Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55782
Title: การศึกษาธรณีวิทยาแบบละเอียดและการศึกษาศิลาวรรณนาบริเวณพื้นที่เขาพนมพา อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร
Other Titles: Geology and petrography of Khao Pha-Nom-Pha, Amphoe Wang Saiphun, Changwat Phichit, Thailand
Authors: พีรณัฐ วิเศษศรี
Advisors: ปัญญา จารุศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: cpunya@chula.ac.th
Subjects: ศิลาวิทยา
ศิลาวิทยา -- ไทย
ศิลาวิทยา -- ไทย -- พิจิตร
ศิลาวิทยา -- ไทย -- เขาพนมพา (พิจิตร)
ธรณีวิทยาโครงสร้าง
ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย
ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- พิจิตร
ธรณีวิทยาโครงสร้าง -- ไทย -- เขาพนมพา (พิจิตร)
Petrology
Petrology -- Thailand
Petrology -- Thailand -- Phichit
Petrology -- Thailand -- Khao PhaNom Pha (Phichit)
Geology, Structural
Geology, Structural -- Thailand
Geology, Structural -- Thailand -- Phichit
Geology, Structural -- Thailand -- Khao PhaNom Pha (Phichit)
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นที่เขาพนมพาเป็นภูเขาลูกโดดในอำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร (1 ตร.กม.)เนื่องจากมีการขุด ร่อนทองคำ จึงทำให้เกิดความสนใจแหล่งกำเนิดของทองคำอันเป็นที่มาการศึกษาครั้งนี้ โดยมีจุดประสงค์ คือ สำรวจ ธรณีวิทยาโดยละเอียดในภาคสนามและศึกษาศิลาวรรณนาของหินในพื้นที่ศึกษา ในการศึกษา ได้เก็บตัวอย่างหินทั้งหมด 105 ก้อน และเลือกทำแผ่นหินบาง 41 แผ่น ผลการศึกษาพบว่าเขาพนมพาประกอบด้วยหินอัคนีซึ่งเป็นหินอัคนีบาดาลที่แทรกตัดเข้ามาในหิน ภูเขาไฟซึ่งมีอายุเพอร์เมียนตอนปลาย หินอัคนี ประกอบด้วยหินภูเขาไฟส่วนใหญ่เป็นหินแอนดิซิติกลาพิล ลีทัฟกระจายตัวรอบบริเวณเขาพนมพาเกือบทั้งหมด วางตัวใน แนวตะวันออก-ตะวันตก และ มีมุมเอียงเท ประมาณ 40 องศา มีความหนาอย่างน้อย 350 เมตร หินภูเขาไฟนี้ถูกปิดทับด้วยหินไรโอริติกลาพิลลีทัฟซึ่ง กระจายตัวอยู่บริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขาพนมพา และเขาหนองแขม ทั้งหมด หินไรโอริติ กลาพิลลีทัฟมีการมีความหนาประมาณ 400 เมตร หินอัคนีบาดาลเป็นหินไมโครไดออไรต์แทรกตัดเข้ามา ในหินภูเขาไฟนี้ พบบริเวณทางทิศเหนือของเขาพนมพาเป็นวงกลมรัศมีประมาณ 100 เมตร ทิศตะวันออก เฉียงใต้เป็นวงกลมรัศมีประมาณ 200 เมตร และบริเวณกลางเขาพนมพาเป็นแนวยาววางตัวในแนว ตะวันออกตะวันตกโดยมีความกว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 300 เมตร เป็นพนังหินไมโครไดออ ไรต์ และยังพบพนังหินทราชิติกแอนดิไซต์แทรกตัดเข้าไปในไมโครไดออไรต์ วางตัวในแนวเหนือใต้ มีขนาด กว้างประมาณ 1.5 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร ในส่วนของหินแปรประกอบด้วยหินแคลซิลิเกต พบทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาพนมพา บริเวณรอยต่อระหว่างหินแอนดิซิติกลาพิลลีทัฟและหินไมโครไดออ ไรต์ มีความกว้างอย่างน้อย 50 เซนติเมตร หินskarnoid พบทั่วไปบริเวณในหินแอนดิซิติกลาพิลลีทัฟ และ หินไมโครไดออไรต์บริเวณขอบของสายแร่ควอตซ์ -คาร์บอเนต มีกว้างเป็น 2เท่าของสายแร่เข้าไปในหิน