Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56742
Title: การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ : การประยุกต์ใช้แนวคิดการประเมินความต้องการจำเป็นและการประเมินพหุพื้นที่
Other Titles: Development of an instructional quality assurance model in nursing science : an application of needs assessment and multi-site evaluation approaches
Authors: หฤทัย อาจปรุ
Advisors: โชติกา ภาษีผล
สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: aimornj@hotmail.com
wsuwimon@chula.ac.th
Subjects: ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
การพยาบาล -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) -- การควบคุมคุณภาพ
ประกันคุณภาพการศึกษา
การประเมินความต้องการจำเป็น
Nursing -- Study and teaching (Higher) -- Quality control
Quality assurance
Needs assessment
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะแรกเป็นการศึกษาสารสนเทศในการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการเรียนการสอนสาขาพยาบาล ศาสตร์ แหล่งข้อมูลมี 2 แหล่ง ได้แก่ (1) แหล่งข้อมูลเอกสารประกอบด้วยเล่มรายงานการประเมินภายนอกสถาบันการศึกษา พยาบาล 37 เล่ม (2) แหล่งข้อมูลบุคคล ประกอบด้วยผู้บริหาร 19 คน อาจารย์พยาบาลจำนวน 374 คน และนักศึกษาพยาบาล 654 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 7 ชุด ได้แก่ (1) แบบบันทึกข้อมูลรูปแบบการประกันคุณภาพการเรียนการสอน (2) แบบบันทึก ข้อมูลและคู่มือลงรหัส (3) แบบประเมินคุณภาพรายงานผลการประเมินภายนอก (4) แบบสอบถามรูปแบบการประกันคุณภาพ การเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ (5) แบบสอบถามความต้องการจำเป็น (6) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และ (7) แนว คำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม ระยะที่สองเป็นการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ ระยะที่สามเป็นการตรวจสอบ และประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการประกันคุณภาพการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติ บรรยาย การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณระดับลดหลั่น การ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยโปรแกรม SPSS การประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม LISREL การวิเคราะห์อภิมานด้วยโมเดลเชิงเส้นระดับลดหลั่นด้วยโปรแกรม HLM และการ วิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ ได้แก่ รูปแบบการ ประกันคุณภาพที่สถาบันการศึกษาพัฒนาขึ้น รูปแบบ CU-QA84 จำนวนหน้ารายงานการประเมินไม่รวมภาคผนวก และคุณภาพ ของเล่มรายงาน (2) ความต้องการจำเป็นในการประกันคุณภาพการเรียนการสอนในภาพรวมมี 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบ 111 รูปแบบ 011 และรูปแบบ 000 (3) รูปแบบการประกันคุณภาพการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์เป็นรูปแบบเชิงระบบ ประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต การดำเนินการมีหลัก 3 ประการ ได้แก่ หลักการ หลักคิด และหลักปฏิบัติ มาตรฐานการเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ประกอบด้วย 6 มาตรฐาน 18 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ มาตรฐานด้านหลักสูตร 3 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านปัจจัยสนับสนุนการเรียนการสอน 4 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านอาจารย์พยาบาล 2 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านการจัดการ เรียนการสอน 4 ตัวบ่งชี้ มาตรฐานด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3 ตัวบ่งชี้ และมาตรฐานด้านนักศึกษา/ บัณฑิตพยาบาล 2 ตัวบ่งชี้ และแนวทางในการประกันคุณภาพการเรียนการสอน 21 องค์ประกอบ ผลการประเมินรูปแบบการประกันคุณภาพการ เรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์โดยผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และเป็น นวัตกรรมอยู่ในระดับดี-ดีมาก
Other Abstract: The purpose of this study was to develop an instructional quality assurance model in nursing science. The study was divided into 3 phases. The first phase was to study the information for instructional quality assurance model development. The data were obtained from (1) 37 assessment reports and (2) 19 administrators, 374 nursing instructors and 654 nursing students. The 7 research instruments comprised (1) the data recording form about model of instructional quality assurance, (2) the data recording form and a coding handbook, (3) the instructional quality assessment form about results of external assessment, (4) the questionnaire about types of instructional quality assurance in nursing science, (5) the needs assessment questionnaire, (6) the semi-structured interview and (7) the questions for group discussion. The second phase dealt with the development of an instructional quality assurance model in nursing science and the third phase dealt with the audit and the assessment of the developed model. The subjects were 9 specialists and the instrument was the evaluation form. The data were analyzed through descriptive statistics, relationship analysis, one-way analysis of variance, hierarchical stepwise regression analysis and exploratory factor analysis by using SPSS program. The PNImodified index was used to analyze needs and the LISREL program was used to analyze confirmatory factor analysis. The hierarchical linear model meta-analysis by using HLM program and content analysis were also used. Research findings were as follows: (1) the factors which affected the instructional quality of nursing science were the instructional quality assurance model that developed by the institutions, CU-QA84, the number of pages excluding the appendix of the assessment report and the quality of the report, (2) there were 3 models of instructional quality assurance needs such as 111, 011 and 000, and (3) the instructional quality assurance model in nursing science was systematic consisting of input, process and output. The operation was based on 3 principles: objectives, thinking principles and operational principles. There were 6 standards and 18 indicators for instructional quality assurance in nursing science. Curriculum standard comprised 3 indicators, instructional support standard 4 indicators, nursing instructor standard 2 indicators, instruction standard 4 indicators, learning evaluation and assessment standard 3 indicators and nursing student / graduate standard 2 indicators. There were 21 elements for guidelines for instructional quality assurance. The experts assessed this instructional quality assurance in terms of appropriateness, usefulness, accuracy, feasibility and innovation. This instructional quality assurance model was ranked from good to very good in all of the above categories.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56742
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.686
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.686
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
haruthai_aj_front.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
haruthai_aj_ch1.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
haruthai_aj_ch2.pdf8.61 MBAdobe PDFView/Open
haruthai_aj_ch3.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
haruthai_aj_ch4.pdf16.67 MBAdobe PDFView/Open
haruthai_aj_ch5.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
haruthai_aj_back.pdf6.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.