Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55933
Title: | เภสัชจลนศาสตร์ประชากรของยาวัลโปรอิกแอซิดในผู้ป่วยโรคลมชัก ณ สถาบันประสาทวิทยา |
Other Titles: | Population pharmacokinetics of valproic acid in epileptic patients at prasat neurological instisute |
Authors: | วีณารัตน์ เสนาวิน |
Advisors: | ธิติมา วัฒนวิจิตรกุล สมชาย โตวณะบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thitima.W@pharm.chula.ac.th No information provided |
Subjects: | Valproic acid -- Pharmacokinetics Pharmacokinetics Epilepsy -- Treatment กรดวาลโปรอิก -- เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชจลนศาสตร์ ลมบ้าหมู -- การรักษา |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ภูมิหลัง วัลโปรอิกแอซิดเป็นยากันชักที่มีช่วงการรักษาแคบ ลักษณะทางเภสัชจลนศาสตร์มีความแตกต่างระหว่างบุคคลสูง การทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อเภสัชจลนศาสตร์ของยาจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับขนาดยา วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแบบจำลองเภสัชจลนศาสตร์ประชากรของวัลโปรอิกแอซิด หาค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ประชากร และหาปัจจัยที่มีผลต่อค่าพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ของวัลโปรอิกแอซิดในผู้ป่วยโรคลมชัก วิธีการศึกษา เภสัชจลนศาสตร์ประชากรของยาวัลโปรอิกแอซิด จากข้อมูลระดับยาในเลือดที่ได้จากการปฏิบัติงานประจำ 215 ตัวอย่าง ของผู้ป่วยโรคลมชัก แผนกผู้ป่วยนอกประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยา ที่ได้รับยาวัลโปรอิกแอซิดชนิดรับประทาน จำนวน 136 ราย วิเคราะห์แบบจำลองด้วยวิธี nonlinear mixed effects modelingโดยใช้โปรแกรม NONMEM ลักษณะทางเภสัชจลนศาสตร์ประชากรของยาวัลโปรอิกแอซิดอธิบายด้วยแบบจำลองชนิดหนึ่งห้อง ที่มีการดูดซึมยาและกำจัดยาแปรผันตรงกับความเข้มข้นของยา ประมาณค่าพารามิเตอร์ ด้วยวิธี first-order conditional estimation method with interaction (FOCEI) ความผันแปรระหว่างบุคคล และความผันแปรจากสาเหตุอื่นอธิบายด้วยแบบจำลอง proportional model ปัจจัยที่มีผลต่อค่าพารามิเตอร์วิเคราะห์ด้วยวิธี stepwise forward addition และ stepwise backward elimination และทดสอบความถูกต้องของแบบจำลองด้วยวิธี bootstrap จากการสุ่มตัวอย่าง1,000 กลุ่ม ผลการศึกษา อัตราการกำจัดยาวัลโปรอิกแอซิด มีค่าเท่ากับ 0.679 ลิตร/ชั่วโมง ปริมาตรการกระจายยา มีค่าเท่ากับ 19.1 ลิตร ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการกำจัดยาวัลโปรอิกแอซิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ขนาดยา วัลโปรอิกแอซิดต่อวัน (DOSE) การใช้ยาเฟนิทอยน์ร่วมด้วย (PHT) และน้ำหนัก (BW) ดังสมการ CL/F (ลิตร/ชั่วโมง) = 0.585 × [1+0.000362(DOSE-1,000)] × [1+0.379(PHT)] × [1+0.00798(BW-61.9)] ค่าความผันแปรระหว่างบุคคลของอัตราการกำจัดยาเท่ากับร้อยละ 16.46 และความผันแปรจากสาเหตุอื่นเท่ากับร้อยละ 28.05 พารามิเตอร์มีค่าใกล้เคียงกับพารามิเตอร์จาก bootstrap และอยู่ในช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 สรุปผล ลักษณะทางเภสัชจลนศาสตร์ประชากรของยาวัลโปรอิกแอซิดจากข้อมูลผู้ป่วยที่ได้จากการปฏิบัติงานประจำ สามารถอธิบายได้ด้วยแบบจำลองชนิดหนึ่งห้อง มีการดูดซึมยาและกำจัดยาแปรผันตรงกับความเข้มข้นของยา ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการกำจัดยาวัลโปรอิกแอซิด ได้แก่ ขนาดยาวัลโปรอิกแอซิดต่อวัน การใช้ยา เฟนิทอยน์ร่วมด้วย และน้ำหนัก |
Other Abstract: | Background Valproic acid (VPA) is an antiepileptic drug with narrow therapeutic range. There is significant interindividual variability in the pharmacokinetics of VPA. Identification of factors affecting VPA pharmacokinetics would enable dose optimization. Objectives To develop a population pharmacokinetic model of VPA, to estimate pharmacokinetic parameters and to identify factors influencing VPA pharmacokinetic parameters in epileptic patients. Methods Population pharmacokinetic analysis was performed using 215 clinically routine VPA concentrations of 136 epileptic outpatients receiving oral VPA at Prasat Neurological Institute. The data were analyzed using the nonlinear mixed effects modeling approach by NONMEM software. VPA pharmacokinetics was best described by one compartment model with first order absorption and elimination. First-order conditional estimation method with interaction (FOCEI) was used for parameter estimation. Interindividual variability and residual variability were estimated using proportional model. Covariate models were built using stepwise forward addition and stepwise backward elimination. Model validation was performed using the 1,000 bootstrap runs Results The apparent oral clearance (CL/F) of VPA was 0.679 L/hr, apparent volume of distribution was 19.1 L. Significant covariates on CL/F were the daily dose of VPA (DOSE), co-administered phenytoin (PHT) and body weight (BW) as shown in the following equation: CL/F (L/hr) = 0.585×[1+0.000362(DOSE-1,000)]× [1+0.379(PHT)]×[1+0.00798(BW-61.9)]. The interindividual variability in CL/F was 16.46% and residual variability was 28.05%. The estimates of all parameter were comparable to parameters from bootstrap analysis. The 95% CI of all parameters were similar to the range obtained from the bootstrap approach Conclusions: VPA pharmacokinetics from routine clinical data was best described by one compartment model with first order absorption and elimination. The daily dose of VPA, co-administered phenytoin and body weight were significantly covariates influencing CL/F of VPA |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชกรรมคลินิก |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55933 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1882 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1882 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Weenarat_Se.pdf | 2.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.