เหย้า หินเปลี่ยนสภาพประกอบด้วย หิน retrograde skarn พบทั่วไปบริเวณในหินแอนดิซิติกลาพิลลีทัฟ และหินไมโครไดออไรต์ซึ่งเปลี่ยนสภาพมาจากหินskarnoid เนื่องจากถูกระบวนการจากน้ำฝน และหินซิลิซิ ไฟด์พบการกระจายตัวบริเวณเขาหนองแขม และบริเวณตะวันอกเฉียงเหนือของเขาพนมพา สายแร่ ควอตซ์-คาร์บอเนต มีขนาดของสายแร่ตั้งแต่ 0.5-50 ซม. พบบริเวณกลางเขาพนมพา โดยกระจายตัวเป็น หย่อมๆกว้างประมาณ 10 เมตร ยาว 30 เมตร ในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ -ตะวันตกเฉียงใต้ ตะกอนเชิง เขาที่ยังไม่แข็งตัว พบบริเวณรอบเขาพนมพา และเขาหนองแขม จากการศึกษาศิลาวรรณนา พบว่า 1)หินแอนดิซิติก ลาพิลลีทัฟ มีสดเป็นสีดำเขียวถึงดำ มีเนื้อหิน แบบพอไพริติก โดยมีเนื้อผลึกดอกมเป็น เศษหินไรโอไรต์ เศษหินแอนดิไซต์ ควอตซ์ แพลกจิโคเคลส ฮอน เบลนด์ มีเนื้อพื้นเป็นdevitrified glass และเนื้อผลึกไมโครไลท์เป็นแร่คลอไรท์ แอลไบท์ มีเนื้อหินที่สำคัญ ii trachitic texture 2)หินไรโอริติก ลาพิลลีทัฟ มีสีสดเป็นขาวเทา มีเนื้อหินแบบ พอไพริติก โดยมีเนื้อผลึก ดอกเป็น เศษหินไรโอไรต์ และมีแร่ ควอตซ์ โพแทสเซียมเฟลสปาร์ แ พลกจิโอเคลส และ มีเนื้อพื้นเป็น devitrified glass และเนื้อผลึกไมโครไลท์ประกอบด้วยแร่ควอตซ์ มีเนื้อหินที่สำคัญคือ trachitic texture 3)หินไมโครไดออไรต์ มีสีสดเป็นสีดำ เนื้อหินแบบ holocrystalline และมีแร่ ฮอนเบลนด์ แพลกจิโอเคลส โพแทสเซียมเฟลสปาร์ คลอไรต์ ควอตซ์ แอคทิโนไลต์ และ แร่ทึบแสง มีเนื้อหินที่สำคัญคือ intergranular texture 4)หินทราชิติกแอนดิไซต์ มีสีสดเป็นสีเขียวขาว มีเนื้อหินแบบ พอไพริติก โดยมีเนื้อผลึกดอก ประกอบด้วยแร่ ควอตซ์ โฟแทสเซียมเฟลสปาร์แพลกจิโอเคลส มีเนื้อพื้นเป็นเนื้อแก้ว มีเนื้อหินที่สำคัญคือ trachitic texture 5) สายแร่แบ่งออกเป็น 6 แบบ โดยเรียงตามลำดับเวลา ได้แก่1)สายแร่ ควอตซ์-คลอไรต์- ไพรอกซีน-แร่โอเปกม 2)สายแร่ควอตซ์-ไพรอกซีน, 3)สายแร่คลอไรต์, 4)สายแร่ควอตซ์- ไพรอกซีน-แร่ โอเปก, 5)สายแร่ควอตซ์-แคลไซต์-แอคทิโนต์-แร่โอเปก ซึ่งพบทองคำปรากฏ และ 6)สายแร่ควอตซ์-แคล ไซต์-แอคทิโนต์คลอไรต์-ไพรอกซีน-อิพิโดด ซึ่งพบทองคำปรากฏเช่นกัน อย่างไรก็ตามสายแร่ส่วนใหญ่มี ขนาดตั้งแต่ 0.5 -20 เซนติเมตร จาก ลักษณะของแร่วิทยาจึงสรุปได้ว่า แหล่งแร่เขาพนมพา เป็นแหล่งแร่ทองคำน้ำร้อนอุณหภูมิต่ำ แบบสภาพกรดต่ำซึ่งมีหินเหย้าเป็นหินภูเขาไฟ ซึ่งมีการเปลี่ยนสภาพแบบแคลซิลิเกตบางส่วน และมีน้ำยา แร่ร้อนแทรกเขามาหลายครั้งจนเปลี่ยนสภาพ และ เกิดแร่ควอตซ์ -คาร์บอเนต (คลอไรต์-แอคทิโนไลท์-อิพิ โดด) ในลักษณะการแทนที่ของแร่ สายแร่ และการเชื่อมหินกรวดเหลี่ยม วิวัฒนาการแหล่งแร่พบว่าเขาพนมพาประกอบด้วยหินแอนดิซิติกลาพิลลีทัฟ ซึ่งถูกปิดทับด้วยหิน ไรโอริติกลาพิลลีทัฟ แล้ว ถูกแทรกดันด้วยหินไมโครไดออไรต์เข้ามาในหินภูเขาไฟนี้ จึงทำให้หินแอนดิซิติ กลาพิลลีทัฟเกิดการแปรสภาพบางส่วนเป็นหินแคลซิลิเกต และทำให้เกิดรอยแตกในหินแอนดิซิติกทัฟและ หินไมโครไดออไรต์ด้วย และต่อมามีน้ำยาแร่ร้อนแทรกเข้ามาตามรอยแตก เป็นช่วง prograde skarn มีการ แลกเปลี่ยนองค์ประกอบของน้ำยาแร่ร้อนกับหินเหย้า เกิดเป็นหินที่เรียกว่า skarnoid หลังจากนั้นในช่วง มี