Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5573
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปรีชญา สิทธิพันธุ์ | - |
dc.contributor.author | จิตาสา กองแก้ว | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-01-23T11:04:27Z | - |
dc.date.available | 2008-01-23T11:04:27Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9743349952 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5573 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | การเคลื่อนไหว (Movement) เป็นหลักการพื้นฐานสำคัญในการออกแบบ ก่อให้เกิดการรับรู้ทางสายตา สร้างความสนใจ ความต่อเนื่อง ประสบการณ์ ชีวิตชีวา ความพิศวง และสะท้อนการไม่หยุดนิ่ง แนวความคิดของการออกแบบให้เกิดการเคลื่อนไหวเด่นชัด ในทัศนศิลป์ในสถาปัตยกรรมแนวความคิดของการเคลื่อนไหวได้รับสนใจมาก การเคลื่อนไหวมี 2 ประเภท คือ การเคลื่อนไหวแบบรูปธรรมและการเคลื่อนไหวแบบนามธรรม วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการเคลื่อนไหวแบบนามธรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิธีการออกแบบ ให้เกิดการเคลื่อนไหวดังกล่าวในสถาปัตยกรรม คือ การเคลื่อนไหวของที่ว่าง การเคลื่อนไหวของรูปทรง และการเคลื่อนไหวขององค์ประกอบ การศึกษาครั้งนี้อาศัยการทบทวนวรรณกรรม วิธีทำให้เกิดการเคลื่อนไหวจากแนวความคิดในทัศนศิลป์ สรุปได้วิธีจึงนำผสมผสานกับการจัดองค์ประกอบพื้นฐาน ให้เกิดการเคลื่อนไหวในการออกแบบ และแนวความคิดการเคลื่อนไหวในสถาปัตยกรรมตามลำดับ สรุปวิธีการออกแบบให้เกิดการเคลื่อนไหวในสถาปัตยกรรม จะเป็นเครื่องมือที่นำไปวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของวิธีการออกแบบ ให้เกิดการเคลื่อนไหวของที่ว่าง การเคลื่อนไหวของรูปทรง และการเคลื่อนไหวในองค์ประกอบ การศึกษาได้วิธีการออกแบบให้เกิดการเคลื่อนไหวในสถาปัตยกรรม 12 วิธี เป็นวิธีหลัก แต่ละวิธีมีวิธีย่อยสรุปรวมได้ 34 วิธี แต่ละวิธีมีดังนี้ 1) การสัมพันธ์กับธรรมชาติ 1.1 รูปทรงสิ่งมีชีวิต 1.2 การเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ของวัตถุใดๆ 1.3 การแสดงถึงแรงกระทำและผลของแรงกระทำ 1.4 การแสดงถึงการเจริญเติบโต 2) การสร้างทิศทาง 2.1 ทิศทางตามแนวเส้น 2.2 ทิศทางตามแนวรัศมี 2.3 การเปิดช่อง 3) การทำให้ไม่คงที่ ไม่มั่นคง 3.1 ไม่สมมาตร 3.2 การเอียง 3.3 การทำตรงข้ามแรงดึงดูด 4) การสร้างจังหวะ 4.1 จังหวะซ้ำ 4.2 จังหวะสลับ 4.3 จังหวะก้าวหน้า 4.4 จังหวะต่อเนื่อง 5) Positive-Negative/Reversible 5.1 Positive-Negative 5.2 Reversible 6) Moire 6.1 Subtractive Moire 6.2 Additive Moire 7) การทำให้ผิดรูป 7.1 การทำให้ผิดรูปเพียงบางส่วน 7.2 การทำให้ผิดรูปทั้งตาราง 8) การผสมผสานทางสายตา 8.1 Pointillist 8.2 Proximilty 9) การแยก/การแตกกระจาย 9.1 การแยก 9.2 การแตกกระจาย 10) การใช้ Diagram 10.1 การเคลื่อน 10.2 การหมุน 10.3 การวางซ้อนกัน 10.4 การพับ 11) การเปลี่ยนรูป 11.1 การสร้างลำดับขั้น 11.2 การเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณะ 11.3 Animate Form 12) การทำให้เกิดแสงและเงา 12.1 ความแตกต่างของแสงและเงา 12.2 ลวดลายของแสงและเงา 12.3 การสะท้อน การทดสอบวิธีการออกแบบให้เกิดการเคลื่อนไหว ทำให้เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้จริง ใช้หลักการจากตารางจำแนกรูปร่างลักษณะที่สร้างขึ้นจากวิธีการหลัก 12 วิธีและวิธีการย่อยนี้ ใช้จำนวนตัวอย่าง 120 ตัวอย่าง โดยวิเคราะห์ว่าตัวอย่างนั้นใข้วิธีการออกแบบที่ได้จากการวิจัยหรือไม่ การสรุปผลเสนอวิธีการออกแบบให้เกิดการเคลื่อนไหวของรูปทรง การเคลื่อนไหวของที่ว่าง และการเคลื่อนไหวขององค์ประกอบด้วยการพิจารณาองค์ประกอบของพื้นผนังและหลังคา | en |
dc.description.abstractalternative | Movement is an important fundamental in design. Base on visual perception, it creates interest by the effects of continuity,experience, liveliness, wonderfulness, and dynamics. Concept of movement design has been prominent in visual arts. In architecture, it has been vastly used as well. There are two types of movement; objective and subjective movement. This thesis aims at the study of design methods to create subjective movement in architectural space, form, and elements of floor, wall, ceiling, and roof. using deductive and inductive reasoning through literature review research of two source; theoretical basis of movement design in visual art, and concept of movement design in architecture, 12 methods of movement design are concluded (total of 34 variations). They are 1) Associated with nature 1.1 organic form 1.2 motion 1.3 force 1.4 growth 2) Direction 2.1 linear 2.2 radius 2.3 opening 3) Disequilibrium or unstable 3.1 asymmetry 3.2 incline 3.3 anti gravity 4) Rhythm 4.1 repetitive 4.2 alternative 4.3progressive 4.4 flowing 5) Positive-negative/Reversible 5.1 positive-negative 5.2 reversible 6) Moire 6.1 subtractivemoire 6.2 additive moire 7) Distortion 7.1 point distortion 7.2 plane distortion 8) Blending 8.1 pointillist 8.2 proximity 9) Separated/Explosion 9.1 separated 9.2 explosion 10) Diagram 10.1 shifting 10.2 rotation 10.3 superimposition 10.4 folding 11) Transformation 11.1 gradation 11.2 metamorphosis 11.3 animate form 12) Light and Shadow 12.1 juxtaposition of light and shadow 12.2 pattern 12.3 reflection. To test the movement methods generated in the real world applications, a morphological of those methods are constructed consisting of 12 parameters and their variations. One hundred and twenty examples of architectural design are selected and used to analyzed their movement design methods whether they apply any of parameters of movement design found in this thesis. Findings are design methods for creating movements in form, space, and element by considering the elements of floor, wall, ceiling, and roof. | en |
dc.format.extent | 6522226 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.152 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | สถาปัตยกรรม -- องค์ประกอบ | en |
dc.subject | การออกแบบสถาปัตยกรรม | en |
dc.title | วิธีการออกแบบให้เกิดการเคลื่อนไหวในสถาปัตยกรรม | en |
dc.title.alternative | Methods of movement design in architecture | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | preechaya.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2000.152 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jitasa.pdf | 6.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.