Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55750
Title: | ผลกระทบของทิวทัศน์ต่อระดับความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียนระดับมหาวิทยาลัย |
Other Titles: | EFFECTS OF WINDOW VIEW ON CREATIVITY IN UNIVERSITY CLASSROOM |
Authors: | สุภิญญา จิวะพงศ์ |
Advisors: | วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vorapat.I@Chula.ac.th,vorapat.i@chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของทิวทัศน์ระยะใกล้ที่มีผลต่อระดับความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียนขนาดมาตรฐานระดับมหาวิทยาลัย และเสนอแนะแนวทางในการออกแบบปรับปรุงทิวทัศน์ระยะใกล้ของอาคารเรียนระดับมหาวิทยาลัย โดยงานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ใช้แบบสอบถามเพื่อหาร้อยละของทิวทัศน์ธรรมชาติระยะใกล้, รูปแบบหน้าต่าง และอัตราส่วนหน้าต่างต่อผนังที่มีผลสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ในห้องเรียน ส่วนการทดลองที่ 2 ทำการทดลองเพื่อวัดระดับความคิดสร้างสรรค์ในการเรียนจากนิสิตที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกันสองคณะ ในสภาพแวดล้อมทางกายภาพของห้องเรียนต่างๆ กัน ในการทดลองที่ 1 ใช้กลุ่มตัวอย่างนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์รวม 50 คน และการทดลองที่ 2 ใช้กลุ่มตัวอย่างนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีรวม 180 คน ผลจากแบบสอบถามในการทดลองที่ 1 พบว่า นิสิตส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าระดับความคิดสร้างสรรค์จะเพิ่มขึ้นเมื่ออยู่ในห้องเรียนที่มีอัตราส่วนหน้าต่างต่อผนังเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 60 มองเห็นทิวทัศน์ธรรมชาติระยะใกล้ได้ครอบคลุม ส่วนผลจากแบบทดสอบความคิดสร้าสรรค์ด้านภาษาเขียนและด้านการมองเห็นในการทดลองที่ 2 พบว่า ห้องเรียนที่มีหน้าต่างเปิดสู่ทิวทัศน์ธรรมชาติระยะใกล้มีผลทำให้ระดับความคิดสร้างสรรค์ด้านภาษาเขียนและด้านการมองเห็นของนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในทางกลับกันห้องเรียนที่มีหน้าต่างเปิดสู่ทิวทัศน์ธรรมชาติระยะใกล้ไม่มีผลทำให้ระดับความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี งานวิจัยนี้จึงเสนอให้ห้องเรียนที่มีการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ด้านการมองเห็น มีหน้าต่างที่สามารถเปิดสู่ทิวทัศน์ธรรมชาติระยะใกล้ได้ ท้ายที่สุด เพื่อที่จะศึกษาผลกระทบของทิวทัศน์ระยะใกล้ที่มีผลต่อระดับความคิดสร้างสรรค์ให้ครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย งานวิจัยนี้จึงเสนอให้ขยายการเก็บข้อมูลการวิจัยให้มีความครอบคลุมทุกคณะ และทำการวิจัยกับห้องเรียนขนาดอื่นๆ เพิ่มเติม |
Other Abstract: | The objective of this research was to determine the effects of window view on creativity in university classroom with the goal to provide the design guideline for the improvement of physical environment of the classroom window views. This study was divided into 2 experiments; the first experiment was to test the effect of closed greenery view quality, window type and window to wall ratio (WWR) on learning creativity, the second experiment was to compare the level of learning creativity from two groups of students with different learning styles. A total of 50 architecture students participated in the first experiment and a total of 180 students from the Faculty of Architecture and Faculty of Commerce and Accountancy from Chulalongkorn University participated in the second study. The result showed the level of learning creativity in classroom was higher in the class room with large window (WWR60) and closed greenery view. In the second experiments, each participant was asked to complete a visual and a verbal creativity test. The findings indicated that access to natural views increased visual and verbal creativity in students from Faculty of Architecture. On the contrary, access to natural view did not increase the level of creativity for students from Faculty of Commerce and Accountancy. This research suggested that access to natural view should be provided for students whose work involves visual creativity. Finally, in order to fully explain the effects of window view on creativity, this research suggested that further study should expand to collect data from various groups of students on campus as well as from classroom of various sizes. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55750 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1142 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.1142 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5973375625.pdf | 5.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.