การกระบวนการน้ำฝนเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเกิดการเปลี่ยนสภาพที่ มีการแทนที่แร่ที่เกิดในช่วง prograde skarn ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแร่ที่ไม่มีที่ไม่มีน้ำในโครงสร้างเป็นแร่ที่มีน้ำในโครงสร้างเรียกว่า retrograde skarn และเกิดเป็นสายแร่ควอตซ์-คาร์บอเนต ซึ่งทำให้เกิดการสะสมตัวของแร่ทองคำ เป็นแหล่งแร่ทองคำปฐมภูมิ และในช่วงหลังการเกิดแร่ทองคำ เกิดการกระบวนการ silicification ในหินไรโอริติกลาพิลลีทัฟ ทำให้เกิด เปลี่ยนสภาพแบบ silicified ในหินไรโอริติกลาพิลลีทัฟ หลังจากนั้นมีพนังหินทราชิติกแอนดิไซต์แทรกตัด เข้าไปในไมโครไดออไรต์ ต่อมาเกิดการผุพังของหินและสายแร่ แล้วพัดพา หินและแร่ทองคำไปสะสมเป็น ตะกอนเชิงเขาที่ยังไม่แข็งตัว เกิดเป็นแหล่งแร่ทุติยภูมิแบบลานแร่ ซึ่งปัจจุบันมีการทำเหมืองบริเวณนั้น
Other Abstract: Khao pha nom pha is a mountain in amphoe Wang Saiphun, Changwat Phichit, Thailand (1 km2). that have a gold panning and gold dredging. It causes to interest the source of gold. The purposes of this project are detailed geological survey in field area and petrography. In this study has collected 105 rock sample and select to make thin section 41 pieces Khao pha nom pha consists of igneous rock, plutonic rock and pyroclastic rock. Pyroclastic rock have intruded by plutonic rock in latest Permian.Almost of igneous rock is andesitic lapilli tuff that have trending in NW, dipping in 40๐,thickness least 350 m and covered by rhyolitic lapilli tuff. rhyolitic lapilli tuff are NE of Khao pha nom pha and all of Khao nong kham. rhyolitic lapilli tuff have thickness about 400 m that have intrude by micro diorite around North of Khao pha nom pha(10,000 km2),around SE of Khao pha nom pha(40,000 km2) and center of Khao pha nom pha that have trending in E-W(20 m x 300 m ). Microdiorite have intruded by trachitic andesite that have trending in N-S(1.5 X 10 m).Metamophhic rock consist calsilcate and skarnoid. Calc- silicate are founded in SE of Khao pha nom pha around contact between andesitic lapilli tuff and micro diorite(least 50 cm). Skarnoid common founded around andesitic tuff and microdiorite at rim of quartz-carbonate veins and founded double of vein’s size into host rock. Altered rock consist of retrograde skarn that found in andesitic lapilli tuff and micro-diorite which alteration from skarnoid caused by meteoric water process.Silicified rock founded around Khao nong kham and NE of Khao pha nom pha. Quatz-cabonate veins are found 0.5-50 cm around the center of Khao pha nom pha in NE trending, steep dipping. Unconsolidated sediment founded around Khao nom pha and Khao nong kham. The characteristic in petrography that have 1) Andesitic lapilli tuffs have black-green color, porphylitic texture, flow texture. Phenocryst in andesitic lapilli tuffs are andesite, rhyolite rock fragment, quartz, plagioclase, honblend and groundmass are volcanic glass. Microlite consist of chlorite and albite. 