Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55742
Title: แนวความคิดและการออกแบบการประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรณีศึกษา : พระวิหารหลวงวัดโสมนัสราชวรวิหารและวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
Other Titles: CONCEPTS AND DESIGN OF THE ENSHRINEMENT OF PRESIDING BUDDHA IMAGE DURING THE REIGN OF KING RAMA IV : CASE STUDIES OF THE MAIN VIHARA OF WAT SOMANAS RAJAVARAVIHARA AND WAT MAKUTKASATRIYARAM RAJAVARAVIHARA
Authors: ณัฐพงษ์ นันฑบุญ
Advisors: ภัทร์ สีอัมพรโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pat.S@Chula.ac.th,ps2272@gmail.com
Subjects: พระพุทธรูป -- การออกแบบ
พระพุทธปฏิมาประธาน
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาแนวความคิดและการออกแบบการประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรณีศึกษา : พระวิหารหลวงวัดโสมนัสราชวรวิหารและวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหารนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในเชิงแนวความคิดและการออกแบบการประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารหลวงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทำการเลือกกรณีศึกษาจากพระวิหารหลวงที่มีการประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานที่มีพุทธลักษณะตามการค้นคว้าของผู้นำคณะธรรมยุติกนิกายและพระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฏในพระอารามที่ทรงสถาปนาขึ้นใหม่จำนวน 2 แห่ง ในจำนวน 5 พระอารามในเขตกรุงเทพฯ ได้แก่ พระวิหารหลวงวัดโสมนัสราชวรวิหารและวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของแนวความคิดและการออกแบบในเชิงรูปธรรมและนามธรรม ตลอดจนการแทนค่าเนื้อหาทางพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับพระพุทธปฏิมาประธานและสามารถนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยพุทธศาสนาที่มีการประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานที่มีขนาดเล็ก โดยสามารถเชื่อมโยงส่วนเนื้อหาและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้อย่างลึกซึ้งและมีเอกภาพ การศึกษาในครั้งนี้ สามารถจำแนกวิธีการศึกษาออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การศึกษาในเชิงแนวความคิดและในเชิงการออกแบบการประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารหลวงของพระอารามกรณีศึกษาทั้ง 2 แห่ง โดยการศึกษาในเชิงแนวความคิด เป็นการค้นคว้าในภาคเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิดของคณะธรรมยุติกนิกายที่มีผลต่อศิลปสถาปัตยกรรมและพระพุทธปฏิมา ส่วนในเชิงการออกแบบนั้น เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของการประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารหลวงของพระอารามกรณีศึกษาทั้ง 2 แห่ง ประดิษฐานอยู่ในบุษบกและสถาปัตยกรรมไทยอีกชั้นหนึ่ง จึงเป็นการศึกษาถึงกระบวนการออกแบบสัดส่วนสถาปัตยกรรมเครื่องยอดทรงจอมแหประเภทบุษบกและสัดส่วนสถาปัตยกรรมไทย แล้วจึงนำองค์ความรู้ทั้ง 2 ลักษณะ มาวิเคราะห์ถึงแนวความคิดที่นำไปสู่การออกแบบศิลปสถาปัตยกรรมที่มีความสัมพันธ์กับพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารหลวงของพระอารามกรณีศึกษาทั้ง 2 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า จากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาคณะธรรมยุติกนิกาย ซึ่งมีแนวความคิดในการยึดหลักการจากพระไตรปิฏกและการพิจารณาด้วยเหตุผลและปัญญา มุ่งให้พุทธบริษัทเห็นประโยชน์ที่แท้จริงของการนับถือพระพุทธศาสนา ทำให้วัตรปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์มีความเคร่งครัดกว่าแต่ก่อนและแนวความคิดดังกล่าวได้ส่งผลโดยตรงกับศิลปสถาปัตยกรรมตลอดจนพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหารหลวงพระอารามกรณีศึกษา จึงปรากฏการออกแบบเพื่อรองรับรูปลักษณ์ใหม่ของพระพุทธปฏิมาประธานและยังตอบสนองต่อแนวความคิดของคณะธรรมยุติกนิกายดังนี้ 1.จากการพิจารณาความหมายของพุทธรัตนะในพระรัตนตรัย พระพุทธเจ้าต้องมีขนาดพระวรกายไม่ต่างจากมนุษย์สามัญ แต่ทรงมีปัญญา ดังนั้น พระพุทธปฏิมาประธานซึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าต้องมีขนาดใกล้เคียงกับมนุษย์ 2.จากข้อจำกัดเรื่องขนาดพระพุทธปฏิมาประธานจึงแก้ไขด้วยการประดิษฐานในบุษบก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในเชิงความหมายและความสัมพันธ์ในเชิงกระบวนการออกแบบพระวิหารหลวงในพระอารามกรณีศึกษา
Other Abstract: The research aims to study the concepts and design in the enshrinement of presiding Buddha image during the reign of King Rama IV through an investigation of selected Main Viharas. The case studies were chosen based on the characteristics of enshrining presiding Buddha image as of Dhammayuttikanikaya leader’s studies and royal consideration of King Rama IV. Out of five newly established monasteries within Bangkok in the reign of King Rama IV, two were identified, namely, Wat Somanas Rajavaravihara and Wat Makutkasatriyaram Rajavaravihara, to study the relations between concept and design both in tangible and abstract dimensions, along with the depiction of Buddhist concept in accordance to presiding Buddha image. Findings in this study can be applied as guidelines in designing Thai Buddhist architecture with enshrinement of smaller presiding Buddha image to establish stronger and more unified links between its Buddhist content and architectural style. There are two methods of study in this research. For conceptual study, a documentary research is employed to study the influence of Dhammayuttikanikaya concepts on the arts and architectural style of Buddha image. For enshrinement design study, as the presiding Buddha images in both case studies are found enshrining on a Busabok within another layer of traditional architectural element, it is thus important to study the design process for the architectural proportions of Chom Hae-shaped spire Budsabok and that of traditional Thai architecture, as well. Findings from both study methods will then be incorporated in the conceptual analysis to identify the architectural links of presiding Buddha image’s enshrinement in both cases. The findings indicate that King Rama IV’s establishment of Dhammayuttikanikaya, an order strongly adhered to the principles of the Tripitaka and rational and intellectual considerations to promote positive impact of Buddhism among believers, has clearly led to stricter and more disciplined Sangha practice. The concept was proven to have direct influence on Buddhist arts and architecture as well as the style of presiding Buddha image for Main Vihara found in both cases. As a result, changes were made to accommodate the new design of presiding Buddha image in correspondence to the principles of Dhammayut order as follows: 1. From the study of Buddharatana (Buddha Gem) definition in Ratanattaya (the Triple Gem), the Buddha should bear physical body size of no difference from ordinary human beings, while bearing great wisdom. Therefore, the size of the presiding Buddha image, the physical representation of the Buddha, should resemble that of human beings. 2. Due to aforesaid restrictions in terms of size, the presiding Buddha image was then redesigned to enshrine on a Busabok (a small elaborated pavilion throne) to establish symbolic and meaningful relationship in the overall design process of the Main Vihara in both cases.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55742
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1174
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1174
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973347025.pdf11.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.