Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56380
Title: COST EFFECTIVENESS ANALYSIS OF A PHARMACEUTICAL CARE SERVICE IN LITHIUM CLINIC FOR PATIENTS WITH BIPOLAR DISORDER
Other Titles: การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกลิเทียมแก่ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว
Authors: Orabhorn Suanchang
Advisors: Vithaya Kulsomboon
Yupadee Sirisinsuk
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Advisor's Email: Vithaya.K@Chula.ac.th,vithaya.k@chula.ac.th
Yupadee.S@Chula.ac.th,yupadee.s@pharm.chula.ac.th
Issue Date: 2015
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Bipolar disorder is a severe long term mental disorder prevalent in up to 2% of the population. Bipolar disorder is reported as the sixth leading cause of worldwide disability among patients ages 15 to 44. The first line pharmacotherapy for treatment of bipolar disorder is lithium. Lithium’s clinical use has an extremely narrow therapeutic range. Therefore, pharmaceutical care in patients using lithium is helpful both in efficacy and safety vigilance. The lithium clinic of Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry, the first and only lithium clinic in Thailand, is a pharmacist-run lithium clinic. It has been established for more than 10 years. However, there has been no analysis to date of long-term clinical and economic outcomes of the pharmaceutical care service provided. This study aimed to study the long-term clinical outcomes and cost-effectiveness of a pharmaceutical care service in lithium clinic adjunct to standard care (lithium clinic group) compared with standard care alone (usual care group) for bipolar patients who are treated with lithium as maintenance therapy. Outcomes of this study were long-term clinical outcomes and economic outcomes. Clinical outcomes presented as event rate, relative risk, and time to event. Average study follow-up time was 6.11+3.14 years. Hospitalization rate from all psychiatric causes in lithium clinic group (0.0545+0.170) was significantly less than usual care group (0.1815+0.428). Also, hospitalization rate from manic recurrence and emergency room visit rate in lithium clinic group (0.0449+0.147 and 0.0286+0.13) was significantly lower than usual care group (0.1582+0.392 and 0.1507+0.474), respectively. Also, lithium clinic group had risk of any recurrence (RR= 0.59, 95% CI 0.377-0.923), manic recurrence (RR= 0.459, 95% CI 0.287-0.736) and manic admission (RR= 0.34, 95% CI 0.193-0.600) significantly less than usual care group. Time to manic recurrence was 4.44 years for lithium clinic group, but 3.54 years for usual care group. Time to manic admission was 5.36 and 3.98 years for lithium clinic and usual care groups, respectively. Also, time to emergency room visit was 5.36 years in lithium clinic and 4.09 years in usual care groups. A Markov model was constructed to assess costs, life years, and quality-adjusted life years (QALYs) with lifetime horizon in patients with bipolar disorder, on the basis of provider perspective. Some input parameters were based on data from retrospective cohort study which performed for this current study and from hospital database of Somdet Chaopraya Institute of Psychiatry. Moreover, some parameters which were utility and mortality data were obtained from published articles. Economic outcomes were presented as incremental cost-effectiveness ratios (ICER) of quality-adjusted life expectancy. Deterministic and probabilistic sensitivity analyses were conducted for important variables in the model. Lithium clinic group had life expectancy not differ from usual care group. The quality-adjusted life years (QALYs) increased by 0.62 and incremental cost effectiveness ratio (ICER) was 62,349.04 THB per QALY from adjunct pharmaceutical care service to standard care. Lithium clinic group was more cost effective than usual care group if the willingness-to-pay (WTP) threshold was more than 98,000 THB. Considering the current WTP threshold of Thailand at 160,000 THB/QALY, pharmaceutical care service adjunct to standard care appears to be cost-effective compared to standard care alone.
Other Abstract: โรคอารมณ์สองขั้ว เป็นความผิดปกติทางจิตที่เรื้อรังและมีความรุนแรง พบประมาณ 2% ของประชากร โรคนี้ได้รับการรายงานว่าเป็นสาเหตุของความพิการที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 6 ของโลกในประชากรช่วงอายุ 15-44 ปี ลิเทียมเป็นยาลำดับแรกที่นำมาใช้สำหรับรักษาโรคสองขั้ว อย่างไรก็ตามลิเทียมเป็นยาที่มีช่วงการรักษาแคบ การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ใช้ยาลิเทียมจึงเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาดังกล่าว คลินิกลิเทียมของสมเด็จสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เป็นคลินิกลิเทียมแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ก่อตั้งมานานกว่า 10 ปี คลินิกดังกล่าวเป็นคลินิกที่ดำเนินการโดยเภสัชกร ซึ่งนำการบริบาลเภสัชกรรมมาประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาลิเทียม อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบันยังไม่เคยมีการศึกษาระยะยาวถึงผลลัพธ์ทางคลินิกและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมการในคลินิกดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลระยะยาวของผลลัพธ์ทางคลินิกของการให้บริบาลทางเภสัชกรรม