Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5593
Title: การดูดซับโลหะหนักบางชนิดจากน้ำเสียด้วยดินเบา
Other Titles: Adsorption of some heavy metals from waste water by diatomaceous earth
Authors: ชฎาภรณ์ บุญแท้
Advisors: สมใจ เพ็งปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Somchai.Pe@Chula.ac.th
Subjects: การดูดซับ
โลหะหนัก
ดินเบา
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับ แคดเมียม (ประจุ+2) โครเมียม (ประจุ+3) และอาร์เซนิค (ประจุ+5) จากน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยดินเบา ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความเข้มข้นของสารละลายโลหะหนัก ปริมาณดินเบา ค่าพีเอชของสารละลายและช่วงเวลาสัมผัส มีผลต่อประสิทธิภาพในการดูดซับ จากการศึกษาพบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับแคดเมียมคือ ความเข้มข้นของแคดเมียมเท่ากับ 40 มก. ต่อลิตร ใช้ดินเบาปริมาณ 2.0 ก. ค่าพีเอชของสารละลายเท่ากับ 5 เขย่าด้วยความเร็ว 100 รอบต่อนาที และช่วงเวลาสัมผัส 10 ชั่วโมง โดยประสิทธิภาพในการกำจัดเท่ากับ 99.92% สำหรับการดูดซับโครเมียมสภาวะที่เหมาะสม คือ ความเข้มข้นของโครเมียม เท่ากับ 40 มก.ต่อลิตร ใช้ดินเบาปริมาณ 1.0 ก. กับค่าพีเอชของสารละลายเท่ากับ 4 เขย่าด้วยความเร็ว 100 รอบต่อนาที และช่วงเวลาสัมผัส 10 ชั่วโมง โดยประสิทธิภาพในการกำจัดเท่ากับ 98.82% จากการศึกษาพบว่าดินเบาไม่เหมาะสม ที่จะใช้ในการดูดซับอาร์เซนิคในช่วงความเข้มข้นที่ศึกษา แต่สามารถดูดซับได้ดีเมื่อนำดินเบาไปเผาที่อุณหภูมิ 800ํC เป็นเวลา 6 ชั่วโมงมาใช้ในการดูดซับ พบว่าสามารถใช้กำจัดอาร์เซนิคได้ดี โดยสภาวะที่เหมาะสมคือ ความเข้มข้นของอาร์เซนิค เท่ากับ 40 มก. ต่อลิตร ใช้ดินเบาเผาปริมาณ 1.0 ก. กับค่าพีเอชของสารละลายเท่ากับ 4 เขย่าด้วยอัตราเร็ว 100 รอบต่อนาที และช่วงเวลาสัมผัสเท่ากับ 6 ชั่วโมง ซึ่งให้ประสิทธิภาพในการกำจัดสูงถึง 99.96% ผลการทดสอบไอโซเทอมการดูดซับพบว่า การดูดซับแคดเมียมด้วยดินเบานั้นสัมพันธ์กับ สมการไอโซเทอมการดูดซับของฟรุนดลิช การดูดซับโครเมียมด้วยดินเบานั้น ไม่เป็นไปตามสมการไอโซเทอมของการดูดซับ เนื่องจากประสิทธิภาพในการกำจัดโครเมียมด้วยดินเบานั้น เกิดจากการตกตะกอนเป็นส่วนใหญ่ และการดูดซับอาร์เซนิคด้วยดินเบาเผานั้น สัมพันธ์กับสมการไอโซเทอมการดูดซับของแลงมัวร์ ผลการทดสอบการคายออกจากผิวของโลหะหนักทั้ง 3 ชนิด โดยวิธี Leaching test พบว่า ปริมาณแคดเมียมและโครเมียม มีการชะละลายออกมาไม่เกินค่ามาตรฐานที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนด แต่ปริมาณอาร์เซนิคที่ชะละลายออกมามีค่าสูงเกินกว่าค่ามาตรฐาน ผลการกำจัดโครเมียม อาร์เซนิคและตะกั่วในน้ำเสียจากโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งมีความเข้มข้นเท่ากับ 0.23 0.42 และ 5.89 มก. ต่อลิตร ตามลำดับ พบว่าดินเบามีประสิทธิภาพในการกำจัดได้มากกว่า 99%
Other Abstract: The adsorption ability of cadmium (II), chromium (III) and arsenic (V) from synthetic wastewater by diatomaceous earth was studied in a batch experiment. The results indicated that concentration of heavy metal, amount of diatomaceous earth, pH and contact time affected the heavy metal removal efficiency. The appropriate conditions for this study were as follow : for cadmium, 40 ppm. of Cd at pH 5, 2.0 grams of diatomaceous earth, 100 rpm. of shaking rate and contact time for 10 hours., and for chromium, 40 ppm. of Cr at pH 4, 1.0 gram of diatomaceous earth, 100 rpm. of shaking rate and contact time for 10 hours. As the results, the removal efficiency was 99.92% and 99.82%, respectively. For arsenic, the calcined diatomaceous earth was used, and the condition was as follow : 40 ppm. of As at pH 4, 1.0 gram of calcined diatomaceous earth, 100 rpm. of shaking rate and contact time for 6 hours. The result showed that the removal efficiency was 99.96% The adsorption isotherm of cadmium can be described by the Freundlich isotherm. For chromium, the equilibrium was not followed the adsorption isotherm because the removal of chromium is based on the precipitation, and for arsenic, the adsorption isotherm could be described by the Langmuir isotherm. The results from leaching test showed that concentration of cadmium and chromium in the solution were less than those value of the Ministry of Industry's standard but concentration of arsenic in the solution was higher than the standard. In the case of battery factory's wastewater containing chromium, arsenic and lead at 0.23, 0.42 and 5.89 ppm., respectively, more than 99% of all heavy metals could be removed by diatomaceous earth.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5593
ISBN: 9741729634
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chadaporn.pdf846.02 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.