Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56469
Title: แนวทางการจัดกิจกรรมจิตตศิลป์เพื่อสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะของผู้เรียนอายุ 16-18 ปี
Other Titles: GUIDELINES FOR CONTEMPLATIVE ART ACTIVITIES TO CREATE AESTHETIC EXPERIENCES OF STUDENTS AGE 16-18 YEARS OLD
Authors: อติญา วงษ์วาท
Advisors: ขนบพร แสงวณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Khanobbhorn.W@Chula.ac.th,nobbhorn13@hotmail.com,Khanobbhorn.W@chula.ac.th
Subjects: สุนทรียศาสตร์
วัยรุ่น
จิตตปัญญาศึกษา
Aesthetics
Adolescence
Contemplative education
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมจิตตศิลป์เพื่อสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะ ในด้านจุดประสงค์ของกิจกรรม กรอบเนื้อหาในการจัดกิจกรรม รายละเอียดของกิจกรรม กระบวนกรในการจัดกิจกรรม การประเมินผลกิจกรรมและแหล่งการเรียนรู้ด้วยตนเอง ของผู้เรียนอายุ 16-18 ปี เก็บข้อมูลโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 5 ปี จำนวน 12 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษาจำนวน 4 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมจิตตศิลป์ จำนวน 4 คนและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนศิลปะในโรงเรียนทางเลือก จำนวน 4 คน เมื่อได้แนวทางในการจัดกิจกรรมแล้ว นำกิจกรรมไปทดสอบกับผู้เรียนอายุ 16-18 ปี จำนวน 14 คน ทั้งหมด 4 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และสมุดบันทึกภาพสะท้อนความคิด นำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางวิเคราะห์ความถี่ ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญพบว่า การจัดกิจกรรมจิตตศิลป์เพื่อสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะของผู้เรียนอายุ 16-18 ปี มีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ภายในและประสบการณ์ภายนอก นำไปสู่การรับรู้ความงามทางศิลปะ และสามารถสะท้อนความคิดเกี่ยวกับตนเองและผลงานศิลปะ โดยการนำหลักภาวนา 4 และหลักการสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะผ่านการสร้างสรรค์และวิเคราะห์ผลงานศิลปะมาใช้ในการสร้างกรอบเนื้อหาในการจัดกิจกรรม เป็นกิจกรรมต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 7 ครั้ง และไม่เกิน 10 ครั้ง เริ่มจากกิจกรรมทำความรู้จักและสร้างบรรยากาศแห่งการไว้ใจกันภายในกลุ่มก่อน ตามด้วยกิจกรรมทบทวนตัวเอง กิจกรรมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม และกิจกรรมทบทวนกระบวนการเรียนรู้ ตามลำดับ ใช้เวลาในการทำกิจกรรมไม่ต่ำกว่า 100 นาที และไม่เกิน 150 นาที มีจำนวนผู้เรียนไม่เกิน 15 คน ลักษณะของกระบวนกร ควรมีความเข้าใจเรื่องปรัชญาพื้นฐานของการจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา และพัฒนาการของผู้เรียน มีความชำนาญในการจัดประสบการณ์ทางสุนทรียะ การจัดกระบวนการวิเคราะห์และวิจารณ์ผลงานศิลปะ และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรม ตามลำดับ ประเมินผลกิจกรรมโดยใช้สมุดบันทึกภาพสะท้อนความคิด เพื่อประเมินตนเองในฐานะกระบวนกรและการสะท้อนความคิดของผู้เรียนด้านการเรียนรู้ของตนเอง หลังจากการทำกิจกรรม ผู้เรียนสามารถนำกิจกรรมไปใช้ในการเรียนรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะ เมื่อได้แนวทางดังกล่าว นำไปจัดทำชุดกิจกรรมจิตตศิลป์ ซึ่งประกอบด้วย คำชี้แจง บทบาทกระบวนกร บทบาทผู้เรียน บรรยากาศและสถานที่ การประเมินผลด้วยสมุดบันทึกภาพสะท้อนความคิด แผนการจัดกิจกรรมจิตตศิลป์ จำนวน 7 ครั้ง และคู่มือวิเคราะห์สมุดบันทึกภาพสะท้อนความคิด ผลการนำชุดกิจกรรมไปทดสอบกับผู้เรียน 14 คน จำนวน 4 ครั้ง พบว่า ผู้เรียนสามารถบรรยาย ทบทวน และสะท้อนความคิดในสิ่งที่ได้ทำ สามารถระบุความรู้สึกและการรับรู้ต่อกิจกรรม สามารถวิเคราะห์กิจกรรมและประเมินกิจกรรมในด้านจุดอ่อนและจุดแข็ง สามารถสรุปความคิดรวบยอดในการทำกิจกรรม ทั้งยังสามารถวางแผนปฏิบัติงานในกิจกรรมต่อไปได้ เมื่อวิเคราะห์พัฒนาการทางสุนทรียภาพของ Parsons (1987) แล้วพบว่า ผู้เรียนทุกคนมีระดับประสบการณ์ทางสุนทรียะสูงขึ้น โดยผู้เรียนจำนวน 9 คน มีระดับประสบการณ์ทางสุนทรียะ อยู่ในขั้นความเป็นตัวของตนเอง ซึ่งเป็นระดับความสามารถสูงสุด และผู้เรียนจำนวน 5 คน มีระดับประสบการณ์ทางสุนทรียะ อยู่ในขั้นแบบอย่างและรูปแบบ
