Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55781
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฐานบ ธิติมากร-
dc.contributor.authorนิรุตย์ ทองพันธุ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialอ่าวไทย-
dc.coverage.spatialอ่าวไทย (แหล่งอุบล)-
dc.date.accessioned2017-11-06T02:16:32Z-
dc.date.available2017-11-06T02:16:32Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55781-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2552en_US
dc.description.abstractข้อมูลคลื่นไหวสะเทือน นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญสาหรับการสำรวจปิโตรเลียมในปัจจุบัน การศึกษากลุ่มความผิดปกติ (Anomaly body) ซึ่งเป็นลักษณะปรากฏของข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนในรูปคลื่นแอมพลิจูดสูงค่าลบ เป็นวิธีหนึ่งในรูปแบบสัญญาณบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของปิโตรเลียมในชั้นหิน แต่เนื่องจากกลุ่มความผิดปกติดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากชั้นหินที่มีปิโตรเลียมและชั้นหินที่มีน้ำ งานวิจัยนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาลักษณะเฉพาะที่แตกต่างของการตอบสนองของข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวอย่างกลุ่มความผิดปกติทั้ง 2 รูปแบบ โดยกำหนดขอบเขตของการศึกษาในกลุ่มความผิดปกติระดับตื้น (ณ ตำแหน่งความลึกน้อยกว่า 1 กิโลเมตร) และเลือกตัวอย่างศึกษาจากหลุมผลิตปิโตรเลียมบริเวณพื้นที่เขตสัมปทานการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอุบลในอ่าวไทย ในการศึกษา ได้เลือกรูปแบบการประมวลผลข้อมูลด้วยวิธี เอวีโอ (AVO – Amplitude Versus Offset) ใน 3 ลักษณะ คือ Intercept time – Gradient cross plotting, Incident angle – Reflection coefficient cross plotting, และ Near angle stack – Far angle stack cross plotting โดยวิเคราะห์ระนาบรอยต่อของชั้นหิน 2 ระนาบ คือ ระนาบรอยต่อของชั้นหินดินดานกับชั้นหินทรายที่มีแก๊ส ได้ผลการวิเคราะห์การตอบสนองของข้อมูลตามมาตรฐานการจัดจำแนกเป็นประเภทที่ 4 และในการวิเคราะห์ Intercept time – Gradient cross plotting ปรากฏผลลัพธ์ในบริเวณ Hydrocarbon zone ซึ่งแสดงถึงการมีอยู่ของปิโตรเลียมในชั้นหิน และสำหรับระนาบรอยต่อของชั้นหินทรายที่มีน้ำกับชั้นหินดินดาน ได้ผลการวิเคราะห์เป็นประเภทที่ 4 เช่นเดียวกัน แต่ในการวิเคราะห์ Intercept time – Gradient cross plotting ปรากฎผลลัพธ์ในบริเวณ Background trend ซึ่งแสดงถึงการมีอยู่ของน้ำในชั้นหิน จากผลการวิเคราะห์ Intercept time – Gradient cross plotting ทำให้ได้ข้อสรุปถึงลักษณะเฉพาะที่แตกต่างของการตอบสนองของข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ตัวอย่างกลุ่มความผิดปกติทั้ง 2 รูปแบบ จากตำแหน่งปรากฏของผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังได้ข้อสรุปถึงประเภทการตอบสนองของข้อมูลได้เป็นประเภทที่ 4 ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ เป็นชั้นหินที่มีค่าความ พรุนสูง สอดคล้องกับลักษณะทางธรณีวิทยาของลำดับชั้นหิน ณ ตำแหน่งความลึกที่ศึกษาซึ่งเป็นระดับตื้น กล่าวคือ ผลจากการอัดแน่นที่น้อยกว่า ทำให้ปริมาณช่องว่างในชั้นหินยังคงอยู่มาก ค่าความพรุนจึงสูงกว่าเมื่อเทียบกับชั้นหินที่อยู่ลึกลงไปen_US
dc.description.abstractalternativeSeismic data is an essential tool in petroleum exploration especially when using as the hydrocarbon indicator. Anomaly body (group of high negative amplitude wavelet in seismic data) is an interesting signal for hydrocarbon indicators. However these anomalies can be generated from both hydrocarbon sand and water sand. This research aims to study the different signature from these various types of anomalies. The scope of the study is focused on the shallow zone (less than 1 kilometer) in Ubon petroleum field, Gulf of Thailand. Three techniques of AVO analysis (Amplitude Versus Offset) has been used in the analysis namely 1) Intercept time – gradient cross plotting (fluid study), 2) Incident angle – Reflection coefficient cross plotting, and 3) near angle stack – Far angle stack cross plotting. Data was selected from 2 interfaces; shale-gas sand contact and water sand-shale contact. As the result, shale-gas sand contact has been classified into class IV AVO response and plotted in hydrocarbon zone for fluid study. Water sand-shale contact resulted in class IV AVO response and plotted in water zone for fluid study. The difference result in fluid study of 2 interfaces gives the conclusion for the distinguish signature in each anomaly body type. In addition, class IV AVO response, which normally represent high porous rock, resulted in both interfaces that related to the geological setting in case of the variation in porosity caused by compaction which decrease porosity in deeper zone.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสำรวจด้วยวิธีคลื่นไหวสะเทือนen_US
dc.subjectการสำรวจด้วยวิธีคลื่นไหวสะเทือน -- ไทยen_US
dc.subjectการสำรวจด้วยวิธีคลื่นไหวสะเทือน -- อ่าวไทย (แหล่งอุบล)en_US
dc.subjectปิโตรเลียม -- การสำรวจen_US
dc.subjectปิโตรเลียม -- การสำรวจ -- ไทยen_US
dc.subjectปิโตรเลียม -- การสำรวจ -- อ่าวไทย (แหล่งอุบล)en_US
dc.subjectSeismic prospectingen_US
dc.subjectSeismic prospecting -- Thailanden_US
dc.subjectSeismic prospecting -- Gulf of Thailand (Ubon field area)en_US
dc.subjectPetroleum -- Prospectingen_US
dc.subjectPetroleum -- Prospecting -- Thailanden_US
dc.subjectPetroleum -- Prospecting -- Gulf of Thailand (Ubon field area)en_US
dc.subjectAmplitude variation with offset analysisen_US
dc.titleรูปแบบสัญญาณคลื่นไหวสะเทือนจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีเอวีโอของกลุ่มความผิดปกติระดับตื้นต่างชนิดบริเวณพื้นที่ศึกษาเขตสัมปทานการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอุบลในอ่าวไทยen_US
dc.title.alternativeSeismic signatures in AVO analysis of various shallow anomaly body types; Ubon field area, Gulf of Thailanden_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorthanop.t@chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nirut T_Full Report.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.