Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55954
Title: | การเปรียบเทียบความสามารถในการทำงานของร่างกายตามกรรมวิธีพีดับบลิวซี 170 ในช่วงเวลาต่างกัน ภายหลังรับประทานอาหารต่างชนิดกัน |
Other Titles: | Comparison of physical working capacity through PWC 170 at different time intervals after having different kinds of food |
Authors: | สุพจน์ ศิลารัตนชัย |
Advisors: | วิชิต คนึงสุขเกษม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Vijit.k@chula.ac.th |
Subjects: | สมรรถภาพทางกาย -- การทดสอบ การฝึกแบบต่อเนื่อง (การออกกำลังกาย) อาหาร การกำหนดอาหาร Physical fitness -- Testing Continuous training (Exercise) Food Diet |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการทำงานของร่างกายในช่วงเวลา 1, 2, 3 และ 4 ชั่วโมง ภายหลังรับประทานอาหารธรรมดา อาหารย่อยง่าย และอาหารเหลว โดยใช้ผู้รับการทดลองอาสาสมัครเป็นนักกีฬาชาย โรงเรียนนายายอามพิทยาคม จังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีสมรรกภาพร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง จำนวน 12 คน มีอายุเฉลี่ย 15.34 ปี น้ำหนักตัวเฉลี่ย 55.58 กิโลกรัม และส่วนสูงเฉลี่ย 167.08 เซนติเมตรโดยแบ่งกลุ่มผู้รับการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 4 คน มาถีบจักรยานวัดงานเพื่อวัดปริมาณงานที่ร่างกายสามารถทำได้ตามกรรมวิธีพีดับบลิวซี 170 โดยกำหนดให้ตั้งน้ำหนักถ่วงเริ่มต้นเท่ากับ 70% ของปริมาณงานที่ร่างกายสามารถทำได้ตามกรรมวิธีพีดับบลิวซี 170 ที่ได้จากการทดลองเบื้องต้นของแต่ละคน แล้วเพิ่มขี้น 25 วัตต์ ทุก ๆ 2 นาที จนครบ 6 นาที การทอลองครั้งนี้กระทำภายในห้องทดลองที่มีอุณหภูมิ 25 ± 2 องศาเซลเชียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 ± 5% ภายหลังรับประทานอาหารเช้า แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วจึงทำการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ซึ่งถ้าพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ความสามารถในการทำงานของร่างกาภายช่วงเวลา 1, 2, 3 และ 4 ชั่วโมง ภายหลังรับประทานอาหารชนิดเดียวกัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการทำงานของร่างกายภายหลังรับประทานอาหารต่างชนิดกันปรากฏว่า ค่ามัชฌิมเลขคณิตของความสามารถในการทำงานของร่างกาย ภายหลังรับประทานอาหางเหลว มีค่าสูงกว่าอาหารธรรมดาและอาหารย่อยง่ายอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่ความสามารถในการทำงานของร่างกาย ภายหลังรับประทานอาหารธรรมดา ไม่แตกต่างกันกับความสามารถในการทำงานของร่างกายภายหลังรับประทานอาหารย่อยง่าย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ช่วงเวลาและชนิดของอาหารไม่มีอิทธิพลร่วมกันต่อผลของความสามารถในการทำงานของร่างกาย |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study and to compare physical working capacity at 1, 2, 3, and 4 hours intervals after having general diet, soft diet and liquid diet. The subjects were twelve healthy volunteered males from Nayai-armpittayakom School, Chantaburi whose average ages were 15.34 years, weights were 55.58 kilograms and heights were 167.08 centimeters, respectively and which were devided 3 groups with 4 persons. Prior to the experiment, subjects pedalled on the Monark bicycle ergometer for testing the physical working capacity 170. The first load was at 70 % of maximum work from the first PWC 170 test of each subject, the increased 25 watts for every 2 minutes. This testing was done after the breakfast meal in the room that temperature was kept constantly at 25 ± 2 ℃ with 70 ± 5 % humidity. The data were analyzed in terms of means, standard deviation, two-ways analysis of variance and Scheffe test. It was found that: 1. There were no significant differences among the physical working capacity at 1, 2, 3, and 4 hours after having same kinds of food at the .05 level. 2. The comparison of means average of the physical working capacity after having different kinds of food showed that the means average of the physical working capacity after having liquid diet was higher than the means average of the physical working capacity after having general diet and the means average of the physical working capacity after having soft diet at the significant difference of .05 level but there was no significant difference between the physical working capacity after having general diet and after having soft diet at the .05 level. 3. There were no interactions between time intervals and kinds of food for the physical working capacity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55954 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supot_si_front.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supot_si_ch1.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Supot_si_ch2.pdf | 848.51 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supot_si_ch3.pdf | 584.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supot_si_ch4.pdf | 723.4 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supot_si_ch5.pdf | 713.83 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Supot_si_back.pdf | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.