Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56045
Title: การพัฒนาแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2554-2559
Other Titles: Development of the strategic planning for education technology and communication of the Faculty Of Education Chulalongkorn University in B.E. 2554-2559
Authors: เฉลิมรัฐ นาควิเชียร
Advisors: สุกรี รอดโพธิ์ทอง
สุชาติ ตันธนะเดชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sugree.R@chula.ac.th
Suchart.T@Chula.ac.th
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
การวางแผนเชิงกลยุทธ์
เทคโนโลยีสารสนเทศ -- การจัดการ
เทคโนโลยีทางการศึกษา -- การจัดการ
Chulalongkorn University. Faculty Of Education
Strategic planning
Information technology -- Management
Educational technology -- Management
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของคณะครุ ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) ศึกษาเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันกับภาพที่พึงประสงค์ ด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2554-2559 3) วิเคราะห์ประเด็นการพัฒนาแผนกลยุทธ์ ด้านเทคโนโลยี และสื่อสารการศึกษาของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2554-2559 4) พัฒนาและนำเสนอแผนกลยุทธ์ ด้าน เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2554-2559 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เป็นผู้บริหาร อาจารย์ และ เจ้าหน้าที่ ของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปฏิบัติงานหรือที่มีตำแหน่งหรือได้รับ มอบหมายในการทำแผนด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และ นิสิต คณะครุศาสตร์ฯ ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพ ปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของบริการด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของคณะครุศาสตร์ฯ จำนวน 339 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง แบบสังเคราะห์เอกสาร วิธีดำเนินการวิจัยคือ 1.วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาด้านทคโนโลยีสื่อสารและการศึกษา ของคณะครุศาสตร์ โดยการ วิเคราะห์แบบสำรวจและแบบสอบถาม 2) ศึกษาเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันกับภาพที่พึงประสงค์ด้านเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษาของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2554-2559 แล้วกำหนดเป็นช่องว่างอันเป็นความจำเป็นในการ พัฒนาแผลกลยุทธ์ 3) พัฒนาและตรวจสอบแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2554-2559 ผลการวิจัยพบว่า ประเด็นจุดแข็งที่มีค่าน้ำหนักคะแนนสูงสุดคือนโยบายด้านการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน แบบอีเลิรน์นิ่งมีการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประเด็นที่เป็นจุดอ่อนที่มีค่าน้ำหนักคะแนนสูงสุดคืองบประมาณการจัดจ้าง บุคลากรผู้เชี่ยวชาญพิเศษเพื่อปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีความเหมาะสม ประเด็นโอกาสที่มีค่าน้ำหนัก คะแนนสูงสุดคือ ประชาชนให้ความสำคัญกับการศึกษาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ประเด็นที่เป็นอุปสรรคที่มีค่าน้ำหนัก คะแนนสูงสุดคือปัญหาด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่มีความซับซ้อนเพิ่มสูงขึ้น จากผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบสภาพปัจจุบัน กับภาพที่พึงประสงค์ด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของคณะครุศาสตร์ฯ ผู้วิจัยได้ทางเลือกกลยุทธ์จุดแข็งและโอกาสคือ การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแบบอีเลิรน์นิ่งมีการส่งเสริมและพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับสมัยนิยมสู่มวลชน ผู้วิจัยได้ กำหนดวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2554-2559 ดังนี้ “ พัฒนาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์รองรับการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (Ubiquitous) สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Society) เป็นผู้นำทางปัญญาเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (Lifelong Learning) ” และผู้วิจัยได้ค้นพบยุทธศาสตร์ที่สามารถนำไปสู่การ ปฏิบัติได้ทั้งหมด 6 ยุทธศาสตร์ได้แก่ 1. การเตรียมการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (e-Center Learning) 2. ยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) 3. การผลิตและเสริมสร้าง ศักยภาพทรัพยากรบุคคลด้านไอซีที (e - Manpower) สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ 4. พัฒนาสื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ (e-Courseware) 5. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และการให้บริการสังคม 6. พัฒนาระบบสารสนเทศของคณะครุ ศาสตร์ฯ ไปสู่คลังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ( Web e-Knowledge Center)
Other Abstract: This research aims to 1.Examine current state of education technology and communications of the faculty of Education, Chulalongkorn University. 2.Compare current situation with the desired image on Education technology and communications of Faculty of Education, Chulalongkorn University, 2011-2016 3. Analysis of factors affecting the development of Education technology and communications’ strategies of Faculty of Education, Chulalongkorn University, 2011-2016. 4. Develope and present education technology and communications’ strategies of Faculty of Education, Chulalongkorn University, 2010-2016. Sampling selection in this research are executives, lecturers and staff of the Faculty of Education, Chulalongkorn University, that operates or assigned to work on Education technology and communications plan. And also 399 students of the faculty, who are able to provide information about current conditions and the desired model of service about Education technology and communications of the Faculty. Tools used in collecting data are questionnaire and semi-structured interviews and synthesis document. The methodologies used are 1) Analysis the current situation and problems of education technology and communications of Faculty of Education by analysis the survey result and questionnaires 2) compare the current condition with the desired image in education technology and communications of Faculty of Education, 2010-2016 and set as a gap that is needed in strategy development 3) develop and oversee the technology and communication studies strategy of the Faculty of Education, Chulalongkorn University, 2010-2016. The results show that the “strength” issue with the highest weighted score is the e-learning development policy, which is supported and improved continuously. The issues that are “weakness” which weighted the highest score are the procurement budget to hire specialists to work in communications technology and education. The issue that is “opportunity” with the highest weighted score is people focus on education through electronic channels increasingly. The “obstacle” issue that has the highest weighted score is a computer crime problem that increased complexity. From the result, I chose “Strength” and “Opportunity” which are opportunities in developing e-learning teaching media that supported and developed continuously and fit in with current trends to people. I have defined vision in technology and communication education of Faculty of Education, Chulalongkorn University, 2010-2016 as follows: "development technology and e-learning to serve studying in every place and every time (Ubiquitous). Creating “Knowledge Society”, being an intellectual for life long learning.” I have discovered 6 strategies that can lead to real practice, which are: 1. preparing the establishment of e-learning center 2. Promoting e-learning standard 3. Producing and enhancing e – Manpower to the “organization of learning” 4. Developing e-media lessons. 5. Collaborating with outside agencies and social services 6. Developing faculty’s ICT to e-Knowledge Center.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56045
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1626
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1626
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalermruth Na.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.