Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55956
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมิตรา อังวัฒนกุล-
dc.contributor.authorสุพรรณี ลือเกียรติไพศาล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2017-11-17T02:47:31Z-
dc.date.available2017-11-17T02:47:31Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55956-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ในด้านการใช้วิธีการควบคุมและตรวจสอบการใช้ภาษา วิธีการทางความรู้ ความคิด และวิธีการเพื่อการสื่อความหมาย และเพื่อเปรียบเทียบกระบวนการเขียนภาษาอังกฤษระหว่างนักศึกษาที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสูงและต่ำ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2532 ซึ่งผู้วิจัยสุ่มมาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายชั้น จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาลและเอกชนมาจำนวน 7 สถาบัน ได้กลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งหมด 991 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ฉบับ คือ แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาอังกฤษและแบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการเขียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้รีบการตรวจสอบด้านความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่าน ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .88 และแบบสอบสวนที่เป็นข้อสอบแบบปรนัยซึ่งมีค่าระดับความยากเท่ากับ .33 - .76 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ .21 - .58 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .79 และข้อสอบแบบอัตนัยซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เลือกไว้ คัดเลือกเฉพาะแบบสอบชุดที่มีความสมบูรณ์ทั้งส่วนที่เป็นแบบสอบถามและแบบสอบ ได้จำนวนทั้งสิ้น 700 ชุด นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าร้อยละ ค่ามัชณิมเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในขณะเดียวกันผู้วิจัยแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสูงและต่ำจากนักศึกษาที่ได้คะแนนสูง 25% จำนวน 175 คน และนักศึกษาที่ได้คะแนนต่ำ 25% จำนวน 175 คน และทำการเปรียบเทียบกระบวนการเขียนภาษาอังกฤษระหว่างนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสูงและต่ำโดยการหาค่าอัตราส่วนวิกฤติ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครนำกระบวนการเขียนมาปฏิบัติปานกลางทุกวิธี และเมื่อทำการเปรียบเทียบกระบวนการเขียนภาษาอังกฤษระหว่างนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสูงและต่ำ พบว่า นักศึกษาทั้งสองกลุ่มนำกระบวนการเขียนทุกวิธีมาปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study English writing process of students in higher education institutions in Bangkok Metropolis in the aspects of the metacognitive, cognitive and communication strategy use and to compare the English writing process between high and low English writing achievers. The sample of the research were 991 first year students studying in the second semester of the academic year 1989 from 7 public and private higher education institutions under the jurisdiction of the Ministry of University process of multi-stage sampling. The instruments used in the research were the researcher-constructed English Writing Achievement Test and English Writing Process Questionnaire which had been examined the content validity by 7 experts. The questionnaire (r = .88), the objective test (r = .79, P = .33 - .76 and D = .21 - .58) and the subjective test (r = .84) were administered to test the sample. The scores from 700 selected sets of perfect test and questionnaire were analyzed by means of percentage, arithmetic mean and standard deviation. Simultaneously, the researcher devided the sample into high and low English writing achievers. The number of students in the group of 25% high was 175 and the number of those of 25% low was 175. The collected data were compared by t-test. It was found that students in higher education institutions in Bangkok Metropolis used English writing process in all aspects at the moderate level. In comparing the English writing process between high and low English groups in using English writing achievers, it was found that there were differences between the two groups in using English writing Process in all aspects at the .05 level of significance which retained the research hypothesis.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การเขียนen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การเขียน -- การประเมินen_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การเขียน -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)en_US
dc.subjectภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)en_US
dc.subjectนักเรียน -- การประเมินศักยภาพen_US
dc.subjectEnglish language -- Writingen_US
dc.subjectEnglish language -- Writing -- Evaluationen_US
dc.subjectEnglish language -- Writing -- Study and teaching (Higher)en_US
dc.subjectEnglish language -- Study and teaching (Higher)en_US
dc.subjectStudents -- Rating ofen_US
dc.titleการเปรียบเทียบกระบวนการเขียนภาษาอังกฤษตามการรับรู้ของนักศึกษา ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสูงและต่ำในสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeComparison of English writing process as perceived by high and low English writing achievers in higher education institutions, Bangkok Methropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSumitra.A@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suphannee_lu_front.pdf845.64 kBAdobe PDFView/Open
Suphannee_lu_ch1.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Suphannee_lu_ch2.pdf6.86 MBAdobe PDFView/Open
Suphannee_lu_ch3.pdf960.11 kBAdobe PDFView/Open
Suphannee_lu_ch4.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Suphannee_lu_ch5.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Suphannee_lu_back.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.