2) Rhyolitic lapilli tuffs have white gray color, porphylitic texture, flow texture. Phenocryst in rhyolitic lapilli tuffs are rhyolite rock fragment, quartz, plagioclase, Kfeldspar and groundmass are volcanic glass. Almost of microlite is quartz. 3) Micro diorite have black color, holocrystalline texture, intergranular texture. Mineral composition in micro diorite consist of opaque, plagioclase, K-feldspar, Chlorite, Quartz and Actinolite. 4) Trachitic andesite have white color, porphylitic texture, flow texture and trachitic texture. Phenocryst are rhyolite rock fragment, quartz, plagioclase-feldspar and groundmass are volcanic glass. Almost of microlite is quartz.5) Veins have 6 type collated by timing;1.quartz-chlorite-pyroxene-opaque veins 2.quartz-pyroxene veins 3.quartz veins 4.quartz-pyroxene-opaque veins 5.quartz-calciteactinolite- opaque veins(gold occurrence) and6.quartz-calcite-actinolite-pyroxene-epidote veins (gold occurrence) Gold mineralizations at the Khao Pha Nom Pha are epithermal and low sulphidation. Host rock in this area is andesitic volcaniclastic rocks that have cal-silicate alteration and characterised by multiple hydrothermal alteration assemblages and quartz-carbonate (chloriteactinolite- epidote) replacements, veins and breccias. The geology of Khoa Pha-Nom-Pha have pyroclastic rock that have the age about 250±6Ma (Latest permain). Stratigraphy of pyroclastic rocks in this area have andesitic lapilli tuff and rhyolitic tuff from oldest to youngest.Then andesitic lapilli tuff intruded by micro diorite cause some alteration to calc-silicate and cause andesitic lapilli tuff and micro diorite fracture. After that in hydrothermal processing, hydrothermal fluids leak through the fracture and became quartz veins in andesitic lapilli tuff and micro diorite. Causing skarnoid (garnet pyroxene) and retrograde skarn alteration that related to high grade gold area and primary gold deposite in quartz-carbonate veins In the late stage of hydrothermal process made silicified alteration in rhyolitc lapilli tuff. Then micro diorite intruded by trachitic andesite dyke. Eroded and wheathered process in rock and ore veins, transported and deposited in east of khao-phanom pha(placer deposit).The age of first deposit of Gold deposit is in Permo-Triassic and the age of second deposit of Gold deposit is in Triassic.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2552
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55782
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peeranat_Full Report.pdf15.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.