Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55749
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรจน์ เศรษฐบุตร-
dc.contributor.authorสุทธิพร เติมกล้า-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:49:08Z-
dc.date.available2017-10-30T04:49:08Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55749-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านพลังงานของแผ่นวัสดุเปลี่ยนสถานะ (Phase change material Board : PCM board) ที่ติดตั้งที่ผนังภายในอาคาร การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนแรกเป็นการสร้างห้องทดลองขนาด 3 x 3 x 2.4 เมตร ติดตั้งเครื่องปรับอากาศจริง แบ่งเป็นห้องที่ติดและห้องที่ไม่ติด แผ่นวัสดุเปลี่ยนสถานะและแบ่งย่อยออกเป็นอีก 2 กรณีตามลักษณะการใช้งานอาคาร คือ อาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัย เพื่อเปรียบเทียบการใช้พลังงานในการปรับอากาศ และความสามารถในการรักษาสภาวะน่าสบายของ แผ่นวัสดุเปลี่ยนสถานะหลังจากปิดระบบปรับอากาศ ส่วนที่สองเป็นการจำลองประสิทธิภาพการใช้พลังงานตลอดทั้งปีกับอาคารอ้างอิงด้วยโปรแกรม VisualDOE ผลการเก็บข้อมูลจากห้องทดลองพบว่า การติดแผ่นวัสดุเปลี่ยนสถานะที่ผนังภายในเมื่อใช้งานเป็นอาคารสำนักงานสามารถลดการใช้พลังงานในการปรับอากาศลงได้ถึง 18.91% และเมื่อใช้งานเป็นอาคารพักอาศัยสามารถการใช้พลังงานลงได้ 6.02% ในส่วนของการรักษาสภาวะน่าสบายหลังจากการปิดเครื่องปรับอากาศ เมื่อใช้งานเป็นอาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัย แผ่นวัสดุเปลี่ยนสถานะสามารถหน่วงความเย็นในห้องให้อยู่ในสภาวะน่าสบายได้ดีกว่าห้องธรรมดาเป็นเวลา 1:30 - 2:30 ชั่วโมง และ 1:10 - 1:20 ชั่วโมงตามลำดับ ในส่วนของผลการจำลองด้วยโปรแกรม Visual DOE เมื่อติดตั้งแผ่นวัสดุเปลี่ยนสถานะในอาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัยอ้างอิง สามารถลดพลังงานในการปรับอากาศลงได้ 13.80% และ 1.28% ตามลำดับสามารถสรุปได้ว่า การติดตั้งแผ่นวัสดุเปลี่ยนสถานะช่วยลดพลังงานในการปรับอากาศเมื่อใช้กับอาคารสำนักงาน และสามารถเพิ่มเวลาในการใช้งานหลังปิดเครื่องปรับอากาศได้มากขึ้นกับทั้งกรณีอาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัย-
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the energy efficiency of Phase change material board (PCM board) that are mounted on the interior wall of building. The research is divided into two sections. Section one, with the construction of experimental rooms sized 3 x 3 x 2.4 meters and equipped with air conditioners. One room was installed with PCM board while the other not. The experiment is further subdivided into two cases according to building typology, office and residential, in order to compare the cooling energy use and ability to maintain comfort conditions of PCM board after turning off air conditioners. The results indicated that the PCM board can reduce the cooling energy by 18.91% for office case and 6.02% for residential one. Using PCM board, the comfort hours after turning off air conditioners are better than the ordinary room 1:30 - 2:30 hours for office case and 1:10 - 1:20 hours for residential use. By using VisualDOE to simulate case study office and condominium, it was found that PCM board can reduce the cooling energy by 13.80% for office and 1.28% for condominium. PCM board can not only save energy but also prolong the period of indoor comfort after air conditioners are turned off.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1132-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleประสิทธิภาพด้านพลังงานของแผ่นวัสดุเปลี่ยนสถานะเมื่อใช้เป็นผนังภายในอาคาร ในเขตสภาพอากาศแบบร้อนชื้น-
dc.title.alternativeENERGY EFFICIENCY OF PCM BOARD INTEGRATED INTERIOR WALL IN A HOT-HUMID CLIMATE-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorAtch.S@Chula.ac.th,Atch.s@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1132-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5973371025.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.