Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/562
Title: การแยกส่วนความแปรปรวนของผลตอบเทนหุ้น : การศึกษาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: A variance decomposition for stock return : evidence from the Stock Exchange of Thailand
Authors: ชาตรี โรจนอาภา, 2523
Advisors: สันติ กีระนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
Subjects: อัตราผลตอบแทน
หุ้นและการเล่นหุ้น
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนการลงทุนในหุ้น และแยกส่วนความแปรปรวนของผลตอบแทนหุ้นส่วนเกินที่ไม่ได้คาดหวัง ออกเป็น 2 ส่วนคือ ข่าวการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดที่คาดหวัง (Cash flow news) และข่าวการเปลี่ยนแปลงของผลตอบแทนที่คาดหวัง (Expected return) โดยอาศัยแบบจำลองสมการถดถอยแบบเวกเตอร์ (Vector autoregressive model) จากผลการศึกษาได้ให้สาระสำคัญที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ ผลตอบแทนหุ้นนั้นสามารถอธิบายได้ด้วยปัจจัย ผลตอบแทนหุ้นย้อนหลัง (Lag return) อัตราส่วนมูลค่าทางบัญชีต่อมูลค่าตลาดของส่วนของผู้ถือหุ้น (Book-to-market ratio) อัตราส่วนกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on equity) ภาระผูกพัน (Leverage) และขนาดของกิจการ (Size) อย่างไรก็ดีความสัมพันธ์ของผลตอบแทนหุ้นกับปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมานั้น ไม่ได้มีลักษณะที่แน่นอนเสมอไป หากแต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นๆ อีก เช่น สภาวะเศรษฐกิจ ปริมาณของข้อมูลข่าวสาร การให้ความสำคัญของตลาด เป็นต้น ซึ่งเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้จะมีส่วนกำหนดความสัมพันธ์ ของผลตอบแทนหุ้นกับปัจจัยต่างๆ ว่าจะมีลักษณะแปรผันตามกัน แปรผกผันกันหรือไม่มีความสัมพันธ์กัน การศึกษาการแยกส่วนความแปรปรวนของผลตอบแทนหุ้นส่วนเกิน ที่ไม่ได้คาดหวังนี้ ได้ข้อสรุปว่า ในช่วง 9 ปีย้อนหลัง ความแปรปรวนของผลตอบแทนหุ้นส่วนเกินที่ไม่ได้คาดหวัง ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของข่าวการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสด (ซึ่งแทนด้วยอัตราส่วนกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้น) มากกว่าความแปรปรวนของผลตอบแทนที่คาดหวังถึงประมาณ 3-4 เท่า นอกจากนี้เงื่อนไขต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น มีส่วนในการกำหนดความแปรปรวนของผลตอบแทนหุ้นส่วนเกิน ที่ไม่ได้คาดหวัง โดยในช่วงที่เศรษฐกิจมีความผันผวนความแปรปรวนดังกล่าว จะมีค่าน้อยกว่าอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับช่วงที่เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโต ส่วนเรื่องปริมาณของข้อมูลข่าวสาร และการให้ความสำคัญของนักลงทุนส่งผลกระทบกับความแปรปรวนปรวน ของผลตอบแทนส่วนเกินที่ไม่ได้คาดหวังไปในทางเดียวกัน กล่าวคือ บริษัทที่มีปริมาณข้อมูลข่าวสารมากและ/หรือนักลงทุนให้ความสำคัญ จะมีผลตอบแทนส่วนเกินที่ไม่ได้คาดหวังน้อยกว่า บริษัทที่มีปริมาณข้อมูลข่าวสารน้อยและนักลงทุนไม่ให้ความสำคัญ ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าความแปรปรวนของผลตอบแทนส่วนเกิน ที่ไม่ได้คาดหวังสามารถอธิบายได้ด้วยปัจจัย 3 ประการคือ สภาวะเศรษฐกิจ ปริมาณของข้อมูลข่าวสาร และการให้ความสำคัญนักลงทุนในตลาด
Other Abstract: To study the factors affecting the stock return and the decomposition of the unexpected excess stock return. It is assumed that the unexpected excess stock return can be decomposed into 2 components: changes in cash-flow expectations (know as cash-flow news) and changes in return expectations (know as expected return news). Vector autoregressive model (VAR) is employed in this study. Stock return can be explained by lag return (-1), book-to-market ratio, return on equity, leverage and size. However, relationship between stock return and these factors are not constant. According to the results, there might be some constraints that influence the relationship. These constraints are defined as economic environment, quantity of information and interest of investors. The conclusions can be drawn as followed. Variance of unexpected excess stock return is mainly driven by cash flow news, which is proxied by return on equity. The variance of cash flow news is more than 3 times that of expected return news. The result confirms the argument. Moreover, the results show that constraints have affected variance of unexpected excess stock return. During the crisis period, this variance is less than that of usual growth period. Both quantity of information and investor's interest affects the variance of unexpected excess stock return in the same direction. In other words, firms that have more information and are of interest to investor show less unexpected excess stock return. It might be concluded that the variance of unexpected excess return can be explained by economic environment, quantity of information and interest of investors.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การเงิน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/562
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.427
ISBN: 9741716036
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.427
Type: Thesis
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chatree.pdf582.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.