Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56230
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
dc.contributor.authorจิรวรรณ ธำรงศรีสกุล
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2017-11-27T08:58:42Z-
dc.date.available2017-11-27T08:58:42Z-
dc.date.issued2557
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56230-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
dc.description.abstractในช่วงหลายปีที่ผ่านมาน้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภค แต่จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปัจจุบันได้เพิ่มสูงขึ้นและส่งผลกระทบในทางลบกับคุณภาพของน้ำบาดาล เนื่องจากมีลักษณะทางธรณีวิทยาและกิจกรรมของมนุษย์ เช่นการทำเหมืองแร่และชุมชนเกษตร ที่ส่งผลกระทบต่อน้ำบาดาล การศึกษานี้จึงใช้เทคนิควิเคราะห์องค์ประกอบกับอุทกธรณีเคมี เพื่อนำมาช่วยในการหาแหล่งที่มาของการปนเปื้อนในน้ำบาดาล ซึ่งการศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่คุณภาพน้ำบาดาลในพื้นที่จังหวัดพิจิตรและเพชรบูรณ์ ทั้งนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำบาดาลจำนวน 47 บ่อในช่วงเดือน พฤษภาคม 2556 (ฤดูร้อน) และ พฤศจิกายน 2556 (ฤดูฝน) โดยได้แบ่งเก็บในพื้นที่ที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาและการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกัน โดยการศึกษาครั้งนี้จะนำเทคนิคทางสถิติเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์องค์ประกอบ และช่วยจำแนกสาเหตุการปนเปื้อนคุณภาพน้ำบาดาลในพื้นที่ศึกษา ว่าเกิดจากปัจจัยทางธรรมชาติหรือเกิดจากปัจจัยพฤติกรรมของมนุษย์ โดยพบว่าในพื้นที่นี้สามารถแบ่งชั้นน้ำเป็น 3 ชั้นได้แก่ ชั้นน้ำหินร่วนและละเอียด (Qfd) ชั้นน้ำหินที่เกิดจากการผุพังและมีองค์ประกอบบางส่วนมาจากหินภูเขาไฟ (Vw) และ ชั้นน้ำหินภูเขาไฟ (,Vm) การศึกษาคุณภาพน้ำบาดาล พบมี 4 พารามิเตอร์ในบางบ่อมีค่าเกินมาตรฐานได้แก่ แมงกานีส เหล็ก นิกเกิลและ สารหนู ซึ่งธาตุเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสารประกอบที่มีอยู่ในแร่ประกอบหินอันได้แก่ Chalcopyrite (CuFeS2), Pyrite (FeS2), Arsenopyrite (FeAsS) และ Pyrolusite (MnO2) น้ำบาดาลในพื้นที่ส่วนใหญ่พบน้ำมี Ca-Mg-Na-K-HCO3 เป็นองค์ประกอบ ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจาก โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และอลูมิเนียม มีปริมาณมากจากการสลายตัวของแร่ Feldspar ที่มีการสะสมตัวอยู่ในพื้นที่ศึกษา จากการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่า ไนเตรต ฟอสเฟต และ ไซยาไนท์ มีปริมาณสูงในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรม โดยน่าจะเกิดมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เนื่องจากพื้นที่นี้มีการทำการเกษตรจำพวกข้าว และข้าวโพด ดังนั้นการปนเปื้อนน้ำบาดาลในพื้นที่จึงเกิดมาจากทั้งกิจกรรมทางธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ในพื้นที่
dc.description.abstractalternativeIn a past decade, groundwater is an important source of water. The current economic expansion has increased and in turn impacts on groundwater quality. Since there are a variety of geological features and human activities, including mining and agricultural community in this study area, the statistical technique, so-called factor analysis of hydrogeochemical parameters would be considered to address the sources of groundwater contamination. These study areas were at Phichit province and Phetchabun province, groundwater samples were collected from 47 groundwater wells in May 2013 (summer) and November 2556 (rainy) with different types of geological characteristics and land use. In this study, the factor analysis was used to determine causes of contamination of groundwater quality in the area, caused by natural factors or human behaviors. Groundwater layers in this study area were divided into three types as followings: 1) Quaternary Floodplain Deposits (Qfd), a leading stone crumbly and resolution, 2) Volcanic Weathered rocks (Vw), a leading stone caused by the decay and some elements of it from volcanic rock, and 3) Volcanic Massive rocks (Vm) ,a rock-solid floor area that meant mostly volcanic rock. The results of groundwater showed four parameters that were exceeded the groundwater standards, which were arsenic, manganese, iron and nickel. All elements were naturally contained in the mineral composition of the rock, Chalcopyrite (CuFeS2), Pyrite (FeS2), Arsenopyrite (FeAsS) and Pyrolusite (MnO2). Groundwater in the study area mostly found Ca-Mg-Na-K-HCO3 components because sodium, calcium, magnesium, potassium and aluminum were dissolved from natural feldspar mineral. This study also investigated that nitrate, phosphate and cyanite high in community areas and agricultural areas. As a result, there were likely caused by human activities because these areas were agricultural areas such as rice and corn fields. This study can conclude that contaminated groundwater was caused by both natural (geological characteristics) and human activitiesin the area.
dc.language.isoth
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.titleปัจจัยของธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ที่มีผลต่อคุณภาพน้ำบาดาล ในพื้นที่อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตรและอำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์
dc.title.alternativeNatural and anthropogenic factors affecting the groundwater quality at Thap Khlo District Phichit Province and Wang Pong District, Phetchabun Province
dc.typeThesis
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisorSrilert.C@Chula.ac.th,csrilert@gmail.com
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487116320.pdf12.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.