และศึกษาต้นทุนประสิทธิผลของการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกลิเทียมร่วมกับการดูแลตามมาตรฐาน (กลุ่มคลินิกลิเทียม) เมื่อเทียบกับการดูแลตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียว (กลุ่มที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบปกติ) สำหรับผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วที่ได้รับการรักษาด้วยยาลิเทียมในระยะประคับประคอง ผลลัพธ์ของการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผลลัพธ์ระยะยาวทางคลินิกและผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์ ผลลัพธ์ทางคลินิกแสดงในรูปแบบอัตราการเกิดเหตุการณ์ ค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ และระยะปลอดเหตุการณ์ การศึกษาครั้งนี้มีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการติดตามผู้ป่วยเท่ากับ 6.11+3.14 ปี กลุ่มคลินิกลิเทียมมีอัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากสาเหตุด้านจิตเวชทุกประเภทน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาตามรูปแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.0545+0.170 ครั้งต่อปี สำหรับผู้ป่วยกลุ่มคลินิกลิเทียม และ 0.1815+0.428 ครั้งต่อปีสำหรับผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามรูปแบบปกติ) นอกจากนี้อัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอาการมาเนียกำเริบ (manic recurrence) และอัตราการมารับบริการที่แผนกฉุกเฉินของกลุ่มคลินิกลิเทียมมีค่าน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาตามรูปแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (กลุ่มคลินิกลิเทียมเท่ากับ 0.0449+0.147 และ 0.0286+0.13 ครั้งต่อปี ตามลำดับ ; กลุ่มที่ได้รับการรักษาตามรูปแบบปกติเท่ากับ 0.1582+0.392 และ 0.1507+0.474 ครั้งต่อปี ตามลำดับ) ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยกลุ่มคลินิกลิเทียมมีความเสี่ยงสัมพัทธ์ต่อการเกิดอาการกำเริบทุกประเภท (RR= 0.59, 95% CI 0.377-0.923) ความเสี่ยงสัมพัทธ์ต่อการเกิดอาการกำเริบชนิดมาเนีย (RR= 0.459, 95% CI 0.287-0.736) และความเสี่ยงสัมพัทธ์ต่อการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอาการมาเนียกำเริบ (RR= 0.34, 95% CI 0.193-0.600) น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาตามรูปแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาระยะเวลาปลอดเหตุการณ์ พบว่าผู้ป่วยกลุ่มคลินิกลิเทียมมีระยะเวลาปลอดเหตุการณ์ก่อนเกิดอาการมาเนียกำเริบ 4.44 ปี นานกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาตามรูปแบบปกติซึ่งมีระยะเวลาปลอดเหตุการณ์ดังกล่าวเพียง 3.54 ปี และพบว่าระยะเวลาปลอดเหตุการณ์ก่อนเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอาการมาเนียของกลุ่มคลินิกลิเทียมมีค่าเท่ากับ 5.36 ปี ในขณะที่ของกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามรูปแบบปกติเท่ากับ 3.98 ปี นอกจากนั้นพบว่าระยะเวลาปลอดเหตุการณ์ก่อนมารับบริการที่แผนกฉุกเฉินของกลุ่มคลินิกลิเทียมเท่ากับ 5.36 ปี ส่วนกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามรูปแบบปกติมีระยะเวลาดังกล่าวเพียง 4.09 ปี การศึกษาครั้งนี้ทำการพัฒนาแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์มาร์คอฟเพื่อใช้ในการประเมินค่าใช้จ่าย จำนวนปีที่อายุยืนยาวขึ้น จำนวนปีสุขภาวะตลอดช่วงอายุของผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว ในมุมมองของผู้ให้บริการ ค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในแบบจำลองนี้บางส่วนได้มาจากการการศึกษาย้อนหลังแบบเดินตามไปข้างหน้า ซึ่งจัดทำขึ้นเฉพาะสำหรับหาค่าพารามิเตอร์ที่จำเป็น และได้มาจากจากฐานข้อมูลของสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เพื่อนำมาวิเคราะห์ในแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ นอกจากนี้พารามิเตอร์บางส่วน ซึ่งได้แก่ ข้อมูลคุณภาพชีวิตและข้อมูลการตายของผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วนำมาจากการทบทวนวรรณกรรม ผลลัพธ์ทางเศรษฐศาสตร์นำเสนอในรูปของอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม (ICER) ของปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น การศึกษาครั้งนี้ทำการวิเคราะห์ความไวของผลลัพธ์ที่เกิดจากความไม่แน่นอนของค่าพารามิเตอร์ในแบบจำลอง ทั้งแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น และแบบอาศัยความน่าจะเป็น เพื่อดูผลของพารามิเตอร์ที่มีความสำคัญในแบบจำลอง ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยกลุ่มคลินิกลิเทียมมีค่าปีชีวิต (life expectancy) ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบปกติ แต่มีปีสุขภาวะเพิ่มขึ้น 0.62 ปี โดยมีอัตราส่วนต้นทุนประสิทธิผลส่วนเพิ่ม เพิ่มขึ้น 62,349.04 บาทต่อปีสุขภาวะที่เพิ่มขึ้น การบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกลิเทียมร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานจะมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากกว่าการดูแลตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียว เมื่อผู้ป่วยมีค่าความเต็มใจที่จะจ่ายมากกว่า 98,000 บาท อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาค่าความเต็มใจที่จะจ่ายในปัจจุบันของประเทศไทยที่ 160,000 บาทต่อปีสุขภาวะ พบว่าการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการดูแลตามมาตรฐานในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วที่ได้รับยาลิเทียมมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เมื่อเทียบกับการดูแลตามมาตรฐานเพียงอย่างเดียว
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Social and Administrative Pharmacy
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56380
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5377108633.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.