Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56223
Title: ปัจจัยการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินนาเกลือ จังหวัดสมุทรสงคราม
Other Titles: FACTORS EFFECTING THE CHANGE OF SALT FARM LAND-USE IN SAMUT SONGKHRAM PROVINCE
Authors: ญาณิศา อัตตรัถยา
Advisors: ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Siriwan.S@Chula.ac.th,Siriwan.S@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นาเกลือในจังหวัดสมุทรสงครามเป็นแหล่งประกอบอาชีพสืบทอดมาแต่อดีต นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่สำคัญในครัวเรือนและเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมของประเทศไทย พื้นที่นาเกลือเป็นกันชนระหว่างชุมชนกับพื้นที่ป่าชายเลนตามแนวชายฝั่งทะเล ในปัจจุบัน พื้นที่นาเกลือและจำนวนเกษตรกรนาเกลือลดน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ พื้นที่และเกษตรกรนาเกลือลดลงเกือบครึ่งหนึ่งในช่วงเวลาเพียง 6 ปีเท่านั้น (โดยใน พ.ศ. 2549 มีพื้นที่นาเกลือ 6,275 ไร่ แต่ใน พ.ศ. 2555 มีพื้นที่นาเกลือเพียง 4,163 ไร่เท่านั้น) การเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อพื้นที่ศึกษาทั้งทางกายภาพ ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของพื้นที่นาเกลือของจังหวัดสมุทรสงคราม และค้นหาปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ดำเนินการศึกษาโดยค้นคว้าข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสาร งานวิจัย สิ่งตีพิมพ์อื่นๆ ใช้การเปรียบเทียบภาพถ่ายทางอากาศในช่วงเวลาต่างๆ และการสัมภาษณ์เกษตรกรนาเกลือ ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงทิศทางของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินนาเกลือ ซึ่งมีแนวโน้มลดลง โดยมีปัจจัยทางกายภาพคือ การพัฒนาถนนสายหลักในพื้นที่นาเกลือทำให้นาเกลือลดลง เพราะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่ถนน เปลี่ยนแปลงใช้สำหรับประกอบธุรกิจด้านพานิชกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งผลผลิตเกลือขึ้นกับดินฟ้าอากาศ ทำให้ผลผลิตไม่คงที่ ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมคือ รายได้ไม่แน่นอนและพอเพียงต่อการดำรงชีพ เกษตรกรไม่มีที่นาเป็นของตนเอง ลูกหลานของเกษตรกรไม่สนใจสืบต่ออาชีพนี้ ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการใช้ที่ดินและกำหนดแนวทางการอนุรักษ์พื้นที่นาเกลือให้คงอยู่ต่อไป
Other Abstract: Salt field farming in Samut Songkhram Province is a descendant family business passed from generation to generation. It is a cultural heritage and a necessary household consumer product and raw material for the industrial sector in Thailand. The salt field farming areas serve as a barrier between the communities and mangroves alongside the coastal ecology. Currently, the areas covered by salt fields and the salt farmers tending the fields decreased significantly in the last 6 years. In 2006, there were 6,275 rais of salt fields and in 2012, there were only 4,163 rais. The objective of this research is to study at land-use change of salt fields in Samut Songkhram Province and to investigate the causes of those land-use changes. Research performed on primary information from related documents, research papers, printed documents, as well as comparative look at aerial photographs of various time, and at the same time, conducting personal interview with salt farmers themselves. The result of this study thus indicates the trend of land-use change in salt farms. The tendency is downward from physical factors based on the following: the development of new main road in salt field areas, the conversion of land use from salt farming to commercial business areas and new factories and the output of salts depending on climate which caused fluctuation in quantities. Whereas the social, economic and cultural factors involved are income instability, insufficient income for living, land ownership and descendants of family business. The final result of this research hopes to create the benefits for efficient land use planning and better guidelines for salt farms conservation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56223
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5473311025.pdf10.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.