Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56236
Title: การสร้างสคริปต์แบบวิชวลสำหรับสคริปต์ทาสก์ของแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็น
Other Titles: VISUAL SCRIPTING FOR SCRIPT TASKS OF BPMN MODELS
Authors: เจษฎา วิริยะกุล
Advisors: ทวิตีย์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Twittie.S@Chula.ac.th,twittie.s@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการสร้างสคริปต์สำหรับสคริปต์ทาสก์ของแบบจำลองกระบวนการทางธุรกิจและสัญลักษณ์หรือแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็น ซึ่งการเขียนสคริปต์โดยปกติทำผ่านโปรแกรมแก้ไขข้อความแบบธรรมดาที่ไม่มีส่วนช่วยเหลือใด ๆ ในการเขียนโค้ดซึ่งทำให้ยากต่อผู้ใช้ร่วมกับการแก้ปัญหาการขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งของแบบจำลองกระบวนการทางธุรกิจจากการที่สคริปต์อยู่ในรูปแบบภาษาเฉพาะภาษาใดภาษาหนึ่ง แนวทางที่ใช้แก้ปัญหาคือการใช้ส่วนต่อประสานในการเขียนโปรแกรมสคริปต์ในรูปแบบวิชวล ซึ่งครอบคลุมความหมายการกระทำการซึ่งพบในภาษาสคริปต์โดยทั่วไป และสามารถสร้างสคริปต์ในภาษาต่าง ๆ ที่นำไปใช้กระทำการได้ ผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยนี้คือชุดของเครื่องมือซึ่งประกอบด้วย 1) ภาษาสคริปต์ในรูปแบบเอกซ์เอ็มแอลที่ชื่อว่าเอกซ์บีพีสคริปต์ซึ่งไม่ขึ้นกับภาษาสคริปต์ที่ใช้กระทำการได้ใด ๆ 2) โปรแกรมแก้ไขสคริปต์แบบวิชวลโดยใช้การลากต่อบล็อกของบล็อกลี และ 3) โปรแกรมสร้างสคริปต์ที่ใช้กระทำการได้จากเอกซ์บีพีสคริปต์โดยอาศัยเทมเพลตของภาษาสคริปต์ต่าง ๆ ในการประเมินผลชุดเครื่องมือว่าสามารถใช้งานได้จริง ผู้วิจัยได้บูรณาการชุดเครื่องมือเข้ากับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซสำหรับจัดการกระบวนการทางธุรกิจที่ชื่อว่าแอกทิวิติเอกซ์พลอเรอร์ เพื่อใช้สร้างแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นของกรณีศึกษากระบวนการจัดการร้านค้าออนไลน์ การประเมินผลอื่นจะเกี่ยวข้องกับผลิตภาพและความสามารถในการเรียนรู้ได้ของชุดเครื่องมือ ซึ่งผลที่ได้คือ การเขียนสคริปต์แบบวิชวลมีผลิตภาพดีกว่าการเขียนสคริปต์โดยใช้โปรแกรมแก้ไขข้อความแบบธรรมดาที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในด้านความสามารถในการเรียนรู้ได้ของการเขียนสคริปต์แบบวิชวล ผู้วิจัยได้ทำการทดลองกับกลุ่มผู้ใช้ชุดเครื่องมือซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ที่ไม่ถนัดในภาษาสคริปต์และกลุ่มผู้ใช้ที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยกับการเขียนสคริปต์แต่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบจำลองกระบวนการทางธุรกิจและสคริปต์ทาสก์ ในทั้งสองกรณี ชุดของเครื่องมือมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ในระดับดีที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดยที่กลุ่มผู้ใช้ที่เป็นโปรแกรมเมอร์สามารถสร้างสคริปต์ได้โดยใช้เวลาที่น้อยลงในระหว่างการทดลองแต่ละครั้ง รวมทั้งอัตราความสำเร็จเฉลี่ยของการสร้างสคริปต์โดยกลุ่มผู้ใช้ที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์นั้นมากกว่า 60%
Other Abstract: The objective of this research is to tackle a problem when defining a script for a script task of a Business Process Model and Notation or BPMN model, as scripting is usually done via a plain text editor without any assistance and it is difficult for users when writing scripts. The research also aims to unlock the BPMN model from being dependent on a particular execution platform due to its support for a particular scripting language. The approach taken is to provide a visual programming interface with execution semantics that is common to scripting languages and can be generated into executable scripts of different languages. The result of this research is a tool set that comprises 1) a language-independent XML-based Business Process Scripting language or XBPScript, 2) a visual script editor in a block building style of Blockly which can generate the XBPScript, and 3) a template-based script generator that can generate executable language-specific scripts from the XBPScript. To evaluate whether the tool set is usable, we integrate it with the open source business process management software called Activiti Explorer to build a BPMN model for an online shopping case study. Other evaluations concern productivity and learnability. On productivity, visual scripting is more productive than using a plain text editor at a significance level of 0.05. On learnability of visual scripting, we experiment with a group of programmers who are not familiar with scripting languages and a group of non-programmer users who are unskilled on writing scripts but may have to define business process models and script tasks. In both cases, the tool set shows good learnability at a significance level of 0.05 as the time taken by the programmers to write scripts improves between the experiments, and the average success rate of the non-programmers is over 60%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมซอฟต์แวร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56236
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570479321.pdf8.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.