Việt Namese’ media consumption patterns, attitude towards Thai products and purchasing behavior 4) Relations between media exposure, attitude and consumer behavior, and 5) Effects of variances in demographics on media exposure, attitude and consumer behavior Findings have revealed that: 1. Thai companies have strategically communicated optimizing image and reputation management through corporate-brand awareness, country-of-origin image attainment in combination of selective tactics (communication activities) usage: event marketing, direct marketing, customer relationship management, social networking and internet to publicize in lineage to marketing communication; publishing marketing collateral (stand-alone publications: brochure and booklet), commissioning advertisement for traditional media (newspapers) and new media (internet) to advertise in lineage to marketing communication. 2. Thai marketing managers have observed that Việt Namese consumers have positive attitude towards Thai products, purchase and re-purchase Thai products based on quality and economic aspects, and gravitate to Thai products far more than Việt Namese and Chinese products. 3. Zalo, Facebook, websites and YouTube are popular among Việt Namese consumers, they also have positive attitude towards Thai products and modest purchasing behavior. 4. Media exposure positively affects attitude and consumer behavior whereas attitude also positively affects consumer behavior. 5. Media exposure, attitude and consumer behavior do not differ among demographic variances across Việt Namese consumers.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55717
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.408
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.408
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5884653828.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.