Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56909
Title: การออกแบบการจัดสรรเส้นทางใหม่ในโครงข่าย WDM สำหรับทราฟฟิกชนิดมัลติคาสต์เมื่อโครงข่ายเกิดความเสียหายหนึ่งโนด
Other Titles: Multicast traffic reconfiguration in WDM network for single node failure design
Authors: คุณนันต์ ลือกิจนา
Advisors: ชัยเชษฐ์ สายวิจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaiyachet.S@Chula.ac.th
Subjects: การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น
การสื่อสารด้วยแสง
เส้นใยนำแสง
วิทยาการเส้นใยนำแสง
การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง
Wavelength division multiplexing
Optical communications
Optical fibers
Fiber optics
Optical fiber communication
Multicasting (Computer networks)
การแพร่สัญญาณเฉพาะกลุ่ม (เครือข่ายคอมพิวเตอร์)
Routing (Computer network management)
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ นำเสนอปัญหาผลการศึกษาสองปัญหาที่สำคัญของโครงข่าย WDM (Wavelength Division Multiplexing) ที่รองรับทราฟฟิกชนิดมัลติคาสต์ สำหรับปัญหาแรกที่วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอคือ ปัญหาการจัดเส้นทางและการกำหนดความยาวคลื่นให้กับทราฟฟิกชนิดมัลติคาสต์ของโครงข่าย WDM และปัญหาที่สองที่วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอคือ ปัญหาการป้องกันโครงข่าย WDM จากความเสียหายหนึ่งโนด ซึ่งได้นำวิธีการจัดสรรเส้นทางแบบ Reconfiguration of entire network ที่ได้นำเสนอไว้ก่อนหน้านี้แล้ว [22] และนำเสนอแนวทางการจัดสรรเส้นทางใหม่ด้วยวิธี Reconfiguration of traffic traversing through failure node และ Reconfiguration of traffic adjacent to failure node โดยการจัดสรรเส้นทางใหม่ที่นำเสนอนี้จะหลีกเลี่ยงโนดที่ขัดข้องในเส้นทางที่ไม่ซ้ำโนด (Node Disjoint) ซึ่งทั้งสองปัญหานี้มีวัตถุประสงค์ร่วมในการศึกษาคือ เพื่อทำการออกแบบโครงข่าย WDM ให้สามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งในสภาวะปกติและสภาวะที่โครงข่ายมีความเสียหายหนึ่งโนด โดยพิจารณาในประเด็นของจำนวนเส้นใยนำแสงที่โครงข่ายต้องการ และวิทยานิพนธ์นี้ยังได้พิจารณาถึงความสำคัญของอุปกรณ์แปลงผันความยาวคลื่น จำนวนความยาวคลื่นสูงสุดที่สามารถมัลติเพล็กซ์ได้ในเส้นใยนำแสงหนึ่งเส้น รวมไปถึงลักษณะการวางเส้นใยนำแสงในโครงข่ายว่ามีผลอย่างไรต่อจำนวนเส้นใยนำแสงโดยรวมของระบบ ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์จะใช้เทคนิค Integer linear programming (ILP) ในการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้ผลเฉลยที่เหมาะสมที่สุด หรือจำนวนเส้นใยนำแสงโดยรวมที่ต้องจัดสรรให้กับโครงข่ายมีค่าต่ำที่สุด
Other Abstract: The thesis studies two problems in optical WDM networks design that supports multicast traffic. Firstly, the multicast routing and wavelength assignment (MC-RWA) problem that are studied. Whereas, the second problem studies the problem of provisioning protection systems to enable WDM network to survive a single node failure. The study was based on previously proposed algorithm; Reconfiguration of entire network. In this thesis two reconfiguration methods are proposed; namely; Reconfiguration of traffic traversing through failure node and Reconfiguration of traffic adjacent to failure node. Both proposed methods consider node disjoint protection. As started, work in this thesis is concerned with the design WDM network to support multicast traffic in normal or single node failure of conditions. Not only this thesis considers the number of fiber requirement but also the influence of the maximum wavelengths multiplexed per fiber and wavelength conversion on fiber requirement. Integer linear programming (ILP) technique are used to obtain the fiber requirement of each recofigurate method.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56909
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1154
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1154
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kunanan_lu_front.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
kunanan_lu_ch1.pdf910.29 kBAdobe PDFView/Open
kunanan_lu_ch2.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
kunanan_lu_ch3.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
kunanan_lu_ch4.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
kunanan_lu_ch5.pdf512.8 kBAdobe PDFView/Open
kunanan_lu_back.pdf7.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.