Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56470
Title: เขาใหญ่ : การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและกลุ่มทุน
Other Titles: Khaoyai : Land Use Change and The Capitalists
Authors: มฑณ ยนต์ดัน
Advisors: นวลน้อย ตรีรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Nualnoi.T@Chula.ac.th,Nualnoi.T@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่อง เขาใหญ่ : การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและกลุ่มทุน นั้นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ได้ทำการศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่บนถนนธนะรัชต์ (ถนนทางหลวงหมายเลข 2090) ถนนเขาใหญ่-วังน้ำเขียว (ถนนทางหลวงชนบทหมายเลข 3052) และถนนผ่านศึก-กุดคล้า (ทางหลวงชนบทหมายเลข 1016) ซึ่งได้จำกัดพื้นที่ที่ศึกษา 4 ตำบล คือ ตำบลหมูสี ตำบลปากช่อง ตำบลพญาเย็นและตำบลหนองน้ำแดง ทั้ง 4 ตำบลนั้นอยู่ในเขตการปกครองอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยพื้นที่ดังกล่าวที่มีการเปลี่ยนแปลงจากป่าดงดิบเป็นสถานที่พักตากอากาศและทำเลที่ดีอีกแห่งหนึ่งสำหรับบ้านหลังที่สองของบุคคลจากภายนอก โดยเฉพาะกลุ่มทุนจากกรุงเทพฯ ดังนั้นจึงทำให้ผู้วิจัยได้ขยายการศึกษาออกไปยังกลุ่มทุนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเป็นการศึกษาในช่วงเวลาพ.ศ. 2500-2559 โดยใช้วิธีการการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบการวิเคราะห์ในกรอบของแนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในลักษณะเชิงประวัติศาสตร์และแนวคิดเกี่ยวกับชนบทและเมือง ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขาใหญ่ได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแบบยังชีพสู่การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ โดยมีสาเหตุการเปลี่ยนแปลงมาจากการเข้าถึงพื้นที่และนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ในขณะที่ช่วงที่สองคือ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์สู่การใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงท่องเที่ยวและการมีบ้านหลังที่สองเพื่อการพักผ่อน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นเกิดจากการขยายถนนธนะรัชต์ไปทางจังหวัดปราจีนบุรี การขายที่ดินของชาวบ้านให้แก่นายทุนและนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนการท่องเที่ยว โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจากกลุ่มทุนที่เป็นกลุ่มนายทุนขนาดใหญ่จากภายนอกที่มุ่งการทำธุรกิจสมัยใหม่ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านเปลี่ยนแปลงจากเจ้าของปัจจัยการผลิตเป็นลูกจ้างและเกิดความหลากหลายทางอาชีพ
Other Abstract: This research explores changes of land-use and the influences of capitalists around Khaoyai national park with a focus on Phaya Yen district, Nong Nam Daeng district, Mu Si district and Pak Chong district in Nakornratchasima Province between 1957 and 2016. The first objectives of this thesis are to find the cause of land-use changes in Khaoyai, and to explain roles of the capitalists on such areas. The research employs qualitative approach. Data has been collected through documentary and in-depth interviews. The results have shown that there were two distinct stages in changing the area. The first stage was the transition of self-sufficient agriculture to commercial industrial agriculture. This happened due to 1) transportation and accessibility and 2) government economic development policies. The second stage was the transition from land being used for commercial industrial agriculture to tourism development with an increase in the production of resorts. Factors promoting these changes were 1) extending Thanarat road (Route 2090) to Prachinburi which is closer to Bangkok than Friendship road (Route 2) 2) supporting government policies on tourism. The changes in land use were caused by dominant capitalists who were outsider. This change resulted in a staggering amount of job losses and saw locals and former owners of production now forced to work as employees to the new dominant capitalist establishments.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56470
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.116
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.116
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5785290729.pdf7.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.