Other Abstract: This research aims to study guidelines for contemplative art activities to create aesthetic experiences in the topics of purposes, framework, details, facilitators, evaluation, and self-learning site of students aged 16-18 years. The data collection was done by purposive sampling of 12 experts who have continuous experience in the area for at least 5 years, including 4 experts in contemplative activities organization, 4 experts in contemplative art activities organization, and 4 experts in art teaching management in alternative schools. After deciding the scope of the guidelines, the activities will be tested with 14 students aged 16-18 years for 4 times. The data was collected by interview and self-reflective sketchbooks. The data is presented in tabular form with the frequency, percentage, and content analysis. From the interview with the experts, it is found that the guidelines for contemplative art activities to create aesthetic experiences of students aged 16-18 years aimed to help the students to associate internal experience with external experience that leads to the aesthetic perception and the reflection about their own self and works of art. Bhavana 4 (4 principles of development) and principles of aesthetic experience through the creation and analysis of art were used to create the framework. The activities were continuous and conducted at least 7 times and no more than 10 times, starting from introduction activity to create an atmosphere of trust within the group, followed by self-reflection activity, group relation activity, and learning revision activity, respectively. The time for each activity is at least 100 minutes and no more than 150 minutes, with a total number of students of no more than 15 people. Facilitators should have an understanding of the basic approach of contemplative studies and development of the students, the expertise in the aesthetic experience creation, management, analysis, and criticism of art, and the suitable environmental management, respectively. The evaluation was done using sketchbooks for self-evaluation as the facilitators and self-reflection in their learning. After finishing the activities, the students can apply these activities in other learning sites, which are art museums. The guidelines was completed with the contemplative art activities contents including description, roles of facilitator, roles of students, atmosphere and location, evaluation through self-reflexive sketchbooks, contemplative art activities plan for 7 times, and the self-reflexive sketchbook analysis manual. The results of organizing pilot activities with 14 students for 4 times revealed that, the students were able to describe, review, and reflect on what they have done; able to identify feelings and awareness to the activities; able to analyze and evaluate the activities in both positive and negative way; able to summarize the activities analysis; and able to plan the next activities organization. When measuring the aesthetic experience of the students by developing the aesthetics of Parsons (1987). it is found that all students have a higher level of aesthetic experience. A total of 9 students achieved aesthetic experience in the individualized level, which is the highest level, while a total of 5 students achieved the aesthetic experience in the modelized level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56469
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1127
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1127
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783427027.pdf15.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.