Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56386
Title: ผลของการผสมถ่านชีวภาพในดินทรายบริเวณพื้นที่เงาฝนเพื่อเพิ่มผลผลิตงาดำ
Other Titles: EFFECT OF BIOCHAR APPLICATION IN SANDY SOIL IN RAIN SHADOW AREA ON SESAME (Sesamum indicum L.) PRODUCTION
Authors: พินิจภณ ปิตุยะ
Advisors: ทวีวงศ์ ศรีบุรี
เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: sthavivo@chula.ac.th,thavivongse.s@chula.ac.th
Saowanee.W@Chula.ac.th,w.m.saowanee@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้ได้ศึกษาคุณสมบัติของถ่านชีวภาพจากไม้กระถินยักษ์และกะลามะพร้าวที่ผลิตโดยกระบวนการไพโรไลซิสแบบช้าด้วยสภาวะที่แตกต่างกัน 9 สภาวะ (ใช้อุณหภูมิในการเผาตั้งแต่ 300 - 500 oC ใช้เวลาในการเผาตั้งแต่ 1-3 ชั่วโมง) เพื่อวิเคราะห์หาวัตถุดิบและสภาวะในการเตรียมถ่านชีวภาพที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ปรับปรุงดินทรายบริเวณพื้นที่เงาฝนเพื่อเพิ่มผลผลิตงาดำด้วยวิธีหาพื้นผิวตอบสนอง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติของถ่านชีวภาพจากไม้กระถินยักษ์มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกว่าถ่านชีวภาพจากกะลามะพร้าวสำหรับการปรับปรุงดินทราย เนื่องจากมีพื้นที่ผิวและค่าความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกที่มากกว่า และมีค่าความเป็นกรด-ด่างที่ต่ำกว่าเล็กน้อย โดยสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตถ่านชีวภาพจากไม้กระถินยักษ์ด้วยเตาเผาไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ คือ ที่อุณหภูมิในการเผา 434.8 oC ใช้เวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นได้นำถ่านชีวภาพจากไม้กระถินยักษ์มาผสมกับดินห้วยทรายและนำมาทดลองปลูกงาดำโดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Complete Randomized Design; CRD) จำนวน 5 ซ้ำ 10 ชุดการทดลอง ได้แก่ ดินห้วยทราย (control) ดินผสมปุ๋ยเคมี (CF) ดินผสมถ่านชีวภาพสัดส่วน 5% (BC1) ดินผสมถ่านชีวภาพสัดส่วน 10% (BC2) ดินผสมถ่านชีวภาพสัดส่วน 15% (BC3) ดินผสมถ่านชีวภาพสัดส่วน 20% (BC4) ดินผสมปุ๋ยเคมีและถ่านชีวภาพสัดส่วน 5% (CFBC1) ดินผสมปุ๋ยเคมีและถ่านชีวภาพสัดส่วน 10% (CFBC2) ดินผสมปุ๋ยเคมีและถ่านชีวภาพสัดส่วน 15% (CFBC3) และดินผสมปุ๋ยเคมีและถ่านชีวภาพสัดส่วน 20% (CFBC4) ดำเนินการปลูกงาดำทั้งสิ้น 3 ฤดูกาลปลูก ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่างาดำที่ปลูกในฤดูกาลปลูกที่ 1 มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่สูงกว่าฤดูกาลปลูกที่ 2 และ 3 อย่างเห็นได้ชัด โดยผลผลิตของงาดำในฤดูกาลปลูกที่ 2 และ 3 ของแต่ละชุดการทดลองส่วนใหญ่ให้ผลผลิตงาดำที่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยชุดการทดลองที่มีการเจริญเติบโตและผลผลิตของงาดำสูงที่สุดในฤดูกาลปลูกที่ 1 ได้แก่ CFBC2, CFBC1 และ CFBC3 ดังนั้น หากต้องการปลูกงาดำด้วยดินทรายให้ได้ผลผลิตที่ดีควรเติมทั้งปุ๋ยเคมีและถ่านชีวภาพในสัดส่วนระหว่าง 5-10% โดยหากใช้ถ่านชีวภาพในสัดส่วนที่มากเกินไปจะส่งผลให้ผลผลิตงาดำลดลง
Other Abstract: Properties of biochar prepared from Acacia wood and coconut shell by slow pyrolysis under nine different conditions (pyrolysis temperature was varied from 300-500 oC, pyrolysis time was varied from 1-3 hours) have been investigated in order to identify the suitable initial biomass of biochar applied for sandy soil in rain shadow applicate and increase sesame yield using respond surface method (RSM). Properties of Acacia wood biochar indicate it is more suitable than coconut shell biochar to be applied as sandy soil amendment due to its higher surface area, higher CEC, and slightly lower pH. The optimum condition for preparing Acacia wood biochar using the laboratory electrical furnace is at 434.8 OC and 1 hour of slow pyrolysis time. The prepared Acacia wood biochar was mixed with Huaysai soil for planting sesame. A complete Randomized Design (CRD) was used with 5 replicates and 10 treatments consisting of; Huaysai soil (control), soil with chemical fertilizer (CF), soil with 5% biochar (BC1), soil with 10% biochar (BC2), soil with 15% biochar (BC3), soil with 20% biochar (BC4), soil with CF and 5% biochar (CFBC1), soil with CF and 10% biochar (CFBC2) soil with CF and 15% biochar (CFBC3), soil with CF and 20% biochar (CFBC4) was applied. Sesame was planted for 3 crops. The results showed that the growth and yield of sesame in crop 1 was obviously higher than crop 2 and crop 3. In addition, the yield of sesame in crop 2 and crop 3 was not significantly different at 95% confident interval. Furthermore, CFBC2, CFBC1, and CFBC3 showed the highest growth and yield of sesame in crop 1. It can be concluded that both 5-10% by weight of biochar and chemical fertilizer should be applied to sandy soil in order to increase sesame yield. The overuse of biochar ratio can decrease sesame yield.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56386
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5387862720.pdf7.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.