Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56293
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สัญชัย พยุงภร | |
dc.contributor.advisor | พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์ | |
dc.contributor.author | กณิศา แจ่มโภคา | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2017-11-27T08:59:42Z | - |
dc.date.available | 2017-11-27T08:59:42Z | - |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56293 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | |
dc.description.abstract | โรคตับคั่งไขมันเป็นโรคที่เกิดจากการสะสมไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในตับโดยปราศจากการสะสมของแอลกอฮอล์ที่มีสาเหตุมาจากการดื้อต่ออินซูลิน ผู้ที่เป็นโรคตับคั่งไขมันสามารถพัฒนาไปเป็นพังผืดในตับ ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ ไมโครอาร์เอ็นเอ คืออาร์เอ็นเอขนาดเล็ก ที่ไม่กำหนดการสร้างโปรตีน มีขนาดประมาณ 22 นิวคลีโอไทด์ มีบทบาทในการควบคุมการแสดงออกของยีน ในงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า ไมโครอาร์เอ็นเอ 29 (เอ บี และซี) และไมโครอาร์เอ็นเอ 122 มีบทบาทสำคัญ ในการควบคุมยีนที่เกี่ยวข้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลินที่สามารถนำไปสู่โรคตับคั่งไขมันได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับของไมโครอาร์เอ็นเอ 29 และไมโครอาร์เอ็นเอ 122 ในซีรั่มและระดับการอักเสบของตับในผู้ป่วยตับคั่งไขมัน นอกจากนี้เพื่อศึกษาระดับของไมโครอาร์เอ็นเอ 29 และไมโครอาร์เอ็นเอ 122 ในซีรั่ม สำหรับใช้เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพสำหรับวินิจฉัยโรค NAFLD ในการวิจัยนี้ใช้ตัวอย่างของซีรั่มผู้ป่วยโรคตับคั่ง 58 คน และซีรั่มของผู้ที่มีสุขภาพดี 34 คน เริ่มจากนำซีรั่มมาสกัดไมโครอาร์เอ็นเอ ด้วยชุดสกัดไมโครอาร์เอ็นเอ จากนั้นเริ่มกระบวนการ polyuridylation ตามด้วย reverse transcription แล้วจึงวัดการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอโดยใช้เทคนิคเรียลไทม์พีซีอาร์ ผลการทดลองพบว่าการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอ 29 เอ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในซีรั่มของกลุ่มผู้ที่เป็นโรคตับคั่งไขมัน ขณะที่การแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอ 29 บี และซี ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามพบว่าการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอ 122 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มของผู้ที่เป็นโรคตับคั่งไขมันเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่มีสุขภาพดี นอกจากนี้ยังพบว่าการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอ 122 สัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของโรคโดยแบ่งตามกลุ่ม mild (NAS < 4) และกลุ่ม severe (NAS > 4) ทั้งนี้การแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอ 29 เอ และไมโครอาร์เอ็นเอ 122 อาจใช้เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพสำหรับโรคตับคั่งไขมันได้ อย่างไรก็ตามในการศึกษาต่อไป ควรที่เพิ่มขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงออกของไมโครอาร์เอ็นเอและโรคตับคั่งไขมันต่อไป | |
dc.description.abstractalternative | Non-alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD) is an over accumulation of triglyceride in the liver without alcohol consumption caused by insulin resistance. Patients with NAFLD are usually asymptomatic at the initial stage and then develop to be liver fibrosis, cirrhosis and hepatocellular carcinoma (HCC). MicroRNAs (miRNAs) are non-coding RNA about 22 nucleotides that regulate post-transcriptional gene silencing. Previous studies found that miR-29 family (a, b and c) and miR-122 have the dominant role in regulating insulin resistance that related to NAFLD. Therefore, the aim of this study was to study the correlation between miR-29 and miR-122 and level of liver inflammation in NAFLD patients. In addition to quantitate the levels of serum miR-29 and miR-122 this might be useful as possible biomarkers for non-invasive diagnosis of NAFLD. Serum samples were collected from 58 NAFLD patients and 34 healthy controls. Then miRNAs were extracted from serum by using microRNA purification kit followed by polyuridylation, reverse transcription and quantitative real-time PCR (qPCR). We found that the serum miR-29a levels in NAFLD patients were significantly lower (P = 0.006) than those found in control group, while miR-29b and miR-29c levels were unchanged. However, we found that serum miR-122 levels in NAFLD patients were significantly higher (P < 0.001) than those found in control group. The levels of serum miR-122 was significant difference between patients with mild (NAS < 4) and severe (NAS > 4), indicating that the levels of miR-122 were related with the severity of NAFLD. The levels of miR-29a and miR-122 might be useful and attractive as a possible biomarker for non-invasive diagnosis of NAFLD. However, further case-control study with larger sample size is necessary in order to confirm the association between the levels of serum miRNA and NAFLD. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.title | การตรวจวัดปริมาณของไมโครอาร์เอ็นเอ 29 และไมโครอาร์เอ็นเอ 122 ในซีรั่ม เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพสำหรับการวินิจฉัยโรคตับคั่งไขมัน | |
dc.title.alternative | Quantitation of microRNA-29 and microRNA-122 in serum as biomarkers for diagnosis of non-alcoholic fatty liver disease | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | ชีวเคมีทางการแพทย์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.email.advisor | Sunchai.P@Chula.ac.th,medbiochemcu@gmail.com | |
dc.email.advisor | Pisit.T@chula.ac.th | |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674001830.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.