Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56452
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorลลิตา วัฒนะจรรยา
dc.contributor.authorภรณี กนกโรจน์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2017-11-27T10:18:59Z-
dc.date.available2017-11-27T10:18:59Z-
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56452-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นของระดับวิตามินดี (25(OH)D) ในเลือดหลังการให้วิตามินดีสามในขนาดต่างๆ ระหว่างผู้ป่วยที่ใช้ยากันชักกลุ่มที่มีผลเร่งปฏิกิริยาไซโตโครมพี 450 (enzyme inducing antiepileptic drugs, EIAEDs) และผู้ป่วยที่ใช้ยากันกลุ่มที่ไม่มีผลเร่งปฏิกิริยาไซโตโครมพี 450 (non-EIAEDs) เพื่อประมาณขนาดของวิตามินดีสามที่เหมาะสม ในการรักษาภาวะพร่องวิตามินดีหรือภาวะขาดวิตามินดีในผู้ป่วยที่ใช้ยากันชักกลุ่มเหล่านี้ วิธีการวิจัย การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่ม และมีการปกปิดผู้เข้าร่วมโครงการในผู้ป่วยคลินิกโรคลมชัก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องวิตามินดี หรือภาวะขาดวิตามินดีมาทำการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามประเภทยากันชักที่ได้รับเป็นกลุ่ม EIAEDs และกลุ่ม non-EIAEDs โดยในแต่ละกลุ่มจะถูกสุ่มแบ่งเป็นกลุ่มย่อยอีก 3 กลุ่ม เพื่อให้วิตามินดีสามในขนาด 1000 ยูนิต 3000 ยูนิต และ 6000 ยูนิตต่อวัน เป็นเวลา 16 สัปดาห์ ตรวจวัดระดับ 25(OH)D ตั้งต้นและเมื่อสิ้นสุดการศึกษา และทำการเปรียบเทียบระดับ 25(OH)D ในแต่ละกลุ่มย่อย ผลการศึกษา ผู้ป่วยจำนวน 210 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 58 อายุเฉลี่ย 38.6±10.9 ปี ระดับดัชนีมวลกายเฉลี่ย 23.0±3.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีภาวะพร่องวิตามินดีหรือภาวะขาดวิตามินดีจำนวน 202 คน (ร้อยละ 96.2) โดยระดับ 25(OH)D เฉลี่ยเท่ากับ 17.7±6.3 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ระดับ 25(OH)D เฉลี่ยเฉพาะกลุ่ม EIAEDs (126 คน) เท่ากับ 16.5±6.2 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งน้อยกว่ากลุ่ม non-EIAEDs (84 คน)(19.4±6.1 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบว่าในกลุ่ม non-EIAEDs มีระดับ 25(OH)D เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่ม EIAEDs อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อได้รับวิตามินดีสามในขนาด 3000 ยูนิตและ 6000 ยูนิตต่อวัน โดยมีค่าเฉลี่ยของระดับวิตามินดีที่เพิ่มขึ้นคือ 14.2±5.9 และ 23.3±9.6 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ เปรียบเทียบกับกลุ่ม EIAEDs ที่เพิ่มขึ้น 8.8± 4.6 และ 14.3±7 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ทั้งนี้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของระดับ 25(OH)D ได้แก่ ระดับ 25(OH)D ตั้งต้น อายุ ชนิดของยากันชัก และขนาดวิตามินดีที่ได้รับ การให้วิตามินดีสามในขนาด 3000 ยูนิตต่อวันสามารถเพิ่มระดับ 25(OH)D ให้มากกว่า 30 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ในประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยกลุ่ม non-EIAEDs และร้อยละ 20 ของผู้ป่วยกลุ่ม EIAEDs ในขณะที่วิตามินดีสามขนาด 6000 ยูนิตต่อวันสามารถเพิ่มระดับ 25(OH)D ให้มากกว่า 30 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร ในผู้ป่วยกลุ่ม non-EIAEDs และ EIAEDs ได้ร้อยละ 95 และร้อยละ 65 ตามลำดับ สรุปผลการศึกษา ภาวะพร่องวิตามินดีหรือภาวะขาดวิตามินดีพบมากในผู้ป่วยคลินิกโรคลมชักโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยโดยไม่ขึ้นกับชนิดยากันชักที่ได้รับ การแก้ไขภาวะพร่องวิตามินดีหรือภาวะขาดวิตามินดีของผู้ป่วยเหล่านี้ควรให้ วิตามินดีสามในขนาดอย่างน้อย 6000 ยูนิตต่อวันในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม non-EIAEDs และให้ขนาดที่สูงขึ้นสำหรับผู้ที่ได้รับยากันชักกลุ่ม EIAEDs ทั้งนี้เพื่อป้องกันภาวะหรือโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะพร่องวิตามินดีในอนาคต
dc.description.abstractalternativeObjective: To characterize the effect of three different doses of vitamin D3 supplementation on serum 25-hydroxyvitamin D (25(OH)D) changes in epilepsy patients receiving enzyme-inducing antiepileptic drugs (EIAEDs) versus patients receiving non enzyme-inducing antiepileptic drugs (non-EIAEDs), and to determine the prevalence of and risk factors for hypovitaminosis D among Thai patients with epilepsy Method: A single-blinded prospective, randomized study undertaken at epilepsy clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospital. The patients with hypovitaminosis D were included and divided into two groups according to the type of AEDs use. Patients receiving each AEDs type were randomly assigned to receive vitamin D3 1000, 3000 or 6000 IU once daily. The mean increment in serum 25(OH)D levels were measured at 16 weeks. Results: A total of 210 epilepsy patients were included, 58% were females, mean age was 38.6±10.9 years, and mean BMI was 23.0±3.5 kg/m2. The overall mean baseline 25(OH)D level was 17.7±6.3 ng/mL (EIAEDs:16.5±6.2 versus non-EIAEDs:19.4±6.1 ng/mL) with 96.2% of the patients had 25(OH)D levels of less than 30 ng/mL. One hundred and twenty-seven patients were enrolled in the treatment phase of the study. The mean increment in serum 25(OH)D at 16 weeks in patients receiving vitamin D3 1000, 3000, and 6000 IU once daily in EIAEDs-treated patients were 0.9±2.6, 8.8±4.7 and 14.3±7.0 ng/mL, compared to 1.8± 4.6, 14.2±5.9 and 23.8±9.6 ng/mL in non-EIAEDs-treated group. Ninety-five percent of non- EIAEDs group and 65% of EIAEDs group who were supplemented with 6000 IU of vitaminD3 daily could achieve a 25(OH)D level of greater than 30 ng/mL. Only half of patients in 3000 IU (non-EIAEDs group), one-sixth of patients in 3000 IU (EIAEDs group) and none of the patients in 1000 IU (EIAEDs and non-EIAEDs group) could meet this goal. Significant factors affecting the change in serum 25(OH)D levels were baseline 25(OH)D level, age, type of AEDs use and dose supplemented. Conclusion: Hypovitaminosis D is highly prevalent in Thai patients with epilepsy regardless of the type of AEDs use. Patients who are on AEDs should be considered for a vitamin D supplementation with at least 6000 IU daily. A higher dose of the supplementation may be necessary for the patients on EIAEDs for correcting low vitamin D level to prevent reduction in BMD and other hypovitaminosis D-related conditions.
dc.language.isoth
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.titleการศึกษาเชิงทดลองเพื่อดูการเพิ่มขึ้นของระดับวิตามินดีในเลือดหลังให้วิตามินดีสามในขนาด 1000 ยูนิต 3000 ยูนิต และ 6000 ยูนิตต่อวัน ในผู้ป่วยโรคลมชักที่ได้รับยากันชัก และมีภาวะพร่องวิตามินดี หรือภาวะขาดวิตามินดี
dc.title.alternativeEFFECT OF THREE DIFFERENT DOSES OF ORAL CHOLECALCIFEROL (1000 IU, 3000 IU AND 6000 IU DAILY) ON SERUM 25-HYDROXYVITAMIN D CHANGES AMONG EPILEPSY PATIENTS WITH HYPOVITAMINOSIS D: A RANDOMIZED PROSPECTIVE STUDY
dc.typeThesis
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisorLalita_md@yahoo.com,lalita_md@yahoo.com
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774062130.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.