Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56803
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุทธาสิณี ปุญญโชติ | - |
dc.contributor.author | ฉัตรศรี เดชะปัญญา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-01-23T06:23:14Z | - |
dc.date.available | 2018-01-23T06:23:14Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56803 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลของความเครียดต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับความเข้มข้น สารสื่อประสาทชนิดแคลซิโทนินยีนรีเลทเปปไทด์ (CGRP) และซับสแตนท์ พี (SP) ซึ่งเป็นสารเปปไทด์จากระบบประสาทรีเฟล็กซ์รับความรู้สึก ว่ามีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงการขับหลั่งของเยื่อบุลำไส้ใหญ่ซึ่งเป็นระบบปกป้องของเยื่อบุทางเดินอาหารเมื่อได้รับความเครียดที่ระยะเวลาต่าง ๆ กัน โดยการเหนี่ยวนำให้หนูขาวเพศผู้พันธุ์วิสต้ามากักขังไว้ในที่จับสัตว์ทดลองเพื่อให้เกิดความเครียดทางจิตใจวันละ 1 ชั่วโมงเป็นระยะเวลาสั้น (3 วัน) กึ่งเรื้อรัง (7 วัน) และเรื้อรัง (14 วัน) กลุ่มละ 5 ตัว โดยมีกลุ่มควบคุม 3 กลุ่มที่ไม่ถูกกักขัง เมื่อครบเวลาทำการสลบสัตว์ทดลอง ทำการเจาะเก็บพลาสมาจากหัวใจ และแยกเก็บเนื้อเยื่อลำไส้ใหญ่ส่วนปลายเพื่อนำมาวัดระดับของ CGRP และ SP ด้วยวิธีอิไลซา นำลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่เหลือมาวัดการขับหลั่งด้วยการวัดค่าการเปลี่ยนแปลงทางกระแสไฟฟ้า (isc) ที่ตอบสนองต่อสารกระตุ้นจากแคปไซซิน (CAP) หรือจากสารสื่อประสาท CGRP และ SP ด้วยอุปกรณ์ Ussing chamber-voltage clamp พบว่าเยื่อบุลำไส้ใหญ่จากหนูเครียดทุกกลุ่ม มีค่า Isc ในภาวะพักน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 40% (P<0.05) บ่งชี้ให้เห็นถึงการลดลงของการขับหลั่งสารประจุลบ เช่น คลอไรด์ และพบว่าการเพิ่มหรือการลดลงของ ISC ตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วย CAP ที่ด้านฐานของเยื่อบุจากหนูที่ได้รับความเครียดทุกกลุ่มลดลง 70-90% ตามลำดับ แต่การเพิ่ม Isc ต่อ CGRP หรือ SP ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตาม CGRP เพิ่มค่า Isc ของลำไส้จากหนูกลุ่ม 14 d อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<0.05) ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าลำไส้ใหญ่ของหนูที่ได้รับความเครียดมีระดับ CGRP ลดลงมากกว่า 90% โดยสอดคล้องกับการตอบสนองต่อ CAP ที่ลดลง (r=0.7946) โดยไม่พบการลดลงของ SP ในลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตามกลับพบ่าระดับของ CGRP และ SP เพิ่มขึ้นในพลาสมาของหนูที่ได้รับความเครียด 3 7 และ 14 วันตามลำดับ โดยการเพิ่มของพลาสมา SP สัมพันธ์กับการสูญเสียการทำหน้าที่ของริเฟลกซ์ขับหลั่ง ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าความเครียดแม้ว่าจะเป็นเพียงระยะสั้นจะทำให้เกิดการสูญเสียการทำหน้าที่ของระบบประสาทรับความรู้สึกเนื่องจากผลในการลดลงของ CGRP ในลำไส้ใหญ่ และการสูญเสียการทำงานดังกล่าวสามารถพยากรณ์ได้จากการตรวจพบของการเพิ่มขึ้นของระดับ SP ในพลาสมา | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study was aimed to examine stress duration affected on calcitonin gene-related peptide (CGRP) and substance P (SP) level and function on secretary-motor neural reflex, the major mucosal host defense. Three groups of male Wistar rat (5 rats per group) were exposed to psychological stress by immobilizing in rodent restrainer for 1 hour for 3, 7 or 14 consecutive days (3d, 7d or 14d group, respectively). Some animals (control) were kept unstressed. At the end of experiment, all rats were anesthetized and plasma collection was performed via cardiac puncture. Distal colon was isolated for measurement of CGRP and SP level using enzyme-linked immunoabsorbent assay (ELISA). Distal colonic mucosa was additionally stripped for measurement of ion transport using Ussing chamber-voltage clamp technique. Mucosal secretory-motor reflex ability was tested by stimulating with capsaicin (CAP, 3 μM) to produce short-circuit current changes (Isc). Intact mucosal integrity was evaluated by its response to CGRP (10 μM) or SP (1 μM) treatment. The results show that all stress colonic mucosa had lower Isc than those of control rats suggesting the decrease of mucosal secretory function affected by stress. CAP-stimulated Isc in all stress rats were lower than control (70-90%). CGRP or SP-induced Isc in stress rats was similar to control suggesting the unchanged mucosal integrity. However, increased CGRP-response was founded in chronic stress (14d). CGRP level but not SP level of colonic tissue were decreased (>90%) in correlation with CAP-induced Isc response (r=0.7946) in all stress rat. Plasma CGRP were increased in 3d or 7d-stress rat but not related to CAP-responses. In addition, increased plasma SP was significantly founded in 14d which their colon has lowest response to CAP. Therefore, stress altered function of secretory-motor defense mechanism by decreasing of colonic CGRP. Loss of mucosal secretory-motor reflex may be predicted by high plasma SP level. | en_US |
dc.description.budget | กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สัตว์ -- ผลกระทบจากความเครียด | en_US |
dc.subject | อวัยวะย่อยอาหาร -- ผลกระทบจากความเครียด | en_US |
dc.subject | Animals -- Effect of stress on | en_US |
dc.subject | Digestive organs -- Effect of stress on | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงระดับของสารสื่อประสาทชนิดปกป้องในทางเดินอาหารและในพลาสมาเพื่อใช้บ่งชี้การสูญเสียหน้าที่ของระบบป้องกันของทางเดินอาหารในสัตว์ที่มีความเครียด : รายงานวิจัย | en_US |
dc.title.alternative | Analysis of the intestinal and plasma neurotransmitter level that has the mucoprotective and repairing effects to indicate the abnormalities of intestinal defense mechanism in stress animals | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sutthasinee_po_016739.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.