Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56284
Title: ผลของลักษณะด้านเศรษฐกิจสังคมและที่พักอาศัยต่อการเลือกเดินทางด้วยยานยนต์ส่วนบุคคลของครัวเรือนในพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
Other Titles: IMPACTS OF SOCIOECONOMIC AND RESIDENTIAL CHARACTERISTICS ON PRIVATE MOTOR-VEHICLE COMMUTING OF HOUSEHOLDS IN RAIL TRANSIT STATION AREAS
Authors: จักรพันธ์ จุลละโพธิ
Advisors: ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Saksith.C@chula.ac.th,Saksith.C@chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในปัจจุบันประเทศไทยยังมีการกำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีเพื่อเกื้อหนุนการใช้ระบบขนส่งมวลชนในประเด็นที่จำกัด สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากการขาดข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนที่พักอาศัยในพื้นที่รอบสถานี โดยลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมและลักษณะที่พักอาศัยของครัวเรือนเป็นปัจจัยที่กำหนดพฤติกรรมการเดินทาง ความเข้าใจถึงผลของปัจจัยดังกล่าวจึงมีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนในประเทศไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของลักษณะด้านเศรษฐกิจสังคมและที่พักอาศัยต่อการเลือกเดินทางด้วยยานยนต์ส่วนบุคคลของสมาชิกครัวเรือนในพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าทั้งระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร ในการศึกษาได้เปรียบเทียบพฤติกรรมการเดินทางของประชาชนกลุ่มต่างๆ เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกเดินทางด้วยยานยนต์ส่วนบุคคล เช่น ตำแหน่งที่พักอาศัยใกล้และไกลจากสถานี ลักษณะของที่พักอาศัย ระยะเวลาการพักอาศัย เป็นต้น และใช้แบบจำลองความถดถอยโลจิสติกเพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเดินทางด้วยยานยนต์ส่วนบุคคล สำหรับข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้จากการเก็บข้อมูลครัวเรือนด้วยวิธีการสัมภาษณ์ร่วมกับการตอบแบบสอบถามจากผู้ที่พักอาศัยโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าจำนวน 812 ตัวอย่าง ในบริเวณสถานีรถไฟฟ้าตัวอย่าง 8 สถานี โดยจากผลการวิเคราะห์พบว่า ตัวแปรเพศชาย อายุของผู้พักอาศัย ตัวแปรผู้พักอาศัยที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป เป็นนิสิตหรือนักศึกษา ประกอบอาชีพค้าขายหรือทำธุรกิจส่วนตัว รายได้ส่วนบุคคลต่อเดือน ที่พักอาศัยประเภทคอนโดและทาวน์เฮ้าส์ จำนวนยานยนต์ส่วนบุคคลต่อผู้ใหญ่ในครัวเรือน เส้นทางการเดินของสถานีรถไฟฟ้าใกล้ที่พักอาศัย ประเภทของสถานีรถไฟฟ้าใกล้ที่พักอาศัย การย้ายที่อยู่อาศัย มีผลต่อการเลือกเดินทางด้วยยานยนต์ส่วนบุคคลในการเดินทางไปทำงานหรือทำธุระอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจัยด้านครัวเรือนที่พักอาศัยใกล้สถานีรถไฟฟ้าที่เป็นประเภทสถานีพื้นที่อยู่อาศัยในศูนย์กลางเมือง และครัวเรือนที่ย้ายที่อยู่อาศัยเพราะต้องการใช้ระบบรถไฟฟ้ามีความสัมพันธ์เชิงลบกับความน่าจะเป็นของการเลือกเดินทางด้วยยานยนต์ส่วนบุคคล ผลการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้า เพื่อจำกัดการเดินทางด้วยยานยนต์ส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น จำนวนสถานีตัวอย่างที่น้อยและอยู่ภายในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ขาดข้อมูลเชิงลึกของผู้พักอาศัยและครัวเรือนในบางประการ เป็นต้น โดยในอนาคตสามารถพัฒนางานวิจัยในประเด็นข้อจำกัดเหล่านี้ได้ เช่น การขยายการสำรวจข้อมูลให้ครอบคลุมทุกสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในประเทศไทย การศึกษาข้อมูลเชิงลึกของครัวเรือน เป็นต้น
Other Abstract: Currently, Thailand has limited policy prescription for Transit-Oriented Development in areas surrounding transit stations. One of the reasons for this is the lack of essential empirical evidence regarding travel behavior of people who live around transit station. Socioeconomic and residential characteristics are determining factors that affect travel behavior, and understanding about their effects are critical to formulate policies for the planning of transit station area development under the Thai context. The objective of this research is to examine the impacts of socioeconomic and residential characteristics on private motor-vehicle commuting of people living in BTS and MRT station areas. In this study, we compared travel behavior patterns in different groups, taking into account the proximity of residence to rail station, housing characteristics, duration of tenant, etc. Then, we employed logistic regression to examine the factors affecting private motor-vehicle commuting. Households located within 1000 meters of eight rail stations were randomly selected and a household member was interviewed, resulting in a sample size of 812. The analysis results show that several socioeconomic variables including gender, age, occupation, personal income, housing type, vehicle ownership, type of urban rail station and rail route near household and changes in residential locations are significant factors affecting the probability of using private motor-vehicle travel for working or business trip. Changes in residential locations in relation to rail transit station as well as location of household near major urban center station tend to reduce the probability of using private motor-vehicle to commute to work. The results can be useful in formulating land use policies for development near transit stations in order to reduce private motor-vehicle usage. This research has a few limitations, including the small number of sample stations and the lack of certain in-depth household and traveler’s characteristics. However, future research can improve upon these issues, by expanding the traveler survey to include all urban rail station locations in Thailand and using more in-depth questionnaire interview to collect more detailed information about the commute trip pattern, etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56284
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670137821.pdf7.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.