Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5651
Title: แบบจำลองของมอเตอร์ลูบเปอร์เพื่อการควบคุมแรงดึงในแท่นรีดของการรีดร้อนต่อเนื่อง
Other Titles: A motor looper model for tension control in the continuous hot rolling mill
Authors: ธีรพงษ์ หาญวิโรจน์กุล
Advisors: ประสงค์ ศรีเจริญชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prasonk.S@chula.ac.th, fmtpsc@eng.chula.ac.th
Subjects: มอเตอร์ลูบเปอร์
การรีดร้อน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาถึงการสร้างแบบจำลองของกระบวนการรีดร้อนต่อเนื่องในสภาวะไดนามิกส์ ทั้งแบบที่มีการควบคุมแรงดึงระหว่างแท่นรีดโดยมอเตอร์ลูบเปอร์ และแบบที่ไม่มีการควบคุมแรงดึงระหว่างแท่นรีดของการรีด 7 แท่นรีด โดยใช้ทฤษฎีการรีดต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์หาวิธีการปรับปรุงระบบการรีดให้ได้ผลการรีดที่ดีขึ้น โดยพิจารณาจากการลดขนาดของการเปลี่ยนแปลงความหนาขาออกของแผ่นเหล็กในแท่นรีดสุดท้ายเป็นหลัก จากผลการวิเคราะห์โดยแบบจำลองนี้พบว่า การควบคุมแรงดึงระหว่างแท่นรีดโดยใช้มอเตอร์ลูบเปอร์สามารถช่วยลดขนาดการเปลี่ยนแปลงความหนาขาออกของแท่นรีดสุดท้ายซึ่งเกิดจากความไม่สม่ำเสมอของความหนาขาเข้าแท่นรีดแรกได้ และทำให้ทราบว่าในระบบของการควบคุมแรงดึงระหว่างแท่นรีด ควรควบคุมความเร็วของลูกรีดในแท่นรีดสุดท้ายให้มีค่าคงที่เพื่อลดขนาดการเปลี่ยนแปลงความหนาขาออกของแท่นรีดสุดท้ายอันเนื่องมาจากความไม่คงที่ของความเร็วลูกรีด นอกจากนี้จากข้อมูลการรีดจริงและผลการวิเคราะห์ยังพบว่า เมื่อแผ่นเหล็กมีความหนาขาข้าอยู่ระหว่าง 32-39 มม. ความหนาของแผ่นเหล็กที่แตกต่างกันไม่เกิน 2 มม. จะส่งผลให้แรงที่ใช้ในการรีดมีการเปลี่ยนแปลงลดหลั่นกันเป็นลำดับตั้งแต่แท่นรีดแรกลงมาจนถึงแท่นรีดที่ 4 ส่วนในแท่นรีดที่ 5-7 จะไม่มีผลกระทบ เมื่อระยะห่างระหว่างแท่นรีดและความเค้นแรงดึงระหว่างแท่นรีดของแต่ละแท่นรีด มีค่าเท่าเดิม
Other Abstract: Dynamic simulation of 7 stands continuous hot rolling with interstand tension control by motor looper and no interstand tension control were investigated. This simulation have been analyzed from continuous rolling theory. Dynamic characteristics of hot rolling was considered for rolling process improvement. Main of this improvement is reducing of final thickness variation. For dynamic simulation, result from analysis showed that interstand tesion control by motor looper could reduce final thickness variation when inlet thickness variation occurred. Because of roll speed variation, changing of thickness would be occurred. Consequently, for interstand tension control, roll speed of final stand should be constant to reduce final thickness variation. In case of 32-39 mm inlet thickness, actual data and analysis result showed that difference of inlet thickness that not over 2 mm made rolling force of 1st-4th stand change reduce respectively but did not change that of 5th-7th stand when roll gap and interstand tension were constant.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5651
ISBN: 9743466169
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teerapong.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.