Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56027
Title: การปิดเหมืองแร่และผลกระทบต่อการใช้ที่ดินและเศรษฐกิจของจังหวัดระนอง
Other Titles: Adverse effects of mine closure on land use and economy in ranong province
Authors: สุพัฒน์ นพรัตน์
Advisors: นิพันธ์ วิเชียรน้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การปิดเหมืองแร่ -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทย -- ระนอง
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- ระนอง
Mine closures -- Economic aspects -- Thailand -- Ranong
Land use -- Thailand -- Ranong
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลกระทบของการปิดเหมืองแร่ในจังหวัดระนอง ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของจังหวัดระนอง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด รายได้ต่อบุคคลของจังหวัด และเพื่อศึกษาผลกระทบของการปิดเหมืองแร่ที่มีต่อการใช้ที่ดินของจังหวัด ในการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้วิธีการวิจัย คือ การวิเคราะห์ระดับความชำนาญในภาค (Location quotient) การวิเคราะห์ส่วนแบ่งและส่วนแปรเปลี่ยน (Shift-Share analysis) และอัตรามูลค่าเพิ่ม (Value Added Ratios) ผลการวิจัยพบว่าการปิดเหมืองแร่ของจังหวัดระนองมีผลกระทบต่อการใช้ที่ดิน กล่าวคือ ในด้านลบเกิดพื้นที่รกร้างว่างเปล่าเพิ่มขึ้น ส่วนในด้านบวก คือ เกิดการชะลดตัวของการใช้ทรัพยากรแร่ของจังหวัดระนอง และการพังทลายของดินลดลง สำหรับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจนั้น ในด้านลบมีส่วนทำให้มูลค่าผลิตภัณฑ์ของจังหวัดลดลง เกิดภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจในจังหวัด ในด้านบวกเกิดการขยายตัวในสาขาการผลิตอื่น ๆ ของจังหวัดโดยเฉพาะสาขาที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการทำเหมือง เช่น การประมงและการกสิกรรม โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ อำเภอเมืองระนอง ผลจากการวิจัยได้เสนอแนะแนวนโยบาย แนวทางการพัฒนาและมาตรการในการลดผลแระทบรวมทั้งได้เสนอพื้นที่ที่จะทำเหมืองแร่ในอนาคต
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the effeet of mine closing in Ranong Province on economic system and land use. Location quotient, Shift- Share analysis and valued added ratios are used for the analysis. The mine closure is influenced on land use and economic system in both negative and positive ways. For the land use, the positive way is disminishing of using raw material and soil erosion but the negative way is increasing of waste land. For the economic system, the positive way is the expansion of other kind of product in this province is farming, fishery and others. The most influenced area is Amphur Muang. Use can be made by other research of the methods and analysis and likely policies suggested in this research.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56027
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supat_no_front.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Supat_no_ch1.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Supat_no_ch2.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
Supat_no_ch3.pdf12.52 MBAdobe PDFView/Open
Supat_no_ch4.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open
Supat_no_ch5.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open
Supat_no_back.pdf740.98 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.