Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56347
Title: การเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาชนในลุ่มแม่น้ำแม่กลองในการต่อต้านนโยบายบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
Other Titles: THE MOVEMENT OF THE MAE KLONG RIVER PEOPLE’S NETWORK AGAINST THE WATER MANAGEMENT POLICIES OF THE YINGLUCK SHINAWATRA GOVERNMENT.
Authors: ปาณิสรา เทียนอ่อน
Advisors: ประภาส ปิ่นตบแต่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Prapart.P@Chula.ac.th,prapart.p@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้ได้อธิบายถึงการเคลื่อนไหวของเครือข่ายประชาชนในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง (จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี) ในการต่อต้านนโยบายบริหารจัดการน้ำภายใต้งบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยศึกษาถึงการก่อเกิด การจัดตั้งองค์กร วิธีการระดมทรัพยากร ยุทธวิธีการต่อสู้ การสร้างวาทกรรมและพัฒนาการของขบวนการเคลื่อนไหวภายใต้เครือข่ายประชาชนในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เพื่อให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของเครือข่ายทั้งที่มีอยู่ภายในและภายนอกจังหวัด รวมทั้งความเชื่อมโยงจากในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามซึ่งเป็นพื้นที่หลักของงานวิจัยไปสู่ภาพรวมของการเคลื่อนไหวทั้งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง โดยงานวิจัยชิ้นนี้จะเลือกใช้ทฤษฎีการระดมทรัพยากรและทฤษฎีโครงสร้างทางโอกาสทางการเมือง มาผนวกกับทฤษฎีกระบวนการสร้างกรอบโครงทางวาทกรรมมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ เพื่อที่จะทำให้เข้าใจถึงฐานวิธีคิดและพลวัตของการต่อสู้ของขบวนการดังกล่าวได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น การศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า ขบวนการเคลื่อนไหวในการต่อต้านนโยบายบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแม่กลองนั้น เป็นเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งและประสบความสำเร็จ โดยมีฐานคิดอยู่ที่ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญและจำเป็น รวมทั้งการก่อตัวและเติบโตของขบวนการเคลื่อนไหวอยู่บนเงื่อนไขที่สำคัญ 3 ประการ คือ (1) เกิดขึ้นท่ามกลางบริบททางการเมืองที่มีความขัดแย้ง (2) ความสามารถในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกจังหวัด โดยเครือข่ายเหล่านี้เคยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันมาก่อน (3) ความสามารถในการระดมพลังมวลชน การขยายเครือข่าย ทั้งจากการต่อสู้ด้วยการใช้นิยามหรือกรอบโครง และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการระดมทรัพยากรได้แก่ คน เงิน แรงงาน กิจกรรมต่างๆในการเคลื่อนไหว และการกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับรัฐบาลและฝ่ายตรงข้าม ซึ่งส่งผลทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวมีความสามารถในการขยายเครือข่ายให้เกิดความเข้มแข็งและนำไปสู่พลังในการต่อรองกับรัฐบาลได้
Other Abstract: This research aims to describe the movement of the people network in Mae Klong River (Samut Songkram, Ratchaburi and Kanchanaburi provinces) against the water management policy of the Yingluck Shinawatra’s government. The research focuses on the study of the organization establishment, the resources acquisition, battle strategy, discourse creation and the movement processing development under the people network in Mae Klong River basin to resist water management policy under budget 3.5 trillion baht. The research, by extension, will portray an overview to the relationship and connection of the people network in Mae Klong River and focus on the details of discourses implemented in Samut Songkram, which is a major area of this research, as well as select any discourses which is the center of the movement. Moreover, the study is able to visualize the connection inside and outside of Samut Songkram into the overall movement of Mae Klong River. This research uses the resource mobilization theory and the political opportunity structure theory combined with the theoretical frame analysis as a tool to understand the mindset and the dynamic of the struggle of the movement. This research reveals that the movement against water management policy in Mae Klong River is a strong and successful movement resulting from the ability to expand the network used as leverage in negotiation with the government and lead to the strength of the organization under troubles which are critical and necessary. The three crucial conditions for the formation and growth of the movement are as followed; (1) The emergence of the political conflict; (2) The ability to link the networks inside and outside the provinces which has interacted before; (3) The ability to gather the people power, expanding the network by using discourse creation or framework analysis and things related to the acquired resources including human resources, money, labor, activities in the movement, and strategic planning that are used as a tool to fight against the government and its opponents.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การเมืองและการจัดการปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56347
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5581318824.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.