Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56000
Title: | การกำจัดสารหนูในน้ำด้วยกระบวนการตกตะกอน |
Other Titles: | Removal of arsenic in water by coagulation process |
Authors: | สิริวรรณ จันทนจุลกะ |
Advisors: | ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ นันทนา สันตติวุฒิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การกำจัดสารหนู น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การรวมตะกอน Water -- Purification Water -- Purification -- Arsenic removal Water -- Purification -- Coagulation |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการกำจัดสารหนูในน้ำด้วยการตกตะกอน ทดลองในห้องปฏิบัติการ ปัจจัยที่ศึกษา ได้แก่ พีเอช ชนิดและปริมาณของโคแอกกูแลนด์ ชนิดและปริมาณสารหนูที่ปนเปื้อนและประสิทธิภาพของคลอรีน โคแอกกูแลนต์ที่ศึกษา 3 ชนิด ได้แก่ สารส้ม เฟอร์ริคคลอไรด์ และเฟอร์ริคซัลเฟต ปริมาณโคแอกกูแลนต์ 20-40 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตรพีเอชในช่วง 6.5 -8.5 รูปของสารหนูที่กำจัดได้แก่ อาร์เซไนต์ และอาร์เซเนต และการเพิ่มประสิทธิภาพ การตกตะกอน ด้วยการออกซิไดส์ด้วยคลอรีน หลักการสำคัญที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ การตกตะกอน โดยใช้เครื่องจาร์เทสต์ และการตรวจวิเคราะห์สารหนูด้วยวิธี Silver diethydithiocarbamate โดยใช้เครื่องสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ วัดที่ความยาวคลื่น 535 นาโนเมตร ผลการศึกษาพบว่า เฟอร์ริคซัลเฟตมีประสิทธิภาพ ในการกำจัดอาร์เซไนต์ในน้ำสังเคราะห์ได้ดีที่สุด และกำจัดสารหนูในน้ำธรรมชาติได้จนมีปริมาณต่ำกว่า 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร ตามเกณฑ์คุณภาพน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก สารส้มจะกำจัดอาร์เซเนตในน้ำสังเคราะห์ได้ดี ส่วนเฟอร์ริคคลอไรด์กำจัดอาร์เซไนต์ได้ดีกว่าเซเนต แต่ยังคงมีสารหนูคงเหลือมากกว่า 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร สำหรับการตกตะกอนด้วยสารส้ม และเฟอร์ริคคลอไรด์ในช่วงพีเอชที่ศึกษา สามารถกำจัดสารหนูได้ไม่แตกต่างกัน และการเติมคลอรีนก่อนตกตะกอนด้วยโคแอกกูแลนต์ทั้ง 3 ชนิด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดสารหนูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ α = 0.05 (p < 0.05) |
Other Abstract: | The objective of this study was subjected to some parameters affected arsenic removing in form of arsenite and arsenate by coagulation process. The studied parameters were pH, type and guantity of coagulants, forms of arsenic as well as efficiency of chlorine. The selected pH was limited at 6.5 to 8.5. The range of 20 to 40 mg/l. was applied to all three coagulants, alum, ferric chloride and ferric sulphate. The study was carried out by means of laboratory jar-test then followed by spectrophotometric method for analysis of arsenic by silver diethyldithiocarbamate measured at 535 nm. It was found that ferric sulphate was the mast effective coagulant to remove arsenite in synthetic water at pH 6.5-8.0. And in natural water ferric sulphate could reduce arsenic to less than 0.058 mg/l. Alum could remove arsenate in synthetic water samples where as ferric chloride had a better efficiency of removing arsenite than arsenate but the residual was still higher than the Who guide-line value (0.05 mg/l) The efficiency of arsenic removal by alum and ferric chloride at pH6.5-8.5 had no significant difference (=0.05). However, oxidation with chlorine followed by coagulation process yielded remarkable results for arsenic removal with statistical significance at α =0.05. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56000 |
ISBN: | 9745782203 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siriwan_ch_front.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriwan_ch_ch1.pdf | 515.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriwan_ch_ch2.pdf | 3.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriwan_ch_ch3.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriwan_ch_ch4.pdf | 4.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriwan_ch_ch5.pdf | 811.01 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Siriwan_ch_back.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.