Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56324
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรัญญา ตุ้ยคำภีร์-
dc.contributor.advisorพรรณระพี สุทธิวรรณ-
dc.contributor.authorกนกกาญจน์ ศิริวรรณ-
dc.contributor.authorปรียาภัสสร์ ศรีธนันดร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2017-11-27T09:02:30Z-
dc.date.available2017-11-27T09:02:30Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56324-
dc.descriptionโครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2558 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2015en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของบรรยากาศในครอบครัว การกำกับอารมณ์ของนักเรียน และลักษณะของครอบครัวที่ส่งผลต่อความสุขของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีสมมติฐานงานวิจัย 2 ข้อ คือ (1) บรรยากาศในครอบครัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่อาศัยอยู่ในครอบครัวใหญ่และครอบครัวเดี่ยวมีความแตกต่างกัน และ (2) บรรยากาศในครอบครัวและการกำกับอารมณ์ ร่วมกันส่งอิทธิพลต่อความสุขของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 จำนวน 229 คน โดยแบ่งเป็น เพศชาย 100 คนและเพศหญิง 129 คน ซึ่งมีอายุเฉลี่ย เท่ากับ 16.18 ปี (SD = .60) เป็นนักเรียนที่มาจากครอบครัวใหญ่ จำนวน 79 คน และครอบครัวเดี่ยวจำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป มาตรวัดบรรยากาศในครอบครัว มาตรวัดการกำกับอารมณ์ และมาตรวัดสภาวะความสุข การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบรายสะดวก การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยเชิงพหุคูณแบบลำดับขั้น ผลการวิจัยพบว่า 1. บรรยากาศในครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยในครอบครัวเดี่ยวและกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยในครอบครัวใหญ่ ไม่มีความแตกต่างกัน 2. บรรยากาศในครอบครัวและการกำกับอารมณ์ร่วมกันทำนายความแปรปรวนความสุขของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 39 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยบรรยากาศในครอบครัวด้านความสามารถในการปรับตัวนั้นมีน้ำหนักในการทำนายมากที่สุด (β = .30, p < .01) ลำดับต่อมา คือ การกำกับอารมณ์ในด้านการประเมินทางปัญญา (β = .22, p < .01) และการกำกับอารมณ์ในด้านการปิดกั้นการแสดงออก (β = -.17, p < .01) ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe study aimed to examine the relationships among family climate, students’ emotion regulation, and happiness of high school students. There were two hypotheses. Firstly, there were significant difference of family climate among multi-generation family and nucleus family. Secondly, family climate and emotion regulation can significantly predict happiness of the high school students. Two hundred and twenty-nine high school students (100 males and 129 females) completed scales of family climate, emotion regulation, and happiness in convenience sampling. Mutivariate Analysis of Variance (MANOVA), Pearson’s product moment correlation, and hierarchical regression analysis were used to analyze the data. Findings revealed as below. 1. There was no significant difference of family climate among multi-generation family and nucleus family. 2. Family climate and emotion regulation significantly predicted students’ happiness and accounted for 39 percent of total variance of happiness. The most significantly predictor of happiness was adaptability in family climate (β = .30, p < .01), followed by cognitive reappraisal in emotion regulation (β = .22, p < .01), and expressive suppression in emotion regulation (β = -.17, p < .01).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectครอบครัว -- แง่จิตวิทยาen_US
dc.subjectอารมณ์ -- แง่จิตวิทยาen_US
dc.subjectความสุขen_US
dc.subjectFamilies -- Psychological aspectsen_US
dc.subjectEmotions -- Psychological aspectsen_US
dc.subjectHappinessen_US
dc.titleบรรยากาศในครอบครัว การกำกับอารมณ์ และความสุขของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มาจากครอบครัวใหญ่และครอบครัวเดี่ยวen_US
dc.title.alternativeFAMILY CLIMATE, EMOTION REGULATION, AND HAPPINESS OF HIGH SCHOOL STUDENTS IN MULTI-GERNERATIONAL AND NUCLEUS FAMILIESen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorarunya.t@chula.ac.th-
dc.email.advisorpanrapee.s@chula.ac.th-
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanokkarn_et